Custom Search

สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ และ ธุรกิจมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างไร

Posted on วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 by modal

สภาพแวดล้อมภายนอก (ใช้วิเคราะห์ โอกาส และ อุปสรรค ) สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน เป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับองค์การ
1.1 คู่แข่ง1.2 ขัน จะรุนแรง1.3 เมื่อ มีคู่แข่ง1.4 ขันจำนวนมาก อุตสาหกรรมเจริญ1.5 เติบโตช้า ผลิตภัณฑ์และบริการไม่มีความแตกต่าง1.6
1.7 อุปสรรคของ1.8 ผู้เข้ามาสู่ธุรกิจใหม่ เง1.9 ื่อนไขที่ปิดกั้นการเข้ามาของ1.10 คู่แข่ง1.11 ขันใหม่ นโยบายของ1.12 รัฐ
1.13 อุปสรรคของ1.14 สินค้าทดแทน ถ้ามีสินค้าทดแทนการแข่ง1.15 ขันสูง1.16
1.17 ผู้จัดส่ง1.18 สินค้าหรือวัตถุดิบ เป็นผู้จัดส่ง1.19 ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการผลิต อำนาจการต่อรอง1.20 ของ1.21 ผู้จัดส่ง1.22 สินค้า วัตถุดิบที่ใช้มีผลกระทบต่อกำไรของ1.23 อง1.24 ค์การ การสร้าง1.25 ความสัมพันธ์ เป็นต้น
1.26 ลูกค้า การบริการลูกค้า เป็นการมอบสิ่ง1.27 ที่ลูกค้าต้อง1.28 การด้วยความรวดเร็ว และความน่าเชื่อถือ
สภาพแวดล้อมทั่วไป
1.29 กฎหมายและข้อบัง1.30 คับ เช่น กฎระเบียบของ1.31 อย.
1.32 เศรษฐกิจ เช่น ภาวะการจ้าง1.33 ง1.34 าน ภาวะเง1.35 ินเฟ้อ ภาวะการออม อัตราดอกเบี้ย
1.36 เทคโนโลยี่ เช่น ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เทคโนโลยีด้านการผลิต และวิธีการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
1.37 ประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ รายได้ การมีง1.38 านทำ ระดับการศึกษา เป็นต้น
สภาพแวดล้อมภายใน (ใช้วิเคราะห์ จุดอ่อน และ จุดแข็ง )
สถานะทางการเงิน ตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราส่วนทางการเงิน
ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พิจารณาส่วนแบ่งทางการตลาด เปรียบเทียบราคากับคู่แข่งขัน ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าของบริษัท
ความสามารถทางการตลาด มีช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างไร มีความพร้อมในการพัฒนาสินค้าหรือไม่
โครงสร้างองค์การ พิจารณาจากองค์การมีโครงสร้างอย่างไร อำนาจ ความรับผิดชอบมีการแบ่งชัดเจนหรือไม่ ขั้นตอนการตัดสินใจ เป็นต้น
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ พิจารณาจาก การฝึกอบรม ระบบการจ่ายค่าตอบแทน ระบบประเมินผล การช่วยเหลือพนักงาน (สวัสดิการ)
เครื่องมืออุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวก ความทันสมัยของเครื่องมืออุปกรณ์ ระบบการผลิตของบริษัทมีความทันสมัย และเหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น
วัตถุประสงค์และกลยุทธ์เก่าของบริษัท พิจารณาจาก กลยุทธ์เก่าประสบผลสำเร็จหรือไม่ อะไรคือวัตถุประสงค์เก่าที่ธุรกิจกำหนดในอดีต

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยทำการวิเคราะห์ - 7Ss Model
1.กลยุทธ์ (Strategy) เพื่อสร้างข้อได้เปรียบคู่แข่งขัน
2.โครงสร้าง(Structure) ขององค์การ เพื่อการมอบหมายงาน และแบ่งงานการทำอย่างถูกต้องเหมาะสม
3.ระบบ(System) ต่างๆ ในองค์การ เช่น ระบบการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพ ระบบการเงิน
4.สไตส์ (Styte) ในการบริหารงานของผู้บริหารควรปรับปรุงหรือไม่
5.พนักงาน (Staff) ในองค์การมีศักยภาพมากน้อยเพียงใด
6.ค่านิยม (Shared Value) ร่วมกันของคนในองค์การ
7.ทักษะ (Skill) ขององค์การ และคนขององค์การ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันเป็นอย่างไร
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม แบ่งได้เป็น
การประเมินสภาพแวดล้อม เพื่อทราบถึง
ความสามารถในการแข่งขัน
ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดว่าจะทำอย่างไรจึงจะแข่งขันได้
การพัฒนาแผนล่วงหน้า
เพื่อเผชิญกับเงื่อนไขในอนาคต
แผนล่วงหน้าที่ดีจะอำนวยประโยชน์ แผนล่วงหน้าไม่ดีก็จะส่งผลเสีย
การพยากรณ์
ทำนายว่าอนาคตจะเปลี่ยนอย่างไร
ความถูกต้องจะเปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้อง
การเปรียบเทียบเพื่อความเป็นเลิศ การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานขององค์การและเทคโนโลยีกับองค์การอื่น เช่นค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผลการปฏิบัติงานมีความแตกต่าง

