การสื่อสารภายในบุคคล หรือ การสื่อสารกับตนเอง (Intrapersonal Communication) เป็นกิจกรรมทางการสื่อสารอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการสื่อสารกับตัวเอง กล่าวอย่างสั้นๆ เมื่อคนคิดหรือพูดกับตัวเอง การที่คนพูดกับคนอื่นอย่างไรคนก็อาจพูดกับตัวเองได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างของการสื่อสารกับตัวเองก็คือการที่เราหยุดหรือการยับยั้งการกระทำหรือหยุดความคิดบางอย่าง การวิเคราะห์ตัวเอง การวางแผน การคิดเลือกการกระทำที่มีอยู่หลายทางเลือก การเตือนตนเองและการคิดริเริ่มงานบางอย่าง ในแต่ละวันที่คนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการสื่อสารรอบๆตัวเอง ในสถานที่ต่างๆ กิจกรรมและการสื่อสารนั้นๆ ก็จะวนเวียนอยู่ในความคิดของคนเรา เมื่อกลับไปที่บ้านของเรา เป็นต้น การที่มีการสื่อสารกับตนเองไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะตัวเองก็มีความคิดมีอารมณ์ที่จะแสดงออกได้ ตามความเป็นจริงนั้นการสื่อสารกับตัวเองจะเกิดขึ้นก่อนการสื่อสาร ในประเภทอื่นๆ
1. การสื่อสารภายในบุคคล (intra communication) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. การสื่อสารภายใต้จิตสำนึก เป็นการประมวลประสบการณ์ที่ได้รับทางอวัย เป็นพฤติกรรมรอยต่อระหว่างจุดเชื่อมต่อภายใน (อายตนะภายใน) และ จุดเชื่อมต่อภายนอก (อายตนะภายนอก) จุดเชื่อมต่อภายในได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้ม กาย ใจ จุดเชื่อมต่อภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ การรับรู้ไม่ว่าระดับขั้นใด ๆ ย่อมสั่งสมลงในจิตวิญญาณ (ความจำได้หมายรู้) นั่นคือมีการสื่อสารเกิดขึ้นตลอดเวลาโดยบุคคลไม่รู้ตัว นั่นคือเกิดการเรียนรู้ เลียนแบบ จากสื่อที่พบเห็นอยู่ตลอดเวลา ตราบเท่าที่อวัยวะและสติสัมปชัญญะมนุษย์โดยปกติ คนบ้าก็มีการสื่อสาร แต่ไม่สามารถอธิบายบอกผู้อื่นได้ เนื่องจาก ขาดสติสัมปชัญญะ ขาดการใช้สัญลักษณ์ หรือบุคคลที่มีจิตภาพผิดปกติเพศ เช่น พวกบัณเฑาะว์ (กระเทย ทอมดี้ตุ๊ด) ประสิทธิภาพในการรับรู้จะเบี่ยงเบนไปตามอารมณ์ และทัศนคติที่ยึดมั่นของตน โดยที่ตนเองไม่รู้ตัว (คนบ้า จะไม่ยอมรับว่าตัวเองบ้า หรือคนที่ยอมรับว่าตนเองบ้า แต่ไม่แก้ไข คือคนดื้อ หรือ ปทปรมะ) หรือไม่ยอมรับในความผิดปกติเพศ
การสื่อสารภายใต้จิตสำนึก เป็นเรื่องของการสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณ น่าจะเป็นแขนงวิชาหนึ่งที่มีการศึกษาค้นคว้าต่อไป (การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสุขภาวะจิตวิญญาณ : Used Emotion Health Communication) โดยเฉพาะกันคนในเอเชีย ซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างจากตะวันตก เพราะวิทยาการทางจิตที่ให้คนในเอเรียนแทนที่จะเป็นนักวิชาการตะวันออก กลับเป็นนักวิชาการตะวันตก
2. การสื่อสารโดยสติสัมปชัญญะ หมายถึงการสื่อสารแบบลืมตาเห็น ๆ โดยปกติวิสัยประจำวันของมนุษย์ ที่เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอน จัดเป็นการสื่อสารโดยสติสัมปชัญญะ แต่ถ้าสติสัมปชัญญะถูกทำลาย ณ ช่วงเวลาใด ๆ ช่วงเวลานั้นก็จะเกิดอุปสรรคในการสื่อสาร แต่ยังคงมีการสื่อสารภายใต้จิตสำนึกอยู่
การสื่อสารภายใน เป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยบุคคลคนเดียวกัน โดยอาศัยปัจจัยภายนอกเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล
การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อที่จำเป็นต้องใช้สื่อกลาง (midium) มาเป็นพาหะ เพราะผู้ส่งสารกับผู้รับสาร มีปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา คือ
1. สถานที่ (place) ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจมองไม่เห็นหน้ากัน อยู่คนละที่ แต่ก็สื่อสารกันได้
2. ตำแหน่ง (position) ผู้ส่งสาร กับผู้รับสาร มีสถานภาพทางหน้าที่การงาน อาชีพ เชื้อชาติ ความเชื่อถือ แต่ต้องการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งอาจมีอุปสรรคในเรื่องของการใช้ภาษา เวลาที่จะพูดคุยสนทนากัน จำเป็นต้องมีสื่อกลางมาเป็นสื่อพาสารไป
3. เวลา (time) ทั้ง ระยะเวลา (clock หรือ นาฬิกา) จำนวนเวลา (นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี) และครั้ง (times) เนื่องจากทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ไม่สามารถหาเวลาในเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ตรงกัน จึงจำเป็นต้องมีสื่อกลางในการพาสารไป
4. โอกาส (opportunity) หมายถึง โอกาสที่อยู่ต่อหน้า หรือโอกาสในการส่งสาร โอกาสในการรับสาร ซึ่งบางครั้งสารได้ถูกกำหนดพร้อมที่จะส่ง แต่ไม่มีโอกาส หรือโอกาสไม่เหมาะสม ก็ต้องมีการสำรองสารนั้นไว้ เพื่อรอโอกาสที่เหมาะสม นี่ก็ต้องใช้สื่อกลางเช่นกัน
5. ระดับความสามารถในการใช้หรือเข้าถึงสื่ออุปกรณ์ เป็นความสามารถส่วนบุคคล ทั้งของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ดังนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือมาช่วย connect ให้เกิดการสื่อสารครบกระบวนการ
6. ทัศนคติ ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีทัศนคติที่ต่างกัน ย่อมมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมในการรับสารต่างกัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีสื่อกลางมาคอยช่วยลดทอนความต่างของทัศนคติดังกล่าวด้วย
7. อารมณ์ เป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่ทำให้เกิด noise (สิ่งรบกวนในการรับ-ส่งสาร) หรือเป็นตัวเสริม boot ให้เกิดพลังหรือประสิทธิภาพในการส่ง-รับสาร กล่าวคือ อารมณ์ดี มี emotion สูง ก็มีความสามารถในการข่าวสารได้ดีกว่าช่วงที่มีอารมณ์ขุ่นมัวเป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีสื่อมาเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้
การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีความหมายกว้างขวางมาก แต่ก็สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. การสื่อสารมวลชน (mass communication)
2. การประชาสัมพันธ์ (public relations) คือการส่งข้อมูล ข่าวสาร hard mass ที่ระบุรายการสำคัญลงไปด้วย แต่ไม่ลงในรายละเอียดมากนัก มักไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางในการเผยแพร่ มักเป็นเครื่องของความร่วมมือ หรือแจ้งวัตถุประสงค์ เหตุการณ์ไปยังผู้รับ
3. การโฆษณา (advertising) คือ การส่งสารที่ผ่านการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี โดยที่สารที่จะส่งนั้น จะบอกสาระสำคัญที่ต้องการโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การโฆษณา มีระยะเวลาจำกัดกว่าการประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่าการประชาสัมพันธ์
4. การสื่อสารภายในองค์กร คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลภายในองค์การในทุก ๆ รูปแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ เรื่องส่วนตัวของบุคคลที่เกี่ยวกับกับการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานขององค์การดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
