Custom Search

การวิเคราะห์กรณีศึกษา

Posted on วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 by modal

ขั้นตอนในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
วิเคราะห์ประวัติ พัฒนาการของบริษัท และการเจริญเติบโตของบริษัท
โดยดูเหตุการณ์สำคัญๆ ในอดีตของบริษัท เช่น ออกผลิตภัณฑ์ใหม่, ออกเทคโนโลยีใหม่, การตัดสินใจเลือกตลาดสินค้า, การเลือกใช้ความสามารถในการทำหน้าที่ของแต่ละแผนก, การเข้าสู่ธุรกิจใหม่, การเปลี่ยนจากธุรกิจหลักไปสู่ธุรกิจอื่นๆ
วิเคราะห์ SWOT
หาจุดแข็ง และ จุดอ่อน (ปัจจัยในองค์กร) โดยดูการดำเนินงานในอดีต แล้ววิเคราะห์ตามหน้าที่ทางการตลาด การผลิต การเงิน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์
หาโอกาส และ อุปสรรค (ปัจจัยนอกองค์กร) โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ
ประเมินผลจากการวิเคราะห์ SWOT
เพื่อให้แน่ใจว่า บริษัทอยู่ในสถานะใด
สามารถใช้กลยุทธ์ที่มีอยู่ทำกำไรให้บริษัท ได้หรือไม่ (เป้าหมาย)
สามารถเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง และ เปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาส ได้หรือไม่ (แผน)
วิเคราะห์กลยุทธ์ระดับองค์กร
ภารกิจ และ เป้าหมาย คืออะไร (บางครั้งใน Case จะระบุไว้ แต่บางครั้งก็ต้องหาเอง)
ศึกษาปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจ และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของธุรกิจ เช่น Ford กับ Mazda
ศึกษาว่าการที่กลยุทธ์ขององค์กรเปลี่ยนไปตามเวลา เกิดจากสาเหตุใด (สภาพแวดล้อม เช่น เทคโนโลยี, ภาวะเศรษฐกิจ, คู่แข่ง และตัวองค์กรเอง)
การสร้างกลุ่มธุรกิจเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่ เช่น CP ขยายธุรกิจจากเกษตรกรรม เป็น เทคโนโลยี
วิเคราะห์กลยุทธ์ระดับธุรกิจ และ ระดับปฏิบัติการ
ระดับธุรกิจ ระบุกลยุทธ์การแข่งขัน เพื่อให้เห็นความแตกต่างการเป็นผู้นำด้านต้นทุน หรือ มุ่งตลาดย่อย
ระดับปฏิบัติการ ต้องศึกษาละเอียดถึงกลยุทธ์การผลิต, การตลาด, การวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ทราบว่าบริษัทกำลังจะเดินไปทางไหน
วิเคราะห์โครงสร้าง และ ระบบการควบคุม
เพื่อทราบว่าบริษัทใช้โครงสร้างและระบบการควบคุมแบบใด และจะประยุกต์กลยุทธ์อย่างไรให้ได้ผล เช่น การปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับธุรกิจ แล้วนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน
ประเมินว่าโครงสร้างเหมาะกับบริษัทหรือไม่ (โดยต้องมีการควบคุมภายใน)
ศึกษาว่ามีความขัดแย้งภายในองค์กรหรือไม่ เกิดจากสาเหตุใด (ความเป็นทีมเวิรค์)
เสนอแนะ
บอกถึงการแก้ไขปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ (ใช้หลักทฤษฎีที่เรียน) ให้สอดคล้องกับการวิเคราะห์
แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ
การจัดการ หรือ การบริหาร (Management) คือ กระบวนการในการประสานงาน และ รวบรวมกิจกรรมในการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธผล โดยอาศัยคน
พฤติกรรม (Behavior) คือ การกระทำของบุคคล
องค์กร (Organization) คือ หน่วยทางสังคมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุผล โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งประกอบด้วย
1. ทรัพยากรมนุษย์ “บุคลากร (People)” เป็นระบบที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญ2. ที่สุด เพราะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมในอง3. ค์กร ถ้าคนมีคุณภาพ ง4. านก็จะมีคุณภาพ
5. การดำเนินง6. าน “โครง7. สร้าง8. ที่ชัดเจน (Deliberate Structure) บอกถึง9. ตำแหน่ง10. และหน้าที่ของ11. แต่ละบุคคล” มีการดำเนินง12. านอย่าง13. ต่อเนื่อง14. แบ่ง15. ง16. านกันทำตามขอบเขตที่กำหนด
17. ความร่วมมือ “จุดมุ่ง18. หมายหรือเป้าหมายที่ชัดเจน (Distinct Purpose)” มีการร่วมกันดำเนินง19. าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสง20. ค์เดียวกัน
การจัดการสมัยใหม่ (New Era Management) มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ
อินเทอร์เน็ต (Internet)
กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization)
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
การร่วมมือ (Collaboration Across Boundaries)

การจัดการเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ต้องมีความสามารถ 4 อย่าง
มีความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน
มีวิธีการใหม่ (มีนวัตกรรม)
มีคุณภาพ (Quality)
มีความรวดเร็ว (Speed)
หน้าที่ของการจัดการ (เน้น Productivity คือ Input น้อย แต่ได้ Output มาก โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องจักร มาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง)
การจัดการ (Management) คือ กระบวนการทำงานด้วยคน และ ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร
ผู้บริหาร (จัดการ) ที่ดี ต้องมีสิ่ง ต่อไปนี้
ประสิทธิผล (Effective) คือ สำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร
ประสิทธิภาพ (Efficient) คือ สำเร็จตามเป้าหมายด้วยการสูญเสียทรัพยากรน้อยที่สุด
*หน้าที่ทางการจัดการ ได้แก่
การวางแผน (Planning)
เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทำได้โดยดูว่าปัจจุบันองค์กรเราอยู่ที่ไหน (วิเคราะห์ SWOT), อนาคตองค์กรเราจะไปที่ไหน, ทำอย่างไรจึงจะไปถึงเป้าหมายได้ และ จะเลือกไปทางไหนที่มีผลเสียน้อยที่สุด ดีที่สุด ประหยัดที่สุด ปลอดภัยที่สุด
การจัดองค์กร (Organizing)
การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) และ การออกแบบโครงสร้างงาน (Job Desire)
การนำพาองค์กร (Leading)
ต้องสามารถกระตุ้นบุคลากรให้ทำงานสำเร็จ โดยใช้ทรัพยากรที่มี
การควบคุม (Controlling)
การติดตามและประเมินผล
ระดับของการจัดการ แบ่งเป็น
ผู้บริหารระดับสูง (ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ = Strategic Managers)
ทำหน้าที่ กำหนดนโยบาย และ จัดสรรทรัพยากร
ทักษะที่ต้องมี แนวความคิด และ วิสัยทัศน์
ผู้บริหารระดับกลาง (ผู้บริหารยุทธวิธี = Tactical Managers)
ทำหน้าที่ เชื่อมโยงประสาน แปลงกลยุทธ์ เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ และ กิจกรรม แล้วนำไปสู่ระดับล่าง เพื่อให้ปฏิบัติ
ทักษะที่ต้องมี มนุษยสัมพันธ์
ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Frontline Managers Operation Managers)
ทำหน้าที่ ดูแลให้พนักงานปฏิบัติตาม
ทักษะที่ต้องมี ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการ
นอกจากนี้ ผู้บริหารที่ 3 ระดับข้างต้นยังต้องมีทักษะ ดังต่อไปนี้ มีความยืดหยุ่นด้านวัฒนธรรมองค์กร, มีทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร, มีทักษะด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์, มีความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ลักษณะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล ควรมีลักษณะดังนี้
กำหนดเป้าหมายขององค์กรได้อย่างชัดเจน
แก้ไขปัญหาแบบมีวิสัยทัศน์
บริหารเวลา เช่น ดูว่าช่วงนี้ตลาดอะไรมาแรง ก็เร่งผลิตให้ทันความต้องการของลูกค้า
การสื่อสารด้วยวาจา พูดจาภาษาดอกไม้
มีทักษะด้านความสัมพันธ์
ทำงานเป็นกลุ่มได้ดี
สามารถบริหารความขัดแย้งได้ รู้เขารู้เรา ใจเขาใจเรา

