ข้อมูลบริษัท
บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนการค้าระหว่าง ฮอนด้ามอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท พี ไทยแลนด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจบริหารการขาย และการบริการเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ภายใต้ยี่ห้อการค้าชื่อว่า ฮอนด้า รวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ฮอนด้า ที่ผลิตในประเทศไทย
โดยบริษัทฯเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2529 ด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท อาคารโรงงานและสำนักงานตั้งอยู่ที่ 149 ถ.รถรางเก่า ต.สำโรงใต้ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ มีพนักงานรวมทั้งหมด 205 คน
ประวัติความเป็นมาของบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด
ปี1948 ฮอนด้า เริ่มต้นความมุมานะบากบั่น ในการอุทิศตนเองเพื่อผลิตยวดยานพาหนะสำหรับทุก ๆ กลุ่มชนด้วยปรัชญาของฮอนด้าที่ว่า "เรามั่นอยู่ในสากลทัศนะที่ว่า เรามุ่งหน้า สร้าง แต่บรรดาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังมีราคายุติธรรม เพื่อความพึงพอใจของบรรดาลูกค้าอย่างกว้างขวางทั่วโลก"
ในปี 1964 นับเป็นครั้งแรกที่ฮอนด้า ก้าวเข้าสู่ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย เพื่อสรรสร้างรถจักรยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ให้กับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ชาวไทย รวมถึงสร้างความ พึงพอใจสูงสุด
ผลิตภัณฑ์
รถจักรยานยนต์ที่บริษัทฯจัดจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทรถครอบครัว (FAMILY)
2. ประเภทรถกึ่งครอบครัวกึ่งสปอร์ต (FAMILY SPORTS)
3. ประเภทรถสปอร์ต (SPORTS)
โครงสร้างของบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด
ประกอบด้วยฝ่าย / แผนก ต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
ฝ่ายขาย (SALES Div.)
ฝ่ายการตลาด (MARKETING Div.)
ฝ่ายบริการหลังการขาย (After Sales Service Div.)
ฝ่ายขับขี่ปลอดภัย (S/R = Safety Riding Div.)
บริหาร (Administration Div.)
ฝ่ายระบบสารสนเทศการตลาด (MISD=Marketing Information System Div.)
ฝ่ายสื่อสารองค์กร (External Affairs Div.)
นโยบายด้านการบริหารจัดการ
การก้าวไปด้วยความทะเยอทะยาน และความกระฉับกระเฉงเสมอ (Proceed
always with and youthfulness)
เคารพหลักทฤษฎีที่มีเหตุผล พัฒนาความคิดใหม่ๆ และใช้เวลาอย่างมีประสิทธิ
ภาพสูงสุด (Respect sound Theory, develop fresh ideas and mark the most effective use time)
สนุกกับงานของตนเอง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ (Enjoy
your work, and encourage open communications)
พยายามปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้สอดคล้องกันอยู่เสมอ (Strive constantly for
a harmonious flow of work)
ใส่ใจต่อคุณค่าของการวิจัย และทุ่มเทในการทำงานให้สำเร็จ (Be ever mindful
of the value of research and endeavor)
นโยบายในด้านการพัฒนาบุคลากร
เนื่องจากบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด ปัจจุบันมีพนักงานรวมทั้งหมดเพียง 205 คน ผู้บริหารของบริษัทฯจึงได้จัด Personal Management Section เข้าไว้เป็นส่วนงานหนึ่งของ General Affairs Dept. และได้กำหนดนโยบายโดยรวมเกี่ยวกับบุคลากรไว้ดังนี้
1. พิจารณาการโอนย้ายบุคลากรภายในเป็นอันดับแรก เพื่อรักษาพนักงานที่มี
ประสิทธิภาพให้อยู่กับบริษัทไปนานๆ
2. กรณีที่ฝ่ายงานหนึ่งฝ่ายงานใดของบริษัทฯต้องการกำลังคนเพิ่มแต่ไม่สามารถโอนย้ายได้ ให้ทำการพิจารณาจากบุคคลภายนอก โดยการว่าจ้างบริษัทจัดหางานภายนอกเป็นผู้คัดสรรเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
3. จัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเพิ่มทักษะและความชำนาญ
4. ให้ทุกหน่วยงานดำเนินกิจกรรมโดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและกระทำอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนการด้านบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
วิสัยทัศน์ของส่วนงานบุคคล (Vision)
ส่วนงานบุคคล (Personal Management Section) เป็นส่วนงานหนึ่งที่มีหน้าที่พัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กร
พันธกิจหลัก (Mission)
พัฒนาบุคลากรและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ
กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Strategy)
1. สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานโดยผ่านการประเมินผลงาน
ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทฯมีนโยบายในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานโดยการปรับเปลี่ยนระบบการประเมินผลการทำงาน โดยพิจารณาศักยภาพในการทำงานแทนการใช้การประเมินผลแบบเดิม ซึ่งผู้บังคับบัญชาของแต่ละหน่วยงานจะประเมินผลการปฏิบัติงานตามความรู้สึกไม่มีมาตรฐานในการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีขั้นตอนการจัดทำแบบประเมินผลการทำงาน (New Evaluation System) ดังนี้
ดำเนินการจัดตั้ง Working Team และทำการสำรวจพร้อมวิเคราะห์ปัญหาจากการประเมินผลแบบเดิมให้เสร็จภายในเดือน พฤษภาคม 2548
รวบรวมและสรุปปัญหาให้เสร็จภายในเดือน มิถุนายน 2548
ร่างระบบการปรับปรุงการประเมินผลให้เสร็จภายในเดือน กันยายน 2548
นำเสนอแบบการประเมินแบบใหม่ต่อคณะผู้บริหารภายในเดือน ตุลาคม 2548
นำแบบประเมินที่ได้ผ่านคณะผู้บริหารนำไปทดลองใช้ภายในเดือน ธันวาคม 2548
