ความหมายของคำว่า ผู้นำ (Leader)
คำว่า “ผู้นำ” เมื่อเปิดในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตราชตยสถาน พ.ศ.2525 แล้วจะไม่พบคำนี้ และจะไม่มีความหมายในตัวเอง แต่ต้องใช้วิธีประสมคำ “ ผู้ + นำ ” แล้วจึงจะได้ความหมายที่ต้องการ
คำว่า “ผู้” แยกเป็นแต่ละชนิดของคำตามหลักไวยากรณ์มีความหมายดังนี้
- คำนาม เป็นคำใช้แทนคำว่า คนหรือสิ่งของที่ถือเสมือนคน เช่น ผู้นั้น , ผู้นี้ ; เป็นคำใช้ประกอบคำกริยา หรือประกอบคำวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน , ผู้ดี
- คำวิเศษณ์ เป็นคำบอกเพศ หมายความว่า ตัวผู้ เช่น ม้าผู้ , วัวผู้
คำว่า “นำ” แยกเป็นแต่ละชนิดของคำตามหลักไวยากรณ์มีความหมายดังนี้
- คำกริยา หมายถึงไปข้างหน้า เช่น นำขบวน , นำเสด็จ , ออกหน้า เช่น วิ่งนำ , เริ่มต้นโดยมีผู้อื่น หรือ สิ่งอื่นตาม หรือทำตาม เช่น นำสวด นำวิ่ง , พา เช่น นำเที่ยว นำไป นำมา
- คำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะในตัว ในคำว่า ซักนำ ถามนำ
โดยสรุปคำว่า “ผู้นำ” จะหมายถึง คนที่ชี้กำหนดทิศทางไปข้างหน้า โดยให้ผู้อื่นทำตามในสิ่งที่ตนจะชี้แนะในทิศทางที่จะไป โดยคงต้องอาศัยการพูดชักนำให้ผู้ที่ตามนั้นมีความศรัทราในแนวคิดนั้นๆ
ความหมายของคำว่า ภาวะผู้นำ “LEADERSHIP” (ลักษณะการเป็นผู้นำที่ดี) มี 7 ข้อดังนี้
L = LOVE : รักหน้าที่ มีความยุติธรรม เน้นย้ำความเจริญ
E = EDUCATION AND EXPERIENCE: การศึกษาดี มีพร้อมด้วยประสบการณ์
A = ADAPTABILTY: ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม รู้พร้อมในสถานการณ์รอบด้าน
D = DECISIVENESS: สามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว แม่นยำและถูกต้อง
E = ENTHUSTASTIC: มองความสำเร็จผู้อื่นด้วยความชื่นชม ประพรมด้วยการ
สร้างศรัทรา
R = RESPONSIBILITY: มีความรับผิดชอบ ประกอบด้วยความดี มีวินัย
S = SACRIFICE AND SINCERE: จริงจัง จริงใจ ยอมเสียสละเพื่อประโยชน์
ส่วนรวม
H = HARMONIOUS: ไพเราะ นุ่มนวล ชวนให้คล้อยตาม งามด้วยมารยาท
I = INTELLECTUAL CAPASITY: ปฏิภาณไหวพริบ ฉลาดหลักแหลม รู้เท่าทันคน
P = PERSUASIVENESS: สามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตาม
โดยตั้งข้อสมมติฐานถึงสาเหตุของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและตัวแปรตามที่แตกต่างกันตามแนวทางของการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. แนวคิดเชิงอำนาจ-อิทธิพล (Power-influence approach) มุ่งเน้นให้เห็นประสิทธิผลของผู้นำเกี่ยวกับอำนาจ รูปแบบของอำนาจ และลักษณะของการใช้อำนาจ นอกจากจะพิจารณา
ลักษณะอำนาจที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาแล้วยังมีผลต่อผู้บังคับบัญชา และบุคคลอื่นที่อยู่นอกวงการด้วย ดังนี้
1.1 แหล่งที่มาของอำนาจบุคคล ลักษณะวิธีการใช้อำนาจของบุคคลและการพิจารณาถึงวิธีการที่บุคคลใช้อำนาจที่มีอยู่และนำมาใช้แก้ไขในสถานการณ์ต่างๆ
1.2 วิธีการเพิ่มอำนาจและการสูญเสียอำนาจตามลักษณะของการใช้อิทธิพล ซึ่งมีผลต่อคนส่วนน้อยและส่วนรวม และรูปแบบการปรับตัวขององค์การให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
1.3 การเชื่อมโยงแบบใหม่ระหว่างอำนาจและพฤติกรรม ซึ่งการวิจัยได้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับยุทธวิธีการใช้อิทธิพลของผู้จัดการ
อำนาจของบุคคลคนหนึ่งสามารถพิจารณาได้จากขอบเขตในการใช้อำนาจเพื่อให้บุคคลอื่นยอมรับ ดังนั้นแนวคิดเชิงอำนาจ-อิทธิพล สามารถพิจารณาได้ดังรูป
kdfdddf
2. แนวคิดเชิงพฤติกรรม (Behavior approach) จะมุ่งเน้นในเรื่องเกี่ยวกับผู้นำ และผู้จัดการ ที่ใช้พฤติกรรมในการทำงานในสองประเด็นคือ
2.1 การวิจัยลักษณะงาน การจัดการ ในเรื่องการอธิบายลักษณะการทำงาน เช่น การสังเกต การสั่งการ การปฏิบัติการ และประเด็นต่างๆ ที่ได้จากการสัมภาษณ์
2.2 การวิจัยในยุคต่อมาได้มุ่งไปที่การตรวจสอบเนื้อหาของกิจกรรมการจัดการ บทบาทของการจัดการ หน้าที่และการปฏิบัติการภาพลักษณ์ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างในเรื่องของงาน การจัดการที่ผู้วิจัยนำมาใช้ก็คือ พฤติกรรมที่ปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับต่อตำแหน่งงานต่างๆ ในด้านการจัดการและการรับรู้ด้านความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของงาน สามารถพิจารณาได้ดังรูป
3. แนวคิดเชิงคุณลักษณะ (Trait approach) เป็นการมุ่งเน้นไปยังคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นำ เพื่อจะค้นหาคุณสมบัติพิเศษที่ซ่อนเร้น ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อหาคำตอบว่าคุณสมบัติมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้นำและประสิทธิผลในการทำงานอย่างไร ด้วยเหตุนี้จึงมุ่งเน้นไปยังเรื่องของการจูงใจทางด้านการจัดการทักษะเฉพาะอย่าง ในขณะที่นักวิจัยในระยะแรกได้พยายามที่จะเกี่ยวโยงเรื่องคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับบทบาทที่ต้องการโดยเฉพาะสำหรับรูปแบบการจัดการในตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน ซึ่งแนวคิดเชิงคุณลักษณะ สามารถพิจารณาได้ดังรูป
4. แนวคิดเชิงสถานการณ์ (Situation approach) เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์ ดังนี้
(1) อำนาจการสั่งการของผู้นำ (2) ลักษณะความสุขุมรอบคอบ
(3) การจูงใจ (4) ผู้บังคับบัญชา
(5) กลุ่มบุคคลภายนอกองค์กร (6) สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน
(7) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา (8) ลักษณะของการปฏิบัติงานในหน่วยงาน
(9) บทบาทที่จำเป็นที่ผู้จัดการแสดงต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
(10) ผู้มีฐานะในตำแหน่งงานเท่าเทียมกันหรือเพื่อนร่วมงาน
การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management
-
*การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 Responses to "ผู้นำ (Leader)":
แสดงความคิดเห็น