Custom Search

การวิเคราะห์กรณีศึกษา มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน ดังนี้

Posted on วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 by modal

วิเคราะห์ประวัติ การพัฒนา การเติบโตของบริษัท โดย
- ตรวจดูเหตุการณ์สำคัญ- ในประวัติของ- บริษัทฯ เช่นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การตัดสินใจเลือกตลาดสินค้า การเข้าสู่ธุรกิจใหม่
-
วิเคราะห์ SWOT หาจุดแข็งและจุดอ่อน จากการดำเนินงานตั้งแต่อดีต วิเคราะห์ตามหน้าที่ทางการตลาด การผลิต การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หาโอกาสและอุปสรรค โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ
ประเมินผลจากการวิเคราะห์ SWOT เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทอยู่ในสถานะใด บริษัท สามารถใช้กลยุทธ์ที่มีอยู่ทำกำไรให้บริษัทได้หรือไม่ และสามารถเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง และเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสได้หรือไม่
หมายเหตุ ข้อ 1-3 เปรียบเทียบได้กับ กรณีโรงรับจำนำที่อาจารย์ให้ทำในวันที่ 6 สค.49 คือ
ข้อ 1 อ่านโจทย์ และข้อมูลของโรงรับจำนำ
ข้อ 2 วิเคราะห์ SWOT วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ข้อ 3 ประเมินผลจากการวิเคราะห์ SWOT ว่ากิจการอยู่ในสถานะใด ใช้กลยุทธ์อย่างไรให้อยู่รอด
วิเคราะห์กลยุทธ์ระดับองค์การ
-พิจารณาว่าภารกิจและเป้าหมายขององค์กรคืออะไร
-วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของธุรกิจทั้งหลายของบริษัท
-ศึกษาว่าทำไมกลยุทธ์ขององค์การต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลา อะไรเป็นสาเหตุ
-สำรวจวิธิการสร้างกลุ่มธุรกิจว่าเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่
วิเคราะห์กลยุทธ์ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ ระดับปฎิบัติการ
-ระบุกลยุทธ์การแข่งขัน เพื่อให้เห็นความแตกต่างจากการเป็นผู้นำด้านต้นทุน หรือมุ่งตลาดย่อย
-ต้องศึกษาถึงกลยุทธ์การผลิต การตลาด การวิจัยพัฒนา เพื่อทราบว่าบริษัทกำลังจะเดินไปทางไหน
วิเคราะห์โครงสร้างและระบบการควบคุม
-เพื่อทราบว่าบริษัทใช้โครงสร้างและระบบการควบคุมแบบใด และจะประยุกต์กลยุทธ์อย่างไรให้ได้ผล
-ประเมินว่าโครงสร้างเหมาะสมกับบริษัทหรือไม่
- ศึกษาว่ามีความขัดแย้งภายในองค์กรหรือไม่ เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด
เสนอแนะ
คุณภาพของการแนะนำขึ้นอยู่กับความละเอียดในการวิเคราะห์กรณีศึกษา การแก้ปัญหาที่องค์กรประสบอยู่
และสอดคล้องกันทุกขั้นตอน เขียนในรูปของแผนการปฎิบัติ ตารางเวลา ลำดับการปฎิบัติ

การเขียนรายงานการวิเคราะห์กรณีศึกษา ควรมีขั้นตอน ดังนี้
คำนำ สรุปสั้นๆว่า บริษัท ทำอะไร เจริญเติบโตอย่างไร พบปัญหาอะไรบ้าง
วิเคราะห์ SWOT และพิจารณาสภาพและปัญหาของกลยุทธ์ระดับต่างๆ แล้ววิเคราะห์โครงสร้างและระบบการควบคุม
S = Strengths = จุดแข็ง
W = Weaknesses = จุดอ่อน
O = Opportunities = โอกาส
T = Threats = อุปสรรค , ภัยคุกคาม
เสนอทางแก้ปัญหา และคำแนะนำต้องให้ครอบคลุมทั่วทุกอย่าง และสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์