เป็นการสื่อที่จัดระเบียบทางความคิด ภาษา ลำดับงาน ตำแหน่ง แบบแผนในการสั่งการ เพื่อให้การสื่อสารมีผลต่อการดำเนินงานขององค์กร ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามแผนงานที่ตั้งไว้
สัดส่วนที่ต้องมีการบริหาร และวิเคราะห์เป็นพื้นฐานคือ อัตราส่วนระหว่าง “งาน” กับ “อารมณ” หรือ “ความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในองค์กร” กับ “ปริมาณงาน” งานจะดีมีคุณภาพ ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความสัมพันธ์ความเข้าใจที่ดีต่อกันของสมาชิกในองค์กร ดังนั้น จะทำอย่างไร ที่จะสร้างอัตราส่วนที่พอเหมาะ เพราะถ้างานมากเกิน อารมณ์ก็เสีย ขาดมิตรภาพที่ดี แต่ถ้ารัก และสร้างกิจกรรมสัมพันธ์มากเกินไปหรือละเลยระบบระเบียบปฏิบัติ ปล่อยให้สบาย ๆ มากเกินไป งานก็เสีย
ประเด็นการสื่อสารในองค์กร จึงให้ค่าความสำคัญไปที่ “คน” กับ “ระบบ” กล่าวคือ ต้องจัดองค์ประกอบที่ดีให้แก่คน และ ระบบ เพราะเหตุว่า คนดี ย่อมสร้างระบบดี (องค์กรเข้มแข็ง) ระบบที่ดี ย่อมส่งเสริมให้คนดีทำดีง่าย คนชั่ว ทำชั่วได้ยาก องค์กรที่เข้มแข็ง พนักงานก็ขมักเขม้นเอาภาระดี ส่วนคนเลวย่อมสร้างระบบเลว (องค์กรไร้ประสิทธิภาพ) ระบบเลว ย่อมส่งเสริมให้คนเลว ทำเลวได้ง่าย ขณะเดียวกันก็จะกีดกันให้คนดี ทำดียาก นั่นหมายถึงว่า ผู้บริหารองค์กรเป็นผู้ลำเอียง จะบริหารองค์กรล้มเหลว กิจการพลังทลายได้ง่าย เพราะจะเกิดกลุ่มผลประโยชน์ และการช่วงเชิง แบ่งพรรคพวก ส่งผลให้ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกดีบางกลุ่ม ไม่ดีบางกลุ่ม งานที่ได้ด้อยคุณภาพ
5. การสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นการสื่อสารระหว่างความแตกต่างทั้งด้านสถานที่ ภาษา เชื้อชาติ วัฒนธรรม พิธีการ (protocal) ทัศนคติ การสื่อสารระหว่างประเทศ จะมีเรื่องของการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ เข้ามาเกี่ยวข้อง การกำหนดสาร วาระของสารจึงต้องผ่านการวิเคราะห์มาเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งส่งสารและผู้รับสาร ตลอดจน เครื่องมืออุปกรณ์ ต้องมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงพอที่จะไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารกัน
6. การใช้กลยุทธ์การรณรงค์ (strategic campaign) คือการสื่อสารที่ผ่านการวิเคราะห์ก่อนลงมือ กล่าวคือ ต้องมีการวิเคราะห์ผู้รับสาร (audience analysis) วิเคราะห์ตัวสาร (message analysis) แล้วจึงสร้างสาร (message design) ตามที่ต้องการ โดยมีปัจจัยและเงื่อนไขของ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ ระยะเวลา เป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินการ
7. การกำหนดวาระสาร (agenda setting) เป็นการสื่อระหว่างบุคคลประเภทหนึ่ง ที่เฉพาะเจาะจง โดยนำทฤษฎีการจัดลำดับสารมาประยุกต์ใช้ โดยเชื่อว่าสื่อยังคงมีอิทธิพลต่อผุ้รับสารสูงกว่า หมายถึงกระบวนการที่สื่อมวลชนเป็นผู้จัดลำกับความสำคัญของข่าวสารแล้วนำเสนอไปยังผู้รับสาร (rogers & dearing)
การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management
-
*การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 Responses to "การสื่อสารภายในบุคคล หรือ การสื่อสารกับตนเอง":
แสดงความคิดเห็น