บทที่ 2
สภาพแวดล้อมภายนอก
ศึกษาถึงผลกระทบระหว่างสภาพแวดล้อมว่ามีอิทธิพลต่อองค์กรอย่างไร
สภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วย
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน เป็น สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นทันที และ ใกล้ชิดกับองค์กร
ได้แก่ 5 Forces Model
1) อุปสรรคของ2) ผู้เข้ามาสู่ธุรกิจใหม่
= ความยากง่ายในการเข้ามาทำธุรกิจของคู่แข่งขันรายใหม่ วิเคราะห์จากนโยบายภาครัฐ ข้อกำหนดของเงินทุน เอกลักษณ์ของตรายี่ห้อ ข้อเสียเปรียบด้านต้นทุน และช่องทางการจำหน่าย เป็นต้น
3) ผู้จัดส่ง4) สินค้าหรือวัตถุดิบ
= อำนาจต่อรองของผู้จัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบสามารถลดกำไรขององค์กรได้ และทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน
5) อุปสรรคของ6) สินค้าทดแทน
= สินค้าทดแทน ทำให้รายได้ในอุตสาหกรรมอื่นลดลง ข้อได้เปรียบทางเทคโนโลยี และประสิทธิภาพทางด้านเศรษฐกิจ จะทำให้สินค้าทดแทนเข้ามาแทนที่
7) ลูกค้า
= อำนาจต่อรองของลูกค้าที่สั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ลูกค้ารายใหญ่ จะมีผลเมื่อลูกค้าหันไปซื้อกับผู้จัดส่งรายอื่น
8) คู่แข่ง9) ขัน
= กลยุทธ์ของคู่แข่ง
สภาพแวดล้อมทั่วไป คือ ปัจจัยพื้นฐานทั่วไปที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจทางกลยุทธ์ขององค์กร และ ทุกองค์กรต่างก็ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมนี้ ได้แก่
กฎหมาย และ กฎข้อบังคับ
เศรษฐกิจ
เทคโนโลยี
ประชากรศาสตร์
สังคม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
สังคม และสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ทำได้โดย
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (Environmental Scanning)
ค้นหาและแยกประเภทข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ข้อมูลที่ดีจะช่วยผู้บริหารในการกำหนดว่าจะทำอย่างไร จึงจะแข่งขันได้
การพัฒนาแผนการล่วงหน้า (Scenario Development)
การเตรียมการ เพื่อเผชิญหน้ากับเงื่อนไขในอนาคต แผนการล่วงหน้าที่ดี ช่วยให้เกิดความมั่นคง
การพยากรณ์ (Forecasting)
การทำนายว่าอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไร การพยากรณ์จะมีประโยชน์ ถ้าสามารถคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้อย่างแม่นยำ
การเปรียบเทียบเพื่อความเป็นเลิศ (Benchmarking)
การเปรียบเทียบด้านปฏิบัติงานและด้านเทคโนโลยีกับองค์กรอื่น โดยเลือกองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานและเทคโนโลยีดีที่สุดเป็นต้นแบบ และหาความแตกต่าง พร้อมสาเหตุที่ทำให้แตกต่าง
บทที่ 3
การตัดสินใจ
การตัดสินใจ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจ เพราะเป็นประโยชน์ในการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยมาประกอบการตัดสินใจ แต่ถ้าไม่มั่นใจในข้อมูลข่าวสารให้ใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณเป็นหลัก
การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการในการพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาใดๆ จนเกิดความมั่นใจในทางเลือกนั้น
การตัดสินใจ แบ่งเป็น
1. การตัดสินใจแบบมีโครง2. สร้าง3. (Programmed Decision) หมายถึง4. การตัดสินใจที่เกิดขึ้นเสมอ และมีลักษณะการตัดสินใจในง5. านประจำ ผู้ตัดสินใจเป็นระดับล่าง6. และใช้เวลาสั้นๆ ในการตัดสินใจ
เทคนิคที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ ได้แก่
1.1 ใช้วิธีการที่เคยปฏิบัติมา
1.2 ใช้กฎระเบียบของ1.3 อง1.4 ค์กร
1.5 ตัดสินใจตามโครง1.6 สร้าง1.7 ของ1.8 อง1.9 ค์กร
1.10 ใช้เทคนิคการวิจัยการดำเนินง1.11 าน
1.12 ใช้กระบวนการทาง1.13 คอมพิวเตอร์
2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Non - Programmed Decision) หมายถึง การตัดสินใจที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่สามารถนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาประกอบการตัดสินใจได้ทันที จำเป็นต้องปรับปรุงทางเลือกให้เหมาะสมกับเงื่อนไขและสถานการณ์ ผู้ตัดสินใจเป็นระดับบน และใช้เวลานานในการตัดสินใจ
เทคนิคที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ ได้แก่