บทที่ 3
ขอบเขตความรับผิดชอบของผู้บริหาร (การตัดสินใจ)

ลักษณะของปัญหาและการตัดสินใจ
การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการในการพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาใด ๆ จนเกิดความมั่นใจในทางเลือกนั้น หรือ คือการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของการตัดสินใจ
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง หมายถึง การตัดสินใจที่เกิดขึ้นเสมอ และมีลักษณะการตัดสินใจในงานประจำ เทคนิคที่ใช้ในการตัดสินใจ ได้แก่
1.1 ใช้วิธีการที่เคยปฏิบัติมา
1.2 ใช้กฎระเบียบขององค์การ
1.3 ตัดสินใจตามโครงสร้างองค์การ
1.4 ใช้เทคนิคการวิจัยการดำเนินงาน
1.5 ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์
2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การตัดสินใจที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือ ไม่สามารถนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาประกอบการตัดสินใจได้ทันที จำเป็นต้องปรับปรุงให้เหมาะสม เทคนิคที่ใช้ในการตัดสินใจ ได้แก่
2.1 ใช้ดุลยพินิจและความคิดสร้างสรรค์
2.2 ใช้การคัดเลือกและฝึกอบรมผู้บริหาร
2.3 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อนสูงเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจ
การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่างๆ
การตัดสินใจภายใต้ความแน่นอน (Certainty) เป็นการตัดสินใจที่ผู้บริหารรู้ทางเลือกทุกทางเลือกว่ามีเงื่อนไขอย่างไร ทางเลือกนี้ผู้บริหารต้องรู้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างที่สำคัญและจำเป็น เช่น การตัดสินใจในการที่ควรจะขยายห้างสรรพสินค้าหรือไม่ โดยมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างเพียงพอ คือทราบว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 และหากขยายสาขาแล้วทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นจาก 20 ลบ.เป็น 50 ลบ.
การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน ( Uncertainty) เป็นการตัดสินใจที่ผู้บริหารไม่ทราบว่าทางเลือกทั้งหมดนั้นมีอะไรบ้าง และไม่ทราบว่าผลจะเป็นเช่นไร การตัดสินใจจึงต้องตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสถานการณ์ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม
ความคลุมเครือ (Ambiguity) เป็นการตัดสินใจที่ผู้บริหารไม่รู้ว่าปัญหาและเป้าหมายของการตัดสินใจคืออะไร การกำหนดทางเลือกทำได้ยาก
การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง (Risk) เป็นการตัดสินใจที่ผู้บริหารรู้ทางเลือก แต่ไม่รู้ผลของแต่ละทางเลือก ผู้บริหารจึงใช้ข้อมูลที่มีความน่าจะเป็นของแต่ละทางเลือก โดย
1.1 ใช้ประสบการณ์ของ1.2 ผู้ตัดสินใจ เพื่อประมาณว่าเหตุการณ์ใดน่าจะเกิด
1.3 คำนวณจากข้อมูลในอดีต ดัง1.4 นี้
ค่าคาดหวังกำไร โดยคาดหวังจะได้กำไรสูงสุด เช่น มีข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศย้อนหลัง 10 ปี คืออากาศหนาวมาก 3 ปี หนาวปานกลาง 5 ปี หนาวน้อย 2 ปี หากำไรคาดหวังว่าจะผลิตเสื้อหนาวกี่ตัว
ค่าคาดหวังต้นทุน หรือ ค่าเสียโอกาส โดยคาดหวังว่าจะใช้ต้นทุนต่ำสุด
ระบุปัญหาและวินิจฉัยปัญหา
รับรู้ปัญหาและต้องการแก้ไขปัญหา ผู้บริหารต้องแยกแยะสิ่งที่เกิดขึ้นกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เช่น กรณียอดขายของบริษัทลดลง สาเหตุมาจากคุณภาพของสินค้าต่ำ เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว ผู้บริหารควรพิจารณาข้อจำกัดขององค์การ โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต ได้แก่ กำลังคน เงินทุน เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งเวลาจะช่วยให้ผู้บริหารกำหนดขอบเขตในการพัฒนาทางเลือกให้แคบลงได้
หาข้อสรุปจากทางเลือกหลายๆ โดยใช้วิธีการที่เคยใช้มาแล้ว ทำตามคำแนะนำของผู้มีประสบการณ์ ผสมผลานแนวความคิดใหม่
ประเมินทางเลือก ผู้บริหารควรทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งทางเลือกเหล่านั้นควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรือให้ประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น กรณีที่องค์การประสบปัญหาเวลาการผลิตไม่เพียงพอ ผู้บริหารอาจพิจารณาทางเลือกดังนี้ 1) เพิ่มการทำงานกะพิเศษ 2) เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ 3) เพิ่มจำนวนพนักงาน หรือ 4) ไม่ทำอะไรเลย
การตัดสินใจเลือกทางเลือก การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best alternative) เมื่อผู้บริหารได้ทำการ วิเคราะห์และประเมินทางเลือกต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว ทางเลือกที่ดีที่สุดควรมีผลเสียต่อเนื่องในภายหลังน้อยที่สุด และให้ผลประโยชน์มากที่สุด แต่บางครั้งผู้บริหารอาจตัดสินใจเลือกทางเลือกแบบประนีประนอม โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือกนำมาผสมผสานกัน
การนำการตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติ เมื่อผู้บริหารได้ทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเมินผลการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้โดยได้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติที่ดีที่สุด
ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ
การตัดสินใจโดยผู้บริหาร (Individaul decision ) เป็นอำนาจของผู้บริหาร เพราะเป็นผู้เชี่ยวชายการหาข้อมูลเพิ่มเติม
การตัดสินใจโดยขอคำปรึกษา เป็นการตัดสินใจโดยผู้บริหาร ซึ่งใช้วิธีระดมความคิดโดยการประชุม หรือเชิญผู้เกี่ยวข้องไปให้ข้อมูลและคำปรึกษา
การตัดสินใจโดยกลุ่ม การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคลนี้เหมาะสำหรับการตัดสินใจในเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือเรื่องที่ผู้บริหารไม่มีข้อมูลข่าวสารเพียงพอหรือยังขาดประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่มีความชำนาญทางด้านนั้นอย่างเพียงพอจึงจำเป็นต้องฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ แล้วประมวลความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นสิ่งกำหนดการตัดสินใจ
สรุปและวิเคราะห์
การตัดสินใจโดยกลุ่ม จะมีความสำคัญเป็นที่ยอมรับและต้องการมากขึ้น เพราะว่า องค์การที่มีขนาดใหญ่งานจะซับซ้อน และต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย ประกอบกับบุคลากรขององค์การในปัจจุบันนี้มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน จึงมีความต้องการได้รับการยอมรับ และมีส่วนร่วมในการบริหารหรือตัดสินใจในปัญหาที่สำคัญ ๆ และที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตนและหน่วยงานของตนโดยตรง ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการตัดสินใจโดยกลุ่มจึงมีประโยชน์และจำเป็นสำหรับผู้นำ
ผู้นำที่มีความสามารถและทักษะในการตัดสินใจ จะเข้าใจภาระหน้าที่ที่ควรกระทำในกลุ่มได้ดี และนำกลุ่มให้สามารถหาทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็จะทำให้สมาชิกยอมรับ และไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน โดยผู้นำต้องเป็น
1. ผู้กำหนดกระบวนการและขั้นตอนของการประชุม
2. ต้องกระตุ้นให้มีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกด้วยกันให้มากที่สุด
3. ทำให้สมาชิกมีความเข้าใจชัดเจนต่อปัญหาประเด็น
4. ทำหน้าที่สรุปก่อนที่จะมีการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุด

แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ

Posted on by modal

การจัดการและพฤติกรรมองค์การ ประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ
การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการในการประสานกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ โดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในองค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
พฤติกรรมองค์การ (Behvior) คือ การกระทำของบุคคล
องค์การ (Organization) คือหน่วยของสังคมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุผล โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอก องค์การประกอบด้วย
ทรัพยากรมนุษย์
การดำเนินงาน มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งงานกันทำตามขอบเขตที่กำหนด
ความร่วมมือ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
การแบ่งระดับของผู้บริหาร
ผู้บริหารระดับสูง หรือ ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ จะรับผิดชอบในการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย และกลยุทธ์ ซึ่งมีผลต่อองค์การ เช่น ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ฯลฯ
ผู้บริหารระดับกลาง หรือ ผู้บริหารยุทธวิธี เป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง และ ผู้บริหารระดับล่าง เป็นผู้กำหนดกิจกรรม จัดหาผู้มีทักษะเพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติงาน และคอยให้คำแนะนำแก้ไขเมื่อมีปัญหา ตำแหน่งนี้ได้แก่ หัวหน้าแผนก หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าหน่วย
ผู้บริหารระดับล่าง หรือ ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ คอยดูแลการปฏิบัติงานขององค์การ และ เกี่ยวข้องโดยตรงกับพนักงาน ช่วยเพิ่มพูนวิธีการใหม่ ๆ และกระตุ้นพนักงานให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมอบอำนาจให้กับพนักงาน เช่น ผู้คุมงาน หัวหน้างาน
ลักษณะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
1. กำหนดเป้าหมาย 2. แก้ปัญหา 3.การบริหารเวลา 4. การสื่อสารด้วยว่าจา 5. ทักษะความสัมพันธ์ 6. ทำงานได้ดีกับกลุ่ม 7. การบริหารความขัดแย้ง
หน้าที่ของผู้นำในการบริหารจัดการ
1. การวางแผน (Planning) คือ การกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และพัฒนาแผนย่อยๆ ต่างๆ ให้สอดคล้องประสานกัน
2. การจัดองค์กร (Organizaing) คือ การออกแบบโครงสร้างองค์การและแบ่งงานออกเป็นกลุ่มงาน แบ่งความรับผิดชอบ ว่าใครทำหน้าที่อะไร และต้องขึ้นตรงกับใคร
3. การนำพา ( Leading) คือ การเป็นผู้นำและทำหน้าที่ในการจูงใจ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ เป็นผู้มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
4. การควบคุม (Controlling) คือ การติดตามผลการปฏิบัติงานและนำผลการปฏิบัติงานมาเปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้ หากพบปัญหาก็แก้ไข เพื่อให้งานบรรลุผลตามแผนที่วางไว้ เช่นการควบคุมด้านการเงิน การทำบัญชี เป็นต้น
ทักษะการจัดการ คือ ความสามารถในการนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความถนัด และความชำนาญมาใช้ในการปฏิบัติ ซึ่งมี 3 ประการ คือ

ทักษะด้านเทคนิค คือ ความรู้ความสามารถ ที่จะปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการ หรือ กระบวนการที่แน่นอน
ทักษะด้านแนวความคิดและการตัดสินใจ คือ ความสามารถในการคิด ในการแยกแยะและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อประโยชน์ขององค์การ
ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการเป็นผู้นำ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และความรอบรู้ในสายงานอาชีพ
ทฤษฏี หรือ แนวคิด ทางการบริหารจัดการ