ทำการแก้ไขปรับปรุงและประกาศใช้เป็นมาตรฐานภายในเดือน มีนาคม 2549
2. ผลักดันให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่วนงานบุคคล (Personal Management Section)ได้วางโครงการไว้ 2 โครงการดังนี้
2.1 โครงการเพิ่มทักษะความรู้ให้กับพนักงาน (HR Improvement) เพื่อพัฒนาพนักงานของบริษัทให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญกับงานและเพื่อรองรับพระราชบัญญัติกฎหมายใหม่ที่ออกมาว่าพนักงานทั้งบริษัทต้องได้รับการอบรม ไม่ต่ำกว่า 50% ของพนักงานทั้งหมด จึงได้จัดอบรมดังต่อไปนี้
Honda Manager Leadership Program (HMLP)
Total Quality Management Advance (TQM Advance)
Honda Fundamental Course-1 (HFC-1)
Honda Fundamental Course-2 (HFC-2)
Total Quality Management Basic (TQM Basic)
Genba Training
Safety Driving (Defensive Driving)
Safety Riding (Defensive Riding)
2.2 โครงการจัดทำฐานข้อมูลพนักงาน (Employee Profile)
3. ส่งเสริมการแสดงศักยภาพของพนักงาน
เมื่อพนักงานผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้เบื้องต้นแล้ว แผนกบุคคลจะมีหน้าที่สนับสนุน/ผลักดันให้พนักงานนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น
4. ควบคุมการใช้จ่ายภายในบริษัทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
การควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบริษัทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้แก่
การประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในบริษัท โดยการให้พนักงานปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในเวลาพักกลางวันและนอกเวลาทำการ ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป
ลดการสิ้นเปลืองในการใช้กระดาษ โดยวิธีการใช้กระดาษ Reuse สำหรับเอกสารที่ใช้สำหรับติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร การลดค่าโทรศัพท์ของบริษัท โดยประชาสัมพันธ์ให้พนักงานใช้ระบบ Y-Tel (กด 1234)
ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าล่วงเวลา (Over Time) โดยการเปลี่ยนเป็นวันหยุดแทน ซึ่งจะต้องนำเสนอขออนุมัติต่อหัวหน้างาน
วิเคราะห์ข้อดี - ข้อด้อย และข้อเสนอแนะ
ข้อดีของการวางแผนทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ของบริษัท เอ.พี.ฮอนด้าจำกัด
การวางแผนกลยุทธ์สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ขององค์กร
สร้างความภาคภูมิ และความเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพขององค์กร
การวัดผลงานทำให้เกิดการกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
ให้ผลตอบแทนที่จูงใจกับบุคลากรเพื่อให้อยู่กับบริษัทฯนานๆ
มีการวางแผนจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ และความชำนาญของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ
ข้อด้อยของการวางแผนทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ของบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด
ส่วนงานบุคคล (Personal Management Section) ไม่มีการจัดทำการวิเคราะห์ ถึง จุดแข็ง, จุดอ่อน, โอกาส และอุปสรรค ของบริษัทฯเพื่อวางแผนกลยุทธ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
ระดับผู้จัดการของแต่ละแผนกในบริษัทฯมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาบุคลากรไม่มากเท่าที่ควร
แผนการจัดฝึกอบรมบุคลากรไม่มีความต่อเนื่องของหลักสูตร และไม่มีการวัดหรือติดตามผลการปฏิบัติงานภายหลังการจัดฝึกอบรมแล้ว
ข้อเสนอแนะการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด
ควรวิเคราะห์จุดแข็ง, จุดอ่อน, โอกาส และอุปสรรค เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนการพัฒนาบุคลากรควรจะเกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร และผู้จัดการแผนกต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และลดความไม่เห็นด้วยกับแผนการที่นำมาใช้
ควรจัดให้มีการประเมินและติดตามผลภายหลังจากการจัดฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง
บทสรุปกรณีศึกษา
กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เกิดจากวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธะกิจ (Vision and Mission) ขององค์กร และจากการวิเคราะห์ กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทจะพบว่ากลยุทธ์จะมุ่งเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน , สร้างแรงจูงใจในการทำงานโดยผ่านการประเมินผลแบบมีมาตรฐาน โดยคำนึงถึงศักยภาพของพนักงานเป็นหลัก และควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบริษัทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากกลยุทธ์ดังกล่าวเป็นกลยุทธ์ที่ไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) รวมทั้งไม่มีการวัดผลถึงประสิทธิภาพที่ชัดเจน จึงอาจจะมีผลกระทบทำให้กลยุทธ์ดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายตามที่องค์กรวางไว้
แต่ถึงอย่างไรก็ตามพนักงานหลาย ๆ คนในองค์กรยังรู้สึกว่าพึงพอใจและยินดีที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้เป้าหมายขององค์กรบรรลุความสำเร็จ เนื่องจากมีผลตอบแทนที่ดีและคุ้มค่ากับการทุ่มเทพนักงาน
การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management
-
*การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 Responses to "กรณีศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บริษัท AP HONDA":
แสดงความคิดเห็น