Custom Search

แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ

Posted on วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 by modal

การจัดการและพฤติกรรมองค์การ ประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ
การจัดการ (Management) หมายถึง กระบวนการในการประสานกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ โดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในองค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
พฤติกรรมองค์การ (Behvior) คือ การกระทำของบุคคล
องค์การ (Organization) คือหน่วยของสังคมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุผล โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอก องค์การประกอบด้วย
ทรัพยากรมนุษย์
การดำเนินงาน มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งงานกันทำตามขอบเขตที่กำหนด
ความร่วมมือ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
การแบ่งระดับของผู้บริหาร
ผู้บริหารระดับสูง หรือ ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ จะรับผิดชอบในการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย และกลยุทธ์ ซึ่งมีผลต่อองค์การ เช่น ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ฯลฯ
ผู้บริหารระดับกลาง หรือ ผู้บริหารยุทธวิธี เป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง และ ผู้บริหารระดับล่าง เป็นผู้กำหนดกิจกรรม จัดหาผู้มีทักษะเพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติงาน และคอยให้คำแนะนำแก้ไขเมื่อมีปัญหา ตำแหน่งนี้ได้แก่ หัวหน้าแผนก หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าหน่วย
ผู้บริหารระดับล่าง หรือ ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ คอยดูแลการปฏิบัติงานขององค์การ และ เกี่ยวข้องโดยตรงกับพนักงาน ช่วยเพิ่มพูนวิธีการใหม่ ๆ และกระตุ้นพนักงานให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมอบอำนาจให้กับพนักงาน เช่น ผู้คุมงาน หัวหน้างาน
ลักษณะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
1. กำหนดเป้าหมาย 2. แก้ปัญหา 3.การบริหารเวลา 4. การสื่อสารด้วยว่าจา 5. ทักษะความสัมพันธ์ 6. ทำงานได้ดีกับกลุ่ม 7. การบริหารความขัดแย้ง
หน้าที่ของผู้นำในการบริหารจัดการ
1. การวางแผน (Planning) คือ การกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และพัฒนาแผนย่อยๆ ต่างๆ ให้สอดคล้องประสานกัน
2. การจัดองค์กร (Organizaing) คือ การออกแบบโครงสร้างองค์การและแบ่งงานออกเป็นกลุ่มงาน แบ่งความรับผิดชอบ ว่าใครทำหน้าที่อะไร และต้องขึ้นตรงกับใคร
3. การนำพา ( Leading) คือ การเป็นผู้นำและทำหน้าที่ในการจูงใจ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ เป็นผู้มอบหมายงาน แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
4. การควบคุม (Controlling) คือ การติดตามผลการปฏิบัติงานและนำผลการปฏิบัติงานมาเปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้ หากพบปัญหาก็แก้ไข เพื่อให้งานบรรลุผลตามแผนที่วางไว้ เช่นการควบคุมด้านการเงิน การทำบัญชี เป็นต้น
ทักษะการจัดการ คือ ความสามารถในการนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความถนัด และความชำนาญมาใช้ในการปฏิบัติ ซึ่งมี 3 ประการ คือ

