Custom Search

การบ้าน

Posted on วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552 by modal

1. จากบทความท่านคิดว่าบริษัท “ เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพลส” มีวิธีการจูงใจอย่างไร จึงทำให้เป็นบริษัท
ที่ติดอันดับ “หนึ่งในร้อย”

ตอบ จากบทความพบว่าทางบริษัทเฟดเอ็กซ์เน้นที่บุคคลเป็นสำคัญซึ่งทางเอ็กซ์เฟดถือว่า “ทีมงาน... คน” เป็นสิ่งสำคัญที่ผลักดันและขับเคลื่อนให้องค์กรเดินหน้าและประสบความสำเร็จได้ ซึ่งในความคิดตรงนี้ของทางเฟดเอ็กซ์เองตรงกับทฤษฎีของลำดับขั้นตอนความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Need Theory) ตามรายละเอียดในบทความพบว่าทางเฟดเอ็กซ์สามารถตอบโจทย์ทั้ง 5 ข้อของมาสโลว์ได้ ซึ่งทฤษฎีของมาสโลว์แบ่งความต้องการออกเป็น 5 ลำดับดังนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการ
ดำรงชีวิต ซึ่งทางเฟดเอ็กซ์ได้มีการตอบสนองความต้องการในขั้นนี้โดยการมีผลตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานตลาด รวมทั้งเป็นการรักษาคุณภาพของบุคคลากรในองค์กร นอกจากนี้ยังมีกำไรจากการประกอบการผลรางวัลจากการทำงานได้ตามเป้าหมาย
2. ความต้องการความมั่นคง หรือ ความปลอดภัย (Security of Safety Needs) เป็นความปลอดภัยใน
ชีวิต ทรัพย์สิน หน้าที่การงาน โดยมีการใช้โปรแกรมสร้างคนเชิงลึก โดยมีทั้งระดับโลคัล และระดับเวิลด์ไวด์เพื่อให้พนักงานมีความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นหลักในการสร้างองค์ความรู้ทำให้พนักงานมีความรู้สึกมีความรู้สึกปลอดภัยในหน้าที่การงานของตนเอง
3. ความต้องการด้านสังคม และการยอมรับ (Social and Love Needs) ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของ
สังคม การที่พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ได้รับความรัก ความอบอุ่นจากผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน โดยทางเฟดเอ็กซ์มีการเอาใจใส่ถึงความต้องการ ปัญหาต่างๆของพนักงาน โดยบริษัทมีการออกแบบสำรวจถึงความต้องการของพนักงาน ความพึงพอใจต่อผู้บริหาร ตลอดข้อข้องใจต่างๆ ซึ่งทางผู้บริหารได้นำไปพิจารณาและปรับปรุงต่อไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานมีความรู้สึกว่าองค์กรให้ความยอมรับในการเป็นส่วนหนึ่งของตนเอง
4. ความต้องการการยกย่อง (Esteem Needs) เป็นความต้องการได้รับความนับถือ มีชื่อเสียง ทำให
เกิดความภาคภูมิใจจึงพยายามทำสิ่งต่างๆให้ประสบความสำเร็จโดยทางเฟดเอ็กซ์เน้นการสร้างโปรโมทคนใน อย่างเต็มที่ในการก้าวขึ้นเป็นผู้บริการของทางองค์กรต่อไป ซึ่งมี 90%ของผู้บริหารมาจากการโปมโมทภายในขึ้นมา ซึ่งทำให้พนักงานมีความตั้งใจในการทำงานละพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้น ได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไปทั้งภายนอกและภายในองค์กรเอง
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (Need for Self Actualization) เป็นความต้องการที่ใช้
ความสามารถสูงสุด โดยตัวอย่างทางเฟดเอ็กซ์คือ เดวิด คาร์เด็น ผู้ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการประจำ
ประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน เป็นพนักงานที่ทำงานมาร่วมกว่า 20 ปี ซึ่งตรงจุดนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความสำเร็จในชีวิตในทางด้านการงานของพนักงานที่อยู่มานานและองค์กรตอบสนองความต้องการในข้อนี้

1.จากบทความท่านคิดว่าบริษัท “ เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพลส” มีวิธีการจูงใจอย่างไร จึงทำให้เป็นบริษัทที่ติดอันดับ “หนึ่งในร้อย”