กระบวนวิชานี้ประกอบด้วยคำ 3 คำคือ
การจัดการ (Management)
พฤติกรรม (Behavior)
องค์การ (Organization)
การจัดการ คือกระบวนการในการประสานงาน และรวบรวมกิจกรรมในการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยอาศัยคน
พฤติกรรม คือการกระทำของบุคคล
องค์การ คือหน่วยทางสังคมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุผลโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอก
องค์การประกอบด้วย
ทรัพยากรมนุษย์ เป็นระบบที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆให้บรรลุผล
การดำเนินงาน ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งงานกันทำภายในขอบเขตที่กำหนด
ความร่วมมือ ร่วมมือกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
หรือ ประกอบด้วย บุคลากร โครงสร้างที่ชัดเจน จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
แต่ทั้งนี้แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรควรมีการเปลี่ยนแปลงและมีความยืดหยุ่นตามสภาพแวดล้อม

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การและการจัดการ
มีความสัมพันธ์กัน และบุคลากรมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะจัดการให้งานต่างๆบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นจึงต้องศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ขององค์การด้วย

วัตถุประสงค์ของการเรียน บทที่ 1
หลักในการจัดการสมัยใหม่ภายใต้การแข่งขัน
การดำเนินงานเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
หน้าที่ทางการจัดการเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันอย่างไร
ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารที่มีประสิทธิผล
ความมุ่งมั่นในสายงานอาชีพ
การจัดการสมัยใหม่ คือตัวที่บอกได้ว่าองค์การใดมีหรือไม่มีประสิทธิผล
*ประสิทธิผล (Effectiveness)คือ การบรรลุเป้าหมาย บรรลุวัตถุประสงค์
ปัจจัยสำคัญ 4 ประการสำหรับการจัดการสมัยใหม่คือ
อินเทอร์เน็ท (Internet)
กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
การร่วมมือ (Coollaboration Across Boundaries)

การจัดการเพือให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ผู้บริหารและบริษัทที่ดี ต้องมีความสามารถในเรื่องต่อไปนี้
สามารถแข่งขันด้านต้นทุน (Cost Competitiveness)
มีวิธีการใหม่ (นวัตกรรม) (Innovation)
มีคุณภาพ (Quality)
มีความรวดเร็ว (Speed)

หน้าที่ของการจัดการ *********** (สำคัญมาก สำหรับการสอบ Comprehensive)
ผู้บริหารและบริษัทที่ดี ต้องมีสิ่งต่อไปนี้
ประสิทธิผล (Effective) คือสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ
ประสิทธิภาพ(Efficient) คือสำเร็จตามเป้าหมายด้วยการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยที่สุด
และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลักของการจัดการ ผู้บริหารต้องเสริมความคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ และมีหน้าที่ทางการจัดการ ดังนี้
Planing การวางแผน คือการกำหนดเป้าหมายอย่างละเอียดจะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จเนื่องจากสามารถตัดสินใจได้ล่วงหน้า และ นำแผนไปปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม
หน้าที่ของการวางแผนในยุคใหม่
-กระบวนการที่ปรับเปลี่ยนโดยองค์กรจะระดมสมอง ของสมาชิก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยกันแยกแยะ และมองหาโอกาส ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
-เจตนาของกระบวนการเหล่านั้น ก็เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า
Organizing การจัดการองค์การ ได้แก่
-การรวบรวมและประสาน คน เงิน วัตถุ ข่าวสารข้อมูล และทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อบรรลุเป้าหมาย
-การสร้างองค์กร ที่ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม
-หน้าที่การจัดองค์การสำหรับยุคใหม่เห็นว่าบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุด
-การสร้างโครงสร้างองค์การให้มีความยืดหยุ่นให้เหมาะกับอนาคต
Leading การนำพา ได้แก่
-กระตุ้นบุคลากรให้มีผลการปฎิบัติงาน
-ผู้บริหารยุคใหม่ต้องสามารถกระตุ้น และช่วยเหลือบุคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์
Controlling การควบคุม ได้แก่
-ติดตามดูแลให้เกิดความก้าวหน้า ทำการเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จตามเป้าหมาย
-ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถบรรลุเป้าหมาย
-เทคโนโลยีสมัยใหม่ จะทำให้เกิดการควบคุมอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
-สำหรับอนาคต จะต้องมีการกระตุ้นเตือนให้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง
ผู้จัดการหรือผู้บริหาร(Managers)
ผู้บริหารกับผู้นำต่างกันอย่างไร
ตอบ ผู้บริหารคือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากองค์กร ทางนิตินัย ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้นำ
ผู้นำอาจจะไม่ใช่ผู้บริหารแต่เป็นที่ยอมรับขององค์กรโดยพฤตินัย
*แต่ถ้าผู้บริหารและผู้นำรวมเป็นบุคคล คนเดียวกัน คือมีคุณสมบัติทั้งสองอย่าง
องค์กรจะเติบโตได้ดี