ทักษะด้านเทคนิค คือ ความรู้ความสามารถ ที่จะปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการ หรือ กระบวนการที่แน่นอน
ทักษะด้านแนวความคิดและการตัดสินใจ คือ ความสามารถในการคิด ในการแยกแยะและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อประโยชน์ขององค์การ
ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการเป็นผู้นำ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และความรอบรู้ในสายงานอาชีพ
ทฤษฏี หรือ แนวคิด ทางการบริหารจัดการ
1. Scientific Management (การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์) คือการกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด เพื่อการเพิ่มผลผลิตจากประสิทธิภาพของคนงาน
TAYLOR
พัฒนาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด แทนการทำงานตามวิธีเก่าเพื่อลดความสูญเสีย
เลือกวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้วฝึกฝนและสอนงานเพื่อพัฒนาคนงานให้เป็นคนที่มีประสิทธิภาพ
การร่วมมือกับคนทำงานเพื่อเป็นการให้ความมั่นใจว่า งานทุกงานทำไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้ศึกษาและวางเอาไว้
แบ่งงานและความรับผิดชอบให้เท่าเทียมกันระหว่างผู้บริหารและคนงาน
EX ศึกษาจากการที่จ้างคนงานขนเหล็กถลุงขนาดหน่วยละ 92 ปอนด์ขึ้นรถไฟ โดยขนได้ 12.5 ตันต่อคน คนงานจะได้ค่าตอบแทนเฉลี่ย 1.15 เหรียญต่อวัน เทย์เลอร์เชื่อว่าควรจะคนได้ถึงวันละ 48 ตันต่อคนต่อวัน
เทย์เลอร์ได้เพิ่มค่าตอบแทนเป็น 1.85 เหรียญต่อวัน แต่คนงานจะต้องทำตามขั้นตอนทุกอย่างที่เขากำหนด เขาได้เปลี่ยนท่าทางการทำงาน จังหวะการพัก ท่าขนของ การปรับเทคนิค เครื่องมือเครื่องใช้ การหาคนให้เหมาระกับงาน และ การให้รางวัลเป็นแรงจูงใจ ในที่สุดเขาสามารถทำได้อย่างที่ตั้งเปาเอาไว้ คือขนเหล็กถลุงได้ 48 ตันต่อวันต่อคน
2.General Administrative Theories (การจัดการตามแบบหลักการบริหาร) คือการเน้นภาพรวมขององค์การโดยมุ่งพัฒนาภาระหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องกระทำและหลักการบริหารที่ดี
FOYO
การจัดแบ่งงาน หลักการคือการทำให้คนจำนวนมากที่ต้องมาทำงานร่วมกันได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญของแต่ละคน
การมีอำนาจหน้าที่ ต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย คำสั่งต้องถูกต้องชัดเจนและเกิดความรับผิดชอบในงานที่ออกคำสั่งควบคู่ไปด้วย
ความมีวินัย ผู้ใต้บังคับบัญชา ต้องเชื่อฟังและเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ ต้องมีความเข้าใจชัดเจนระหว่างฝ่ายจัดการและคนงาน
พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายงานบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป
องค์การต้องมีจุดหมายปลายทางเดียวกัน
ผลประโยชน์ขององค์การจะต้องมาเหนือผลประโยชน์ส่วนตัว
ค่าตอบแทนต้องเหมาะสมกับผลงานและความสามารถ
การรวมอำนาจต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ หมายถึงระดับที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีส่วนในการตัดสินใจอย่างไร การจะกระจายอำนาจหรือรวมอำนาจขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ต้องมีสายงานบังคับบัญชาที่แน่ชัด หมายถึง สาบบังคับบัญชาจากระดับสูงมาสู่ระดับต่ำสุด หากมีการเสียเวลาล่าช้า ก็ให้มีการข้ามขั้นตอนได้
ความเป็นระบบระเบียบ หมายความถึง คน หรือ วัสดุอุปกรณ์ทั้งหมายจะต้องอยู่ในที่อันเหมาะสม ในเวลาอันเหมาะสม เช่น คนป่วยลางาน ก็สามารถมีคนทดแทนได้ เพราะมีความเป็นระบบทำให้รู้งานกัน
ความเท่าเทียมกัน ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตองสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม
ผู้บริหารควรวางแผนงานให้สามารถมีการทดแทนกำลังคนกันได้เมื่อมีตำแหน่งงานว่างลง
ให้โอกาสพนักงานในการแสดงความคิดริเริ่ม อย่างเต็มที่
ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม
3. Quantitative Approach (การจัดการเชิงปริมาณ) เกี่ยวข้องกับการใช้เทคนิคเชิงปริมาณในการตัดสินใจ อาจเรียกว่าการวิจัยการดำเนินงาน
4.Organizational Behavior (การจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์) มุ่งเน้นที่การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยศึกษาพฤติกรรมของคนทำงาน
มาสโลว์ แบ่งความต้องการออกเป็น 5 ขั้น
ความต้องการทางกายภาพ
ความต้องการความปลอดภัย
ความต้องการทางสังคม
ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
ความต้องการความสมหวังและความสำเร็จของชีวิต

0 Responses to "แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ":

บทความที่ได้รับความนิยม