1. Scientific Management (การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์) คือการกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด เพื่อการเพิ่มผลผลิตจากประสิทธิภาพของคนงาน
TAYLOR
พัฒนาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด แทนการทำงานตามวิธีเก่าเพื่อลดความสูญเสีย
เลือกวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้วฝึกฝนและสอนงานเพื่อพัฒนาคนงานให้เป็นคนที่มีประสิทธิภาพ
การร่วมมือกับคนทำงานเพื่อเป็นการให้ความมั่นใจว่า งานทุกงานทำไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้ศึกษาและวางเอาไว้
แบ่งงานและความรับผิดชอบให้เท่าเทียมกันระหว่างผู้บริหารและคนงาน
EX ศึกษาจากการที่จ้างคนงานขนเหล็กถลุงขนาดหน่วยละ 92 ปอนด์ขึ้นรถไฟ โดยขนได้ 12.5 ตันต่อคน คนงานจะได้ค่าตอบแทนเฉลี่ย 1.15 เหรียญต่อวัน เทย์เลอร์เชื่อว่าควรจะคนได้ถึงวันละ 48 ตันต่อคนต่อวัน
เทย์เลอร์ได้เพิ่มค่าตอบแทนเป็น 1.85 เหรียญต่อวัน แต่คนงานจะต้องทำตามขั้นตอนทุกอย่างที่เขากำหนด เขาได้เปลี่ยนท่าทางการทำงาน จังหวะการพัก ท่าขนของ การปรับเทคนิค เครื่องมือเครื่องใช้ การหาคนให้เหมาระกับงาน และ การให้รางวัลเป็นแรงจูงใจ ในที่สุดเขาสามารถทำได้อย่างที่ตั้งเปาเอาไว้ คือขนเหล็กถลุงได้ 48 ตันต่อวันต่อคน
2.General Administrative Theories (การจัดการตามแบบหลักการบริหาร) คือการเน้นภาพรวมขององค์การโดยมุ่งพัฒนาภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องกระทำและหลักการบริหารที่ดี
FOYO
การจัดแบ่งงาน หลักการคือการทำให้คนจำนวนมากที่ต้องมาทำงานร่วมกันได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญของแต่ละคน
การมีอำนาจหน้าที่ ต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย คำสั่งต้องถูกต้องชัดเจนและเกิดความรับผิดชอบในงานที่ออกคำสั่งควบคู่ไปด้วย
ความมีวินัย ผู้ใต้บังคับบัญชา ต้องเชื่อฟังและเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ ต้องมีความเข้าใจชัดเจนระหว่างฝ่ายจัดการและคนงาน
พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายงานบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป
องค์การต้องมีจุดหมายปลายทางเดียวกัน
ผลประโยชน์ขององค์การจะต้องมาเหนือผลประโยชน์ส่วนตัว
ค่าตอบแทนต้องเหมาะสมกับผลงานและความสามารถ
การรวมอำนาจต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ หมายถึงระดับที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีส่วนในการตัดสินใจอย่างไร การจะกระจายอำนาจหรือรวมอำนาจขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ต้องมีสายงานบังคับบัญชาที่แน่ชัด หมายถึง สาบบังคับบัญชาจากระดับสูงมาสู่ระดับต่ำสุด หากมีการเสียเวลาล่าช้า ก็ให้มีการข้ามขั้นตอนได้
ความเป็นระบบระเบียบ หมายความถึง คน หรือ วัสดุอุปกรณ์ทั้งหมายจะต้องอยู่ในที่อันเหมาะสม ในเวลาอันเหมาะสม เช่น คนป่วยลางาน ก็สามารถมีคนทดแทนได้ เพราะมีความเป็นระบบทำให้รู้งานกัน
ความเท่าเทียมกัน ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตองสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม
ผู้บริหารควรวางแผนงานให้สามารถมีการทดแทนกำลังคนกันได้เมื่อมีตำแหน่งงานว่างลง
ให้โอกาสพนักงานในการแสดงความคิดริเริ่ม อย่างเต็มที่
ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม
3. Quantitative Approach (การจัดการเชิงปริมาณ) เกี่ยวข้องกับการใช้เทคนิคเชิงปริมาณในการตัดสินใจ อาจเรียกว่าการวิจัยการดำเนินงาน
4.Organizational Behavior (การจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์) มุ่งเน้นที่การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยศึกษาพฤติกรรมของคนทำงาน
มาสโลว์ แบ่งความต้องการออกเป็น 5 ขั้น
ความต้องการทางกายภาพ
ความต้องการความปลอดภัย
ความต้องการทางสังคม
ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
ความต้องการความสมหวังและความสำเร็จของชีวิต

