การเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของบุคลากรมีแนวคิดพื้นฐานจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลไกของการจูงใจด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และบุคคลรวมกันเป็นหมู่คณะเป็นองค์การ (Haksever. et. Al. 200:226) นอกจากนี้บุคคลยังมีความต้องการพัฒนาศักยภาพ ปัญญา ทักษะความสามารถในการทำงานทุกด้าน รวมถึงความสัมพันธ์ และต้องการตอบสนองในการสร้างสรรค์การทำงานที่เกิดประโยชน์ (Sergiovenni & Starratt. 1998: 5) ซึ่งเท่ากับว่าบุคคลต่างต้องการเป็นผู้มีพลังอำนาจในการทำงาน
แนวคิดของการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงาน คือกระบวนการจัดกระทำหรือการให้การสนับสนุนในสิ่งที่เป็นปัจจัยเหตุ สภาวการณ์ วิธีการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาเสริมสร้างพลังอำนาจที่มีในครูและบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น และนำพลังอำนาจดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานตามบทบาทภารหน้าที่ ซึ่งเหตุปัจจัย สภาวการณ์ และวิธีการที่ช่วยเสริมพลังอำนาจการทำงานของครูและบุคลากรมาจากหลักความเป็นประชาธิปไตย หลักการการประจายอำนาจ หลักความสามารถ หลักความเป็นผู้เชี่ยวชาญ และหลักการปฏิรูป (สมชาย บุญศิริเภสัช. 2545: 24)
ทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงาน
การเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นกระบวนการของการปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยเหตุต่าง ๆ ที่บุคคลค้นพบ และพัฒนาพลังอำนาจที่จะใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง และสังคม การเสริมสร้างพลังอำนาจ เป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์ ความต้องการในการควบคุมตนเอง เป็นกระบวนการที่ต้องมีการตัดสินใจ กำหนดตนเอง และลงมือปฏิบัติของบุคลากรทุกคน ทุกฝ่าย (Gutierrez. Parsons & Cox. 1998: 6)
ทฤษฎีที่สัมพันธ์กับพลังอำนาจในการทำงานได้แก่
1. ความต้องการของมนุษย์ตามทฤษฎีของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of needs) ที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลมีต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต ต้องการปัจจัยทางร่างกาย อาหาร ที่อยู่อาศัย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน หน้าที่การงาน ต้องการความรักและการยอมรับจากผู้อื่น ต้องการฐานะทางสังคม และเกียรติศักดิ์ศรี ต้องการบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิต (สุดา ทัพสุวรรณ. 2541: 32-33)
2. ทฤษฎีการควบคุมตนเอง (self - control theory) กล่าวถึงคุณลักษณะที่ปรากฏอันเนื่องมาจากพลังภายในที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ กำหนดการกระทำที่มีผลต่อการทำงาน และการใช้เหตุผลเพื่อปฏิบัติงาน การกระทำที่แสดงว่าบุคคลสามารถควบคุมตนเองได้ เช่น กำหนดวิถีชีวิตและพฤติกรรมของตนเอง ตัดสินใจกระทำการใด ๆ อย่างมีเหตุผล สามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่มีอยู่ในตัวเอง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความอดทนและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และวิกฤติต่าง ๆ (Kerr & Kramer.. 1996: 184) ความสามารถในการควบคุมตนเองจึงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงาน
3. กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของปราวัต (Prawat. 1991: 748-749) ได้แก่การให้อิสระในการควบคุมการทำงานของตนเอง มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น มีทางเลือกในการปฏิบัติงาน มีโอกาสแสดงความเชี่ยวชาญในการทำงาน มีการประเมินการทำงานของตนเอง และมีทรัพยากรสนับสนุน ในขณะที