2.1 ใช้ดุลพินิจและความคิดสร้างสรร
2.2 ใช้การคัดเลือกและฝึกอบรมผู้บริหาร
2.3 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความสลับซับซ้อนสูงเข้าไปประยุกต์ใช้ เพื่อการตัดสินใจ
การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่างๆ แบ่งเป็น
ความแน่นอน (Certainty)
ผู้บริหารรู้ทางเลือกทุกทางว่ามีเงื่อนไขอย่างไร และ มีผลอย่างไร
การตัดสินใจผู้บริหารจะต้องรู้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างที่สำคัญและจำเป็นต่อสถานการณ์นั้นๆ
ความไม่แน่นอน (Uncertainty)
ผู้บริหารไม่รู้ว่าทางเลือกทั้งหมดมีอะไรบ้าง และ ไม่รู้ว่าผลจะเป็นอย่างไร
การตัดสินใจจึงต้องตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสถานการณ์และวิเคราะห์ตามเหตุและผล ถ้าตั้งสมมติฐานผิด ย่อมตัดสินใจผิดพลาดเช่นกัน
ความคลุมเครือ (Ambiguity)
ผู้บริหารไม่รู้ว่าปัญหา และ เป้าหมายของการตัดสินใจคืออะไร
การกำหนดทางเลือกทำได้ยาก ทำให้การตัดสินใจมักจะประสบความล้มเหลว
ความเสี่ยง (Risk)
ผู้บริหารรู้ทางเลือก แต่ไม่รู้ผลของแต่ละทางเลือก
การตัดสินใจผู้บริหารจึงใช้ข้อมูลที่มีความน่าจะเป็นของแต่ละทางเลือกในการคาดการณ์ความสำเร็จหรือความล้มเหลว
ความขัดแย้ง (Conflict)
เกิดจากแรงกดดันของแหล่งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 ระดับ
· ความขัดแย้ง· ในตนเอง· เกิดจากการพบทาง· เลือกที่น่าสนใจมากมาย และ ไม่มีทาง· เลือกที่น่าสนใจเลย
· ความขัดแย้ง· ระหว่าง· บุคคลหรือกลุ่ม เกิดจากความคิดเห็นไม่ตรง· กันเป็นส่วนใหญ· ่
การระบุปัญหาและวินิจฉัยปัญหา
รับรู้ว่ามีปัญหา และ ต้องการแก้ไขปัญหา และ ต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอที่จะดำเนินการแก้ปัญหา
หาข้อสรุปจากหลายๆ ทางเลือก
ประเมินทางเลือก
ตัดสินใจเลือกทางเลือก
นำการตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติ
ประเมินผลการตัดสินใจ
การกำหนดผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ มีวิธีพิจารณา ดังนี้
การตัดสินใจโดยผู้บริหาร
การตัดสินใจโดยขอคำปรึกษา
การตัดสินใจโดยกลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ
ตัวแบบการตัดสินใจเชิงปริมาณ (Quantiative Decision Making Model)
· Break even point Analysis
· Decision Tree
· Quality Control
· Inventory Analysis
· Linear Programming
· Games Theory
· Queuing Theory
· PERT (Program Evaluation Review Technique)
· Markov Theory
· Simulation
การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)
Probability Theory
Expected Value
Preference Theory หรือ Utility Theory
ระบบสารสนเทศทางเทคโนโลยีกับการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
เช่น ข้อมูลในรูปงบประมาณโครงการ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม (Group Decision Support System : GDSS)
ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
เช่น ระบบบัตรเครดิต ที่ช่วยประเมินการขอใช้เครดิตของลูกค้าและทำหน้าที่อนุมัติแทนผู้บริหาร
ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการ (Management Information System : MIS)
เป็น ระบบที่ออกแบบไว้จัดเก็บระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารงานประจำ
เช่น ระบบการซื้อ จอง ยืนยันการเดินทางของสายการบิน, ฐานข้อมูลของ ATM, ระบบขายตั๋วหนัง
ระบบสารสนเทศสำหรับนักบริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)
เป็น ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อประเมิน ติดตาม ตรวจสอบ สภาพแวดล้อมในการตัดสินใจ โดยระบบจะช่วยกระตุ้น จัดหาข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4
การวางแผน
การวางแผน (Planning) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมายและสร้างกลยุทธ์ เพื่อสำเร็จตามเป้าหมาย รวมทั้งพัฒนาแผนงานต่างๆ ให้สมบูรณ์เพื่ออนาคต
กระบวนการวางแผน มี 6 ขั้นตอน
วิเคราะห์สถานการณ์
กำหนดเป้าหมายและวางแผน
ประเมินเป้าหมายและแผนงาน
เลือกเป้าหมายและแผนงาน
วิธีการนำแผนไปปฏิบัติ
การควบคุมและการติดตามผลงาน

0 Responses to "การวิเคราะห์กรณีศึกษา":

บทความที่ได้รับความนิยม