การวิเคราะห์กรณีศึกษา มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน ดังนี้

Posted on by modal

วิเคราะห์ประวัติ การพัฒนา การเติบโตของบริษัท โดย
- ตรวจดูเหตุการณ์สำคัญ- ในประวัติของ- บริษัทฯ เช่นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การตัดสินใจเลือกตลาดสินค้า การเข้าสู่ธุรกิจใหม่
-
วิเคราะห์ SWOT หาจุดแข็งและจุดอ่อน จากการดำเนินงานตั้งแต่อดีต วิเคราะห์ตามหน้าที่ทางการตลาด การผลิต การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หาโอกาสและอุปสรรค โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ
ประเมินผลจากการวิเคราะห์ SWOT เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทอยู่ในสถานะใด บริษัท สามารถใช้กลยุทธ์ที่มีอยู่ทำกำไรให้บริษัทได้หรือไม่ และสามารถเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง และเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสได้หรือไม่
หมายเหตุ ข้อ 1-3 เปรียบเทียบได้กับ กรณีโรงรับจำนำที่อาจารย์ให้ทำในวันที่ 6 สค.49 คือ
ข้อ 1 อ่านโจทย์ และข้อมูลของโรงรับจำนำ
ข้อ 2 วิเคราะห์ SWOT วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ข้อ 3 ประเมินผลจากการวิเคราะห์ SWOT ว่ากิจการอยู่ในสถานะใด ใช้กลยุทธ์อย่างไรให้อยู่รอด
วิเคราะห์กลยุทธ์ระดับองค์การ
-พิจารณาว่าภารกิจและเป้าหมายขององค์กรคืออะไร
-วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของธุรกิจทั้งหลายของบริษัท
-ศึกษาว่าทำไมกลยุทธ์ขององค์การต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลา อะไรเป็นสาเหตุ
-สำรวจวิธิการสร้างกลุ่มธุรกิจว่าเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่
วิเคราะห์กลยุทธ์ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ ระดับปฎิบัติการ
-ระบุกลยุทธ์การแข่งขัน เพื่อให้เห็นความแตกต่างจากการเป็นผู้นำด้านต้นทุน หรือมุ่งตลาดย่อย
-ต้องศึกษาถึงกลยุทธ์การผลิต การตลาด การวิจัยพัฒนา เพื่อทราบว่าบริษัทกำลังจะเดินไปทางไหน
วิเคราะห์โครงสร้างและระบบการควบคุม
-เพื่อทราบว่าบริษัทใช้โครงสร้างและระบบการควบคุมแบบใด และจะประยุกต์กลยุทธ์อย่างไรให้ได้ผล
-ประเมินว่าโครงสร้างเหมาะสมกับบริษัทหรือไม่
- ศึกษาว่ามีความขัดแย้งภายในองค์กรหรือไม่ เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด
เสนอแนะ
คุณภาพของการแนะนำขึ้นอยู่กับความละเอียดในการวิเคราะห์กรณีศึกษา การแก้ปัญหาที่องค์กรประสบอยู่
และสอดคล้องกันทุกขั้นตอน เขียนในรูปของแผนการปฎิบัติ ตารางเวลา ลำดับการปฎิบัติ