จากบทความที่อ่านพบว่าปัจจัยที่ทำให้บริษัทเฟดเอ็กซ์ติดอันดับ “หนึ่งในร้อย” นั้นน่าจะมาจากมูลเหตุในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคคลซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้บริษัทติดอันดับ หนึ่งในร้อย จากข้อสมมุตินี้สามารถอธิบายได้จากทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบอร์ก (Herzberg’s Two-Factor Theory)
เฮอร์เบอร์กกล่าวถึงมูลเหตุในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน โดยเชื่อว่าพนักงานมีความต้องการอยู่ 2 ประการ ที่เป็นอิสระต่อกันและมีผลกระทบต่อพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ดังนี้
ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor) หมายถึง ปัจจัยที่ทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในการทำงาน เกิดความชอบงานและรักงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวพนักงานโดยตรง และเป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยปัจจัย 5 ปัจจัยคือ
1. ความสำเร็จในการทำงานของบุคคล (Achievement)
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นจากบทความนี้คือ ความสำเร็จในการทำงานของ “เดวิด คาร์เด็น” ที่ทำงานกับบริษัทเฟดเอ็กซ์มานานกว่า 20 ปี จนก้าวขึ้นมาอยู่ในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทเฟดเอ็กซ์เองเน้นในเรื่องการสร้างคนจากภายใน คือสนับสนุนพนักงานภายในก่อนที่จะรับบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นแรงจูงใจและตัวอย่างให้แก่พนักงานทั่วไปในการปฏิบัติงาน
2. การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition)
จากบทความจะเห็นว่าทางเฟดเอ็กซ์มีการเอาใจใส่ถึงความต้องการ ปัญหาต่างๆของพนักงาน โดยบริษัทมีการออกแบบสำรวจถึงความต้องการของพนักงาน ความพึงพอใจต่อผู้บริหาร ตลอดข้อข้องใจต่างๆ ซึ่งทางผู้บริหารได้นำไปพิจารณาและปรับปรุงต่อไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานมีความรู้สึกว่าองค์กรให้ความยอมรับในการเป็นส่วนหนึ่งของตนเอง เป็นสิ่งที่บอกว่าทางองค์กรให้การยอมรับในตัวพนักงานเช่นกัน
3. ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (The Work itself)
สิ่งที่เฟดเอ็กซ์ขาย คือการบริการซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากดังนั้นจึงต้องมีการสร้างระบบ ที่ดีเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสนับสนุนต่างๆ ที่จะทำให้การจัดส่งเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด โดยลักษณะงานนี้อยู่ภายใต้ความกดดัน แต่ทางบริการก็มีวิธีลดความกดดันให้กับพนักงานโดย ทางบริษัทมีระบบทีมเวิร์ค-มีศูนย์จ่ายงานที่จะประสานไปยังจุดต่างๆเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้ทันเวลา-ที่ดีเข้ามาเสริมช่วยแก้ปัญหาในแต่ละได้ทันเวลา เป็นการลดความกดดันในการทำงานให้แก่พนักงานสร้างการทำงานที่มีความสุขแก่พนักงาน
4. ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ทางบริษัทมีโปรแกรมกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมทำให้ธุรกิจเติบโต โดยให้พนักงานมีการตั้งเป้าหมายในการทำงาน หรือทำมากกว่าที่ได้รับ ในจุดนี้ทางเฟดเอ็กซ์มีเรื่องของ Profit หรือ กำไรเป็นปัจจัยจูงใจให้พนักงานแสดงศักยภาพและความรับผิดชอบต่อเป้าหมายของตนเอง โดยจัดให้มีทีมโบนัส
แพลน ถ้าสามารถทำได้ตามเป้าหมายของเขา ก็จะได้รับโบนัสตามที่ระบุไว้ ซึ่งเป็นการทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานสร้างกำไร และรับผิดชอบต่อสิ่งที่เป้าหมายของตนเอง และองค์กร



5. ความก้าวหน้า ( Advancement & Growth)
ทางเฟดเอ็กซ์มีการโปรโมทคนขึ้นในระดับผู้บริหารโดยทางเฟดเอ็กซ์จะสนับสนุนบุคคลภายในก่อน และเป็นการเปิดโอกาสในความก้าวหน้าให้แก่พนักงาน ให้พนักงานได้รับความรู้ในด้านต่างๆที่ต้องการเพื่อใช้ในการปรับปรุงงานของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพและก้าวหน้า

ปัจจัยสนับสนุน (Hygiene factor) หมายถึง ปัจจัยที่สนับสนุนให้แรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มี หรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับพนักงานในองค์กรจะนำไปสู่ความไม่ชอบงาน และส่งผลกระทบต่อองค์กร ประกอบด้วยปัจจัย 5 ปัจจัย
1. การบังคับบัญชา (Supervision)
ทางเฟดเอ็กซ์ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แสดงข้อคับข้องใจต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้บริหาร
ทราบถึงข้อเท็จจริงต่างและนำไปปรับปรุงต่อไป
2. สภาพการทำงาน (Working Conditions)
มีการสร้างสภาพการทำงานที่เป็นกันเองระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ทำให้พนักงานมีความสุขในการ
ทำงานให้ได้ตามเป้าหมายและลดสภาวะเทิร์นโอเวอร์ของบริษัท
3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship)
ทางบริษัทเฟดเอ็กซ์ เน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อสนับสนุนและเกื้อหนุนกัน ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลและ ทีมงานที่ต้องทำงานร่วมกัน
4. นโยบายและการบริหาร (Company Policies)
จากบทความแสดงให้เห็นว่าทางบริษัทเฟดเอ็กซ์มีนโยบายและการบริหารที่ชัดเจนในเรื่องการให้
ความสำคัญกับทีมงาน และคนเป็นสำคัญ โดยมีการบริหารทั้งในระบบจากบน-ล่าง และ ล่าง-บน
5. ค่าจ้างและความมั่นคงในงาน (Pay and Job Security)
ค่าจ้างทางเฟดเอ็กซ์จะพิจารณาตามความสามารถ การทำงานเป็นทีม โดยจะให้อยู่ในมาตรฐานตลาด
เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพของบุคคลากร ในด้านความมั่นคงในงานก็มีการสนับสนุนในเรื่องการอบรมความรู้ต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนในเรื่องของความก้าวหน้าในงานซึ่งเป็นจุดที่แสดงถึงความมั่นคงในงานเช่นกัน














