- ผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีความสามารถ และ โอกาสในการใช้เครื่องมือสื่อสารที่ต่างกัน ตลอดจนมีทัศนคติต่อตัวสาร เครื่องมือ และคน ที่ต่างกัน
- สื่อกลาง (medium) ที่ใช้สร้างและจัดเก็บ ตัวสาร(Message Content) มี 3 รูปแบบ คือ
(1) Material เป็นวัตถุที่จับต้องได้ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ เอกสาร สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ที่พิมพ์ลงวัสดุแผ่น เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะ แท่งหิน ไม้ ละอองน้ำ
(2) Analog เป็นสัญญาณไฟฟ้า มี 4 ชนิด คือ คลื่นเสียง (sound wave) คลื่นแสง (light wave) คลื่นวิทยุ (radio wave) และคลื่นแม่เหล็ก (magnetic wave) ตัวสารที่ถูกสร้างด้วยสื่อกลางประเภทนี้อาจใช้สัญญาณไฟฟ้าเป็นสื่อกลางมากกว่า 1 ชนิด เช่น รายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ที่ถ่ายทอดออกมา (Output, Display) ด้วยภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน ส่วนการจัดเก็บนั้น ทางด้านกายภาพมักนิยมเก็บด้วยวิธี record หมายถึง การเข้ารหัสทางไฟฟ้า แล้วเก็บ (back up) รหัสไว้ใน แถบเส้น (tape), แผ่น (แผ่นเสียง) ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ ก็ใช้บัตรเจาะรูเตรียมรอเอาไปถอดรหัสเพื่อแสดงผลต่อไป กลไกการทำงานใช้ระบบเครื่องกล (Mechanic) ในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ
ปัจจุบันระบบอนาล็อก ยังมีใช้อยู่ เพราะเหตุว่าอุปกรณ์ที่เป็นตัวเข้ารหัสและถอดรหัส (เครื่องบันทึก Recorder, เครื่องอ่าน Player) ยังถูกใช้อยู่ ดังนั้น อุปกรณ์ที่ back up รหัสต่าง ๆ ไว้ จึงยังจำเป็นต้องนำไปใช้เช่นเดียวกัน แต่ปัจจุบันกำลังเป็นอุปกรณ์ตกยุค หรือล้าสมัยไปแล้วเพราะมีอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเข้ามาทำหน้าที่แทน ในราคาที่ถูกลง และประสิทธิภาพสูง
(3) Digital Signal เป็นสัญญาณไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่ถูกควบคุมด้วยสัญลักษณ์คำสั่งที่มาจากการเข้ารหัสและถอดรหัสแบบเลขฐานสอง ข้อดีคือ มีความเที่ยงตรงสูง เหมาะสำหรับใช้คัดลอกได้หลายสำเนา โดยข้อมูลไม่ผิดพลาด เพราะการอ่านและเขียนรหัส
มีความเที่ยงตรงสูง
ปัจจุบัน สื่อ Digital ได้รับการพัฒนาไปมาก สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก แต่ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยลง โดยการใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูล สื่อกลางที่ใช้เก็บรหัส Digital ได้แก่อุปกรณ์ Fix Disc หรือ Hard Disc, Compact Disc (VCD, CD, DVD), Chip หรือ Card ที่สามารถจัดเก็บรหัส Digital ได้ โดยมีขนาดความจุที่ใช้จัดเก็บ มีหน่วยเป็นเมกะไบต์ (MB) หรือ จิกะไบต์ (GB)
ด้วยประสิทธิภาพของระบบดิจิตอล ทำให้ข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ (Master หรือ Original Source) กับ ฉบับสำเนา (Copied Target) มีคุณภาพไม่ต่างกันเลย ทำให้การคัดลอกข้อมูลทำได้แม่นยำ และรวดเร็ว การส่งสารและการรับสาร ในอนาคตจะใช้ระบบดิจิตอลเกือบทั้งหมด
- ช่องทาง (Channel) ที่ใช้ส่งสาร และรับสาร มีทางเลือกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้าน สื่อ (Media) หรือ เทคโนโลยีเอกสาร สิ่งพิมพ์ ผลิตด้วยสื่อกระดาษ เข้าเล่ม จัดส่ง ยังคงพึ่งพาไปรษณีย์ ภาพและเสียง บันทึกเก็บในแผ่น compact disc แล้วส่ง หรือ บันทึกแล้วส่ง (ถ่ายทอดสด) ใช้บริการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เป็นช่องทาง ภาพยนตร์ยังคงใช้ฟิล์มและฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ก็ตอบสนองคนดูได้หลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น ในการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะถูกจัดเก็บในรูปของแฟ้มข้อมูล (File) ก่อน ส่วนการส่งและรับข้อมูล จะอาศัยช่องทางของเครือข่าย LAN, WAN, Intranet, Internet โดยมีเงื่อนไขของการเข้ารหัสและถอดรหัสเพิ่มเติมเข้ามา
ปัจจุบัน สื่อระบบดิจิตอลเข้ามามีบทบาทในการยกระดับความสามารถและประเสิทธิของอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณ และเครื่องรับสัญญาณ ทำให้ความหมายของการสื่อสารมวลชน และสื่อมวลชน มีการตีความให้ครอบคลุมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
เช่น การส่งข้อมูล การรับข้อมูล ผ่านโทรศัพท์ติดตามตัว การเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต การสนทนาหรือประชุมผ่านอุปกรณ์ทางไกล (Teleconference) เหล่านี้แม้จะยังไม่เป็นข้อยุติว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารมวลชนหรือไม่ แต่ก็มีเรื่องของ เวลา โอกาส สถานที่ความรวดเร็ว มาเป็นเงื่อนไขในการวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อให้เป็นข้อมูลในการตัดสิน หรือตกลงใจในการตีความ
- ข้อมูลย้อนกลับ (feed back) ในกระบวนการสื่อสาร ได้รับการตอบสนองสูงขึ้น ด้วยอัตราความเร็ว จำนวนครั้ง ความถี่ ทำให้ประสิทธิภาพในการประเมินผลของการสื่อสาร เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และได้รับการตอบสนองที่ดี ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญที่จะนำระบบการสื่อสารไปประยุกต์ในธุรกิจของตน เพื่อการแข่งขัน
การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management
-
*การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 Responses to "ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสาร ทำให้ความหมายของการสื่อสารเปลี่ยนไป ด้วยสาเหตุต่อไปนี้":
แสดงความคิดเห็น