การเขียนรายงานการวิเคราะห์กรณีศึกษา ควรมีขั้นตอน ดังนี้
คำนำ สรุปสั้นๆว่า บริษัท ทำอะไร เจริญเติบโตอย่างไร พบปัญหาอะไรบ้าง
วิเคราะห์ SWOT และพิจารณาสภาพและปัญหาของกลยุทธ์ระดับต่างๆ แล้ววิเคราะห์โครงสร้างและระบบการควบคุม
S = Strengths = จุดแข็ง
W = Weaknesses = จุดอ่อน
O = Opportunities = โอกาส
T = Threats = อุปสรรค , ภัยคุกคาม
เสนอทางแก้ปัญหา และคำแนะนำต้องให้ครอบคลุมทั่วทุกอย่าง และสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์

กระบวนวิชานี้ประกอบด้วยคำ 3 คำคือ
การจัดการ (Management)
พฤติกรรม (Behavior)
องค์การ (Organization)
การจัดการ คือกระบวนการในการประสานงาน และรวบรวมกิจกรรมในการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยอาศัยคน
พฤติกรรม คือการกระทำของบุคคล
องค์การ คือหน่วยทางสังคมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุผลโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอก
องค์การประกอบด้วย
ทรัพยากรมนุษย์ เป็นระบบที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆให้บรรลุผล
การดำเนินงาน ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งงานกันทำภายในขอบเขตที่กำหนด
ความร่วมมือ ร่วมมือกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
หรือ ประกอบด้วย บุคลากร โครงสร้างที่ชัดเจน จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
แต่ทั้งนี้แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรควรมีการเปลี่ยนแปลงและมีความยืดหยุ่นตามสภาพแวดล้อม

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและการจัดการ
มีความสัมพันธ์กัน และบุคลากรมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะจัดการให้งานต่างๆบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นจึงต้องศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ขององค์การด้วย

วัตถุประสงค์ของการเรียน บทที่ 1
หลักในการจัดการสมัยใหม่ภายใต้การแข่งขัน
การดำเนินงานเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
หน้าที่ทางการจัดการเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันอย่างไร
ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารที่มีประสิทธิผล
ความมุ่งมั่นในสายงานอาชีพ
การจัดการสมัยใหม่ คือตัวที่บอกได้ว่าองค์การใดมีหรือไม่มีประสิทธิผล
*ประสิทธิผล (Effectiveness)คือ การบรรลุเป้าหมาย บรรลุวัตถุประสงค์
ปัจจัยสำคัญ 4 ประการสำหรับการจัดการสมัยใหม่คือ
อินเทอร์เน็ท (Internet)
กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
การร่วมมือ (Coollaboration Across Boundaries)

การจัดการเพือให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ผู้บริหารและบริษัทที่ดี ต้องมีความสามารถในเรื่องต่อไปนี้
สามารถแข่งขันด้านต้นทุน (Cost Competitiveness)
มีวิธีการใหม่ (นวัตกรรม) (Innovation)
มีคุณภาพ (Quality)
มีความรวดเร็ว (Speed)

หน้าที่ของการจัดการ *********** (สำคัญมาก สำหรับการสอบ Comprehensive)
ผู้บริหารและบริษัทที่ดี ต้องมีสิ่งต่อไปนี้
ประสิทธิผล (Effective) คือสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ
ประสิทธิภาพ(Efficient) คือสำเร็จตามเป้าหมายด้วยการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยที่สุด
และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลักของการจัดการ ผู้บริหารต้องเสริมความคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ และมีหน้าที่ทางการจัดการ ดังนี้
Planing การวางแผน คือการกำหนดเป้าหมายอย่างละเอียดจะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จเนื่องจากสามารถตัดสินใจได้ล่วงหน้า และ นำแผนไปปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม
หน้าที่ของการวางแผนในยุคใหม่
-กระบวนการที่ปรับเปลี่ยนโดยองค์กรจะระดมสมอง ของสมาชิก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยกันแยกแยะ และมองหาโอกาส ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
-เจตนาของกระบวนการเหล่านั้น ก็เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า
Organizing การจัดการองค์การ ได้แก่
-การรวบรวมและประสาน คน เงิน วัตถุ ข่าวสารข้อมูล และทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อบรรลุเป้าหมาย
-การสร้างองค์กร ที่ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม
-หน้าที่การจัดองค์การสำหรับยุคใหม่เห็นว่าบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุด
-การสร้างโครงสร้างองค์การให้มีความยืดหยุ่นให้เหมาะกับอนาคต
Leading การนำพา ได้แก่
-กระตุ้นบุคลากรให้มีผลการปฎิบัติงาน
-ผู้บริหารยุคใหม่ต้องสามารถกระตุ้น และช่วยเหลือบุคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์
Controlling การควบคุม ได้แก่
-ติดตามดูแลให้เกิดความก้าวหน้า ทำการเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จตามเป้าหมาย
-ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถบรรลุเป้าหมาย
-เทคโนโลยีสมัยใหม่ จะทำให้เกิดการควบคุมอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
-สำหรับอนาคต จะต้องมีการกระตุ้นเตือนให้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง
ผู้จัดการหรือผู้บริหาร(Managers)
ผู้บริหารกับผู้นำต่างกันอย่างไร
ตอบ ผู้บริหารคือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากองค์กร ทางนิตินัย ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้นำ
ผู้นำอาจจะไม่ใช่ผู้บริหารแต่เป็นที่ยอมรับขององค์กรโดยพฤตินัย
*แต่ถ้าผู้บริหารและผู้นำรวมเป็นบุคคล คนเดียวกัน คือมีคุณสมบัติทั้งสองอย่าง
องค์กรจะเติบโตได้ดี