1.จากบทความท่านคิดว่าบริษัท “เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพลส” มีวิธีการจูงใจอย่างไร จึงทำให้เป็นบริษัทที่ติด
อันดับ “หนึ่งในร้อย”

ตอบ จากบทความ“เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพลส” บริษัทเฟดเอ็กซ์มีวิธีการจูงใจให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิ์และส่งผลให้เฟดเอ็กซ์ เป็นบริษัทที่ติดอันดับ หนึ่งในร้อย ซึ่งสามารถอธิบายได้จากทฤษฎีการจูงใจในความสำเร็จของแมคเคิลแลนด์ (McCleland’s Acquired Needs Theory)
แมคเคิลแลนด์กล่าวว่า บุคคลมีความต้องการที่แตกต่างกันและเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ไม่ใช่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยแบ่งความต้องการออกเป็น 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement)
เนื่องจากบุคคลต้องการทำสิ่งต่างๆให้เต็มที่ และดีที่สุดเพื่อความสำเร็จ โดยที่บุคคลนั้นต้องมี
ลักษณะชอบการแข่งขัน ชอบงานที่ท้าทาย ต้องการได้รับการตอบกลับเพื่อประเมินผลงานของตนเอง ซึ่งจากบทความพบว่าทางเฟดเอ็กซ์สร้างความท้าทายในการทำงาน และมีการแสดงผลการประเมินจากการทำงานโดย การให้พนักงานมีการสร้างเป้าหมายในการทำงานของตนเอง และมีการประเมินผลการทำงานนั้นออกมาในส่วนของโบนัสที่จะได้รับ ซึ่งแต่ละบุคคล แต่ละทีมที่ทำได้ตามเป้าหมายจะได้รับผลตอบแทนตามที่ตั้งไว้ เป็นการตอบสนองความต้องการความสำเร็จนั้นเอง
2. ความต้องการความผูกพัน (Need for Affiliation)
คนทุกคนต้องการการยอมรับเป็นพื้นฐาน ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือองค์กร ต้องการมี
ความสัมพันธ์และผูกพันที่ดีต่อบุคคลอื่น ซึ่งในบทความจะพบว่าทางเฟดเอ็กซ์มีการออกแบบสำรวจความต้องการของพนักงาน ความพึงพอใจต่อผู้บริหาร ตลอดจนข้อคับข้องใจต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาและปรับปรุงซึ่งจุดนี้เป็นการทำให้พนักงานมีความรู้สึกมีส่วนรวมและได้รับการยอมรับจากทางองค์กร นอกจากนี้ทางเฟดเอ็กซ์ยังมีการสร้างคนให้ทำงานเป็นทีมเวิร์คเพื่อสนับสนุนการทำงานและลดความกดดันที่เกิดจากการทำงาน ซึ่งในจุดนี้เป็นจุดที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทีมงาน ให้เกิดการยอมรับในงานและตัวของพนักงานเอง
3. ความต้องการอำนาจ (Need for Power)
บุคคลแต่ละบุคคลต้องการเป็นผู้นำในการตัดสินใจ มีความพอใจที่จะอยู่ในสภาพการณ์แข่งขัน
หรือสถานการณ์ซึ่งนำไปสู่สถานที่ดีและมีความภาคภูมิใจ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นด้วยผลงานที่มีประสิทธิผล ซึ่งในจุดนี้ทางเฟดเอ็กซ์ มีการสร้างการแข่งขันให้กับพนักงานโดยตั้งเป็นทีมโบนัส แพลน ซึ่งในกรณีที่ได้ผลงานตามเป้าหมายและได้รับโบนัสตามที่ตั้งไว้เป็นการแสดงศักยภาพและประสิทธิผลของทีม และตนเองเป้นอย่างดี รวมทั้งในการที่เฟดเอ็กซ์มีการโปรโมทคนภายในขึ้นระดับผู้บริหารก็เป็นการผลักดันให้พนักงานที่มีความสามารถได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมาเพื่อให้ได้รับการยอมและรับการโปรโมท ซึ่งเท่ากับเป็นการให้อำนาจในหน้าที่การงาน และใมนองค์กรแก่พนักงานนั้นเอง

0 Responses to "การบ้าน":

บทความที่ได้รับความนิยม