ผู้บริหารมีความสำคัญกับองค์การ เพราะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมและประสานงานให้บรรลุผล
การแบ่งระดับของผู้บริหาร (ดูภาพหน้า 12)
Top Managers ผู้บริหารระดับสูง
Middle Managers ผู้บริหารระดับกลาง
First Line Managers ผู้บริหารระดับปฎิบัติการ
Nonmanagerial Employees พนักงาน
ระดับของการจัดการ
ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Managers) มีหน้าที่
-ผู้บริหารอาวุโสรับผิดชอบในการจัดการทั้งหมด และเป็นผู้ทำให้องค์การเกิดประสิทธิผล
-เน้นแผนระยะยาว
-เน้นการอยู่รอด การเจริญเติบโต และมีประสิทธิผลอย่างมั่นคง
-สนใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อมภายนอก (คือรู้เขา รู้เรา)
-ชื่อเรียกผู้บริหารระดับสูงได้แก่ Chief Executive Officer (CEO) หรือ/และ
Chief Operating Officer (COO) ประธานบริษัท และ รองประธานบริษัท


การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับสูงในบทบาทการจัดการและงาน
-บทบาทที่เปลี่ยนไป โดย จากการจัดสรรทรัพยากรไปสู่ การเป็นผู้นำองค์การ
-ค่านิยมที่สำคัญ คือ สร้างและปลูกจิตสำนึกร่วมกัน โดยไปในทิศทางเดียวกัน
-กิจกรรมหลัก คือ –ภายใต้สภาวะที่ท้าทาย จำเป็นต้องแสวงหาโอกาสและ
การสร้างงาน ที่เป็นมาตรฐาน
-สร้างบรรทัดฐานและค่านิยมที่สนับสนุนให้เกิด
ความร่วมมือและความซื่อสัตย์
-สร้างความปราถนาให้เป้าหมายองค์การไปทิศทางเดียวกัน
ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารยุทธวิธี (Tactical Managers) มีหน้าที่
-อยู่ระหว่างผู้บริหารระดับสูงและระดับล่าง เป็นผู้ประสานงานระหว่างทั้งสอง
-รับผิดชอบเปลี่ยนแปลงเป้าหมายกลยุทธ์ และแผนสู่วัตถุประสงค์ที่เจาะจง
-จัดหา ผู้มีทักษะในการปฎิบัติ และแก้ไขปัญหาเพื่อให้องค์การดำเนินต่อได้
การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับกลางในบทบาทการจัดการและงาน
-บทบาทที่เปลี่ยนไป โดยเปลี่ยนจากผู้ควบคุมการจัดการไปสู่ผู้ให้คำแนะนำ -ค่านิยมที่สำคัญ คือ ให้การสนับสนุนและประสานงานเพื่อประโยชน์ต่อองค์การ
-กิจกรรมหลัก คือ -พัฒนาบุคคลและสนับสนุนกิจกรรมของบุคลากร
-เชื่อมโยงให้เกิดการกระจายความรู้ ทักษะวิธิปฎิบัติให้ดีที่สุด
-จัดการการปฎิบัติงานในระยะสั้นให้ส่งผลสำเร็จในระยะยาว

ผู้บริหารระดับปฎิบัติการ (First Line Managers หรือ Operational Managers ) มีหน้าที่
-คอยดูแลการปฎิบัติงานของพนักงานในองค์การ
-เพิ่มพูนวิธีการใหม่ๆ (innovation) และพยายามสร้างบุคลากรให้เป็นผู้บริหาร
-ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีทั้ง กลยุทธ์ กลวิธี
การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับปฎิบัติการในบทบาทการจัดการและงาน
-บทบาทที่เปลี่ยนไป โดยเปลี่ยนจากผู้ปฎิบัติสู่ผู้บริหารที่กระตือรือร้น
-ค่านิยมที่สำคัญ คือ เน้นผลงานที่เพิ่มผลผลิต การสร้างนวัตกรรม ความเจริญ
-กิจกรรมหลัก คือ -สร้างสรรค์และแสวงหาโอกาสใหม่ๆ
-จูงใจและพัฒนาด้านทรัพยากร ศักยภาพ (Competencies)
-ปรับปรุงการปฎิบัติงานในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง

0 Responses to "การวิเคราะห์กรณีศึกษา มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน ดังนี้":

บทความที่ได้รับความนิยม