ผู้บริหารมีความสำคัญกับองค์การ เพราะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมและประสานงานให้บรรลุผล
การแบ่งระดับของผู้บริหาร (ดูภาพหน้า 12)
Top Managers ผู้บริหารระดับสูง
Middle Managers ผู้บริหารระดับกลาง
First Line Managers ผู้บริหารระดับปฎิบัติการ
Nonmanagerial Employees พนักงาน
ระดับของการจัดการ
ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Managers) มีหน้าที่
-ผู้บริหารอาวุโสรับผิดชอบในการจัดการทั้งหมด และเป็นผู้ทำให้องค์การเกิดประสิทธิผล
-เน้นแผนระยะยาว
-เน้นการอยู่รอด การเจริญเติบโต และมีประสิทธิผลอย่างมั่นคง
-สนใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมภายนอก (คือรู้เขา รู้เรา)
-ชื่อเรียกผู้บริหารระดับสูงได้แก่ Chief Executive Officer (CEO) หรือ/และ
Chief Operating Officer (COO) ประธานบริษัท และ รองประธานบริษัท


การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับสูงในบทบาทการจัดการและงาน
-บทบาทที่เปลี่ยนไป โดย จากการจัดสรรทรัพยากรไปสู่ การเป็นผู้นำองค์การ
-ค่านิยมที่สำคัญ คือ สร้างและปลูกจิตสำนึกร่วมกัน โดยไปในทิศทางเดียวกัน
-กิจกรรมหลัก คือ –ภายใต้สภาวะที่ท้าทาย จำเป็นต้องแสวงหาโอกาสและ
การสร้างงาน ที่เป็นมาตรฐาน
-สร้างบรรทัดฐานและค่านิยมที่สนับสนุนให้เกิด
ความร่วมมือและความซื่อสัตย์
-สร้างความปราถนาให้เป้าหมายองค์การไปทิศทางเดียวกัน
ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารยุทธวิธี (Tactical Managers) มีหน้าที่
-อยู่ระหว่างผู้บริหารระดับสูงและระดับล่าง เป็นผู้ประสานงานระหว่างทั้งสอง
-รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเป้าหมายกลยุทธ์ และแผนสู่วัตถุประสงค์ที่เจาะจง
-จัดหา ผู้มีทักษะในการปฎิบัติ และแก้ไขปัญหาเพื่อให้องค์การดำเนินต่อได้
การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางในบทบาทการจัดการและงาน
-บทบาทที่เปลี่ยนไป โดยเปลี่ยนจากผู้ควบคุมการจัดการไปสู่ผู้ให้คำแนะนำ -ค่านิยมที่สำคัญ คือ ให้การสนับสนุนและประสานงานเพื่อประโยชน์ต่อองค์การ
-กิจกรรมหลัก คือ -พัฒนาบุคคลและสนับสนุนกิจกรรมของบุคลากร
-เชื่อมโยงให้เกิดการกระจายความรู้ ทักษะวิธิปฎิบัติให้ดีที่สุด
-จัดการการปฎิบัติงานในระยะสั้นให้ส่งผลสำเร็จในระยะยาว

