สภาพแวดล้อมภายนอก (ใช้วิเคราะห์ โอกาส และ อุปสรรค ) สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน เป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับองค์การ
1.1 คู่แข่ง1.2 ขัน จะรุนแรง1.3 เมื่อ มีคู่แข่ง1.4 ขันจำนวนมาก อุตสาหกรรมเจริญ1.5 เติบโตช้า ผลิตภัณฑ์และบริการไม่มีความแตกต่าง1.6
1.7 อุปสรรคของ1.8 ผู้เข้ามาสู่ธุรกิจใหม่ เง1.9 ื่อนไขที่ปิดกั้นการเข้ามาของ1.10 คู่แข่ง1.11 ขันใหม่ นโยบายของ1.12 รัฐ
1.13 อุปสรรคของ1.14 สินค้าทดแทน ถ้ามีสินค้าทดแทนการแข่ง1.15 ขันสูง1.16
1.17 ผู้จัดส่ง1.18 สินค้าหรือวัตถุดิบ เป็นผู้จัดส่ง1.19 ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการผลิต อำนาจการต่อรอง1.20 ของ1.21 ผู้จัดส่ง1.22 สินค้า วัตถุดิบที่ใช้มีผลกระทบต่อกำไรของ1.23 อง1.24 ค์การ การสร้าง1.25 ความสัมพันธ์ เป็นต้น
1.26 ลูกค้า การบริการลูกค้า เป็นการมอบสิ่ง1.27 ที่ลูกค้าต้อง1.28 การด้วยความรวดเร็ว และความน่าเชื่อถือ
สภาพแวดล้อมทั่วไป
1.29 กฎหมายและข้อบัง1.30 คับ เช่น กฎระเบียบของ1.31 อย.
1.32 เศรษฐกิจ เช่น ภาวะการจ้าง1.33 ง1.34 าน ภาวะเง1.35 ินเฟ้อ ภาวะการออม อัตราดอกเบี้ย
1.36 เทคโนโลยี่ เช่น ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เทคโนโลยีด้านการผลิต และวิธีการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
1.37 ประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ รายได้ การมีง1.38 านทำ ระดับการศึกษา เป็นต้น
สภาพแวดล้อมภายใน (ใช้วิเคราะห์ จุดอ่อน และ จุดแข็ง )
สถานะทางการเงิน ตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราส่วนทางการเงิน
ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พิจารณาส่วนแบ่งทางการตลาด เปรียบเทียบราคากับคู่แข่งขัน ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าของบริษัท
ความสามารถทางการตลาด มีช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างไร มีความพร้อมในการพัฒนาสินค้าหรือไม่
โครงสร้างองค์การ พิจารณาจากองค์การมีโครงสร้างอย่างไร อำนาจ ความรับผิดชอบมีการแบ่งชัดเจนหรือไม่ ขั้นตอนการตัดสินใจ เป็นต้น
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ พิจารณาจาก การฝึกอบรม ระบบการจ่ายค่าตอบแทน ระบบประเมินผล การช่วยเหลือพนักงาน (สวัสดิการ)
เครื่องมืออุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวก ความทันสมัยของเครื่องมืออุปกรณ์ ระบบการผลิตของบริษัทมีความทันสมัย และเหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น
วัตถุประสงค์และกลยุทธ์เก่าของบริษัท พิจารณาจาก กลยุทธ์เก่าประสบผลสำเร็จหรือไม่ อะไรคือวัตถุประสงค์เก่าที่ธุรกิจกำหนดในอดีต
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน โดยทำการวิเคราะห์ - 7Ss Model
1.กลยุทธ์ (Strategy) เพื่อสร้างข้อได้เปรียบคู่แข่งขัน
2.โครงสร้าง(Structure) ขององค์การ เพื่อการมอบหมายงาน และแบ่งงานการทำอย่างถูกต้องเหมาะสม
3.ระบบ(System) ต่างๆ ในองค์การ เช่น ระบบการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพ ระบบการเงิน
4.สไตส์ (Styte) ในการบริหารงานของผู้บริหารควรปรับปรุงหรือไม่
5.พนักงาน (Staff) ในองค์การมีศักยภาพมากน้อยเพียงใด
6.ค่านิยม (Shared Value) ร่วมกันของคนในองค์การ
7.ทักษะ (Skill) ขององค์การ และคนขององค์การ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันเป็นอย่างไร
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม แบ่งได้เป็น
การประเมินสภาพแวดล้อม เพื่อทราบถึง
ความสามารถในการแข่งขัน
ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดว่าจะทำอย่างไรจึงจะแข่งขันได้
การพัฒนาแผนล่วงหน้า
เพื่อเผชิญกับเงื่อนไขในอนาคต
แผนล่วงหน้าที่ดีจะอำนวยประโยชน์ แผนล่วงหน้าไม่ดีก็จะส่งผลเสีย
การพยากรณ์
ทำนายว่าอนาคตจะเปลี่ยนอย่างไร
ความถูกต้องจะเปลี่ยนไปตามความเกี่ยวข้อง
การเปรียบเทียบเพื่อความเป็นเลิศ การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานขององค์การและเทคโนโลยีกับองค์การอื่น เช่นค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผลการปฏิบัติงานมีความแตกต่าง
บทที่ 3
ขอบเขตความรับผิดชอบของผู้บริหาร (การตัดสินใจ)
ลักษณะของปัญหาและการตัดสินใจ
การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการในการพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาใด ๆ จนเกิดความมั่นใจในทางเลือกนั้น หรือ คือการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของการตัดสินใจ
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง หมายถึง การตัดสินใจที่เกิดขึ้นเสมอ และมีลักษณะการตัดสินใจในงานประจำ เทคนิคที่ใช้ในการตัดสินใจ ได้แก่
1.1 ใช้วิธีการที่เคยปฏิบัติมา
1.2 ใช้กฎระเบียบขององค์การ
1.3 ตัดสินใจตามโครงสร้างองค์การ
1.4 ใช้เทคนิคการวิจัยการดำเนินงาน
1.5 ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์
2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การตัดสินใจที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือ ไม่สามารถนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาประกอบการตัดสินใจได้ทันที จำเป็นต้องปรับปรุงให้เหมาะสม เทคนิคที่ใช้ในการตัดสินใจ ได้แก่
2.1 ใช้ดุลยพินิจและความคิดสร้างสรรค์
2.2 ใช้การคัดเลือกและฝึกอบรมผู้บริหาร
2.3 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อนสูงเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจ
การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่างๆ
การตัดสินใจภายใต้ความแน่นอน (Certainty) เป็นการตัดสินใจที่ผู้บริหารรู้ทางเลือกทุกทางเลือกว่ามีเงื่อนไขอย่างไร ทางเลือกนี้ผู้บริหารต้องรู้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างที่สำคัญและจำเป็น เช่น การตัดสินใจในการที่ควรจะขยายห้างสรรพสินค้าหรือไม่ โดยมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างเพียงพอ คือทราบว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 และหากขยายสาขาแล้วทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นจาก 20 ลบ.เป็น 50 ลบ.
การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน ( Uncertainty) เป็นการตัดสินใจที่ผู้บริหารไม่ทราบว่าทางเลือกทั้งหมดนั้นมีอะไรบ้าง และไม่ทราบว่าผลจะเป็นเช่นไร การตัดสินใจจึงต้องตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสถานการณ์ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม
ความคลุมเครือ (Ambiguity) เป็นการตัดสินใจที่ผู้บริหารไม่รู้ว่าปัญหาและเป้าหมายของการตัดสินใจคืออะไร การกำหนดทางเลือกทำได้ยาก
การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง (Risk) เป็นการตัดสินใจที่ผู้บริหารรู้ทางเลือก แต่ไม่รู้ผลของแต่ละทางเลือก ผู้บริหารจึงใช้ข้อมูลที่มีความน่าจะเป็นของแต่ละทางเลือก โดย
1.1 ใช้ประสบการณ์ของ1.2 ผู้ตัดสินใจ เพื่อประมาณว่าเหตุการณ์ใดน่าจะเกิด
1.3 คำนวณจากข้อมูลในอดีต ดัง1.4 นี้
ค่าคาดหวังกำไร โดยคาดหวังจะได้กำไรสูงสุด เช่น มีข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศย้อนหลัง 10 ปี คืออากาศหนาวมาก 3 ปี หนาวปานกลาง 5 ปี หนาวน้อย 2 ปี หากำไรคาดหวังว่าจะผลิตเสื้อหนาวกี่ตัว
ค่าคาดหวังต้นทุน หรือ ค่าเสียโอกาส โดยคาดหวังว่าจะใช้ต้นทุนต่ำสุด
ระบุปัญหาและวินิจฉัยปัญหา
รับรู้ปัญหาและต้องการแก้ไขปัญหา ผู้บริหารต้องแยกแยะสิ่งที่เกิดขึ้นกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เช่น กรณียอดขายของบริษัทลดลง สาเหตุมาจากคุณภาพของสินค้าต่ำ เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว ผู้บริหารควรพิจารณาข้อจำกัดขององค์การ โดยพิจารณาจากทรัพยากรซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการผลิต ได้แก่ กำลังคน เงินทุน เครื่องจักร สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งเวลาจะช่วยให้ผู้บริหารกำหนดขอบเขตในการพัฒนาทางเลือกให้แคบลงได้
หาข้อสรุปจากทางเลือกหลายๆ โดยใช้วิธีการที่เคยใช้มาแล้ว ทำตามคำแนะนำของผู้มีประสบการณ์ ผสมผลานแนวความคิดใหม่
ประเมินทางเลือก ผู้บริหารควรทำการพัฒนาทางเลือกต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งทางเลือกเหล่านั้นควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาให้น้อยลงหรือให้ประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่น กรณีที่องค์การประสบปัญหาเวลาการผลิตไม่เพียงพอ ผู้บริหารอาจพิจารณาทางเลือกดังนี้ 1) เพิ่มการทำงานกะพิเศษ 2) เพิ่มการทำงานล่วงเวลาโดยใช้ตารางปกติ 3) เพิ่มจำนวนพนักงาน หรือ 4) ไม่ทำอะไรเลย
การตัดสินใจเลือกทางเลือก การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best alternative) เมื่อผู้บริหารได้ทำการ วิเคราะห์และประเมินทางเลือกต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารควรเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเดียว ทางเลือกที่ดีที่สุดควรมีผลเสียต่อเนื่องในภายหลังน้อยที่สุด และให้ผลประโยชน์มากที่สุด แต่บางครั้งผู้บริหารอาจตัดสินใจเลือกทางเลือกแบบประนีประนอม โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือกนำมาผสมผสานกัน
การนำการตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติ เมื่อผู้บริหารได้ทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ก็ควรมีการนำผลการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเมินผลการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยให้ผู้บริหารแก้ปัญหาหรือทำการตัดสินใจใหม่ได้โดยได้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติที่ดีที่สุด
ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ
การตัดสินใจโดยผู้บริหาร (Individaul decision ) เป็นอำนาจของผู้บริหาร เพราะเป็นผู้เชี่ยวชายการหาข้อมูลเพิ่มเติม
การตัดสินใจโดยขอคำปรึกษา เป็นการตัดสินใจโดยผู้บริหาร ซึ่งใช้วิธีระดมความคิดโดยการประชุม หรือเชิญผู้เกี่ยวข้องไปให้ข้อมูลและคำปรึกษา
การตัดสินใจโดยกลุ่ม การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคลนี้เหมาะสำหรับการตัดสินใจในเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือเรื่องที่ผู้บริหารไม่มีข้อมูลข่าวสารเพียงพอหรือยังขาดประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่มีความชำนาญทางด้านนั้นอย่างเพียงพอจึงจำเป็นต้องฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ แล้วประมวลความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นสิ่งกำหนดการตัดสินใจ
สรุปและวิเคราะห์
การตัดสินใจโดยกลุ่ม จะมีความสำคัญเป็นที่ยอมรับและต้องการมากขึ้น เพราะว่า องค์การที่มีขนาดใหญ่งานจะซับซ้อน และต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย ประกอบกับบุคลากรขององค์การในปัจจุบันนี้มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน จึงมีความต้องการได้รับการยอมรับ และมีส่วนร่วมในการบริหารหรือตัดสินใจในปัญหาที่สำคัญ ๆ และที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตนและหน่วยงานของตนโดยตรง ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการตัดสินใจโดยกลุ่มจึงมีประโยชน์และจำเป็นสำหรับผู้นำ
ผู้นำที่มีความสามารถและทักษะในการตัดสินใจ จะเข้าใจภาระหน้าที่ที่ควรกระทำในกลุ่มได้ดี และนำกลุ่มให้สามารถหาทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็จะทำให้สมาชิกยอมรับ และไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน โดยผู้นำต้องเป็น
1. ผู้กำหนดกระบวนการและขั้นตอนของการประชุม
2. ต้องกระตุ้นให้มีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกด้วยกันให้มากที่สุด
3. ทำให้สมาชิกมีความเข้าใจชัดเจนต่อปัญหาประเด็น
4. ทำหน้าที่สรุปก่อนที่จะมีการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุด
การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management
-
*การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 Responses to "สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ และ ธุรกิจมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างไร":
แสดงความคิดเห็น