ผู้บริหารระดับปฎิบัติการ (First Line Managers หรือ Operational Managers ) มีหน้าที่
-คอยดูแลการปฎิบัติงานของพนักงานในองค์การ
-เพิ่มพูนวิธีการใหม่ๆ (innovation) และพยายามสร้างบุคลากรให้เป็นผู้บริหาร
-ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีทั้ง กลยุทธ์ กลวิธี
การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับปฎิบัติการในบทบาทการจัดการและงาน
-บทบาทที่เปลี่ยนไป โดยเปลี่ยนจากผู้ปฎิบัติสู่ผู้บริหารที่กระตือรือร้น
-ค่านิยมที่สำคัญ คือ เน้นผลงานที่เพิ่มผลผลิต การสร้างนวัตกรรม ความเจริญ
-กิจกรรมหลัก คือ -สร้างสรรค์และแสวงหาโอกาสใหม่ๆ
-จูงใจและพัฒนาด้านทรัพยากร ศักยภาพ (Competencies)
-ปรับปรุงการปฎิบัติงานในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง

ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์

Posted on by modal

Leadership Style ในลักษณะพฤติกรรมของผู้นำ
เป็นทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับความสอดคล้องกันของการตัดสินใจของผู้นำ กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
สรุปหลักของทฤษฎีนี้ คือ ผู้นำจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์เป็นอันดับแรกก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร
ทฤษฎีของ Tannenbaum and Schmidt
ผู้นำจะมีปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ ก่อนการตัดสินใจ
ดูที่ตัวของผู้นำเองว่า ผู้นำมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ มากน้อยแค่ไหน ถ้าผู้นำเก่ง มีความรู้มาก เวลาตัดสินใจ ก็จะตัดสินใจเอง
ดูลูกน้อง ดูลักษณะการมีส่วนของลูกน้อง ถ้าลูกน้องเก่ง มีความรู้มาก ผู้นำมักจะให้ลูกน้องมาช่วยคิด
ดูสถานการณ์
ทฤษฎีแนวทางสู่จุดมุ่งหมาย
เวลาที่จะทำการตัดสินใจใดๆ ต้องดูประกอบกัน ด้วย เช่น ลักษณะของผู้ตาม สภาพแวดล้อม ด้วยค่อยตัดสินใจ
สรุป คือ ตั้งเป้าหมายก่อน แล้วค่อยตัดสินใจให้เหมาะสมที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
การตัดสินใจ มี 4 ลักษณะ
ผู้นำแบบบงการ ผู้นำเป็นคนชี้นำ ให้ลูกน้องทำตามที่สั่ง ผู้นำจะตัดสินใจทันที เมื่อรู้ว่าลูกน้องไม่มีความรู้ ผู้นำเก่งกว่าผู้ตาม
ผู้นำแบบให้การสนับสนุน มุ่งให้เกิดความสัมพันธ์กับลูกน้อง ให้ข้อมูลให้เพียงพอกับลูกน้อง ให้ลูกน้องได้รับรายละเอียดอย่างครบถ้วน เพื่อให้ลูกน้องนำไปใช้ในการทำงานได้ การจะให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้นำควรสนับสนุนลูกน้อง ไม่ใช่ให้ลูกน้องทำงานตามลำพัง
ผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้นำที่ยอมให้ลูกน้องมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะตัดสินใจอะไรก็ตาม ให้ลูกน้องมาช่วยกันคิด การมีส่วนร่วมของลูกน้องจะช่วยกระตุ้นให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดี
ผู้นำแบบมุ่งผลสำเร็จ ผู้นำที่วางเป้าหมายท้าทาย และมุ่งความสำเร็จของงานสูง พยายามให้ลูกน้องทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ทฤษฎีการทดแทนความเป็นผู้นำ
บางบริษัทที่ลูกน้องได้รับการฝึกอบรมบ่อยๆ ลูกน้องมีความสามารถสูง ขยันทำงาน ฝึกสร้างความสามารถให้กับตนเอง มีแต่คนเก่งๆ ทำงานอยู่ร่วมกัน ก็ไม่ต้องการผู้นำ
ในปัจจุบันผู้นำควรมีลักษณะอย่างไร
ภาวะผู้นำแบบใช้การติดต่อระหว่างบุคคล ใช้กลยุทธ์การเข้าถึงลูกน้อง ติดต่อลูกน้องอย่างต่อเนื่อง ผู้นำแบบนี้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกน้องตลอดเวลา ใช้กับการทำงานประจำ
ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ผู้นำนักพัฒนา จะกระตุ้น ปลุกเร้าให้ลูกน้องรู้สึกว่าต้องแสดงความสามารถพิเศษในตัวออกมา ให้ทำผลงานให้ดีกว่าเดิม โดยใช้ทักษะและกลยุทธ์ในการทำงาน
กลยุทธ์และทักษะ สามารถสร้างได้โดยการพยายามปลูกฝังให้ลูกน้องมี วิสัยทัศน์ ให้คิดไกล คิดจริง ทำจริง มองอนาคต และทำให้วิชั่นเป็นจริงได้ด้วย สร้างความเชื่อถือ และสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้มาก

บทความที่ได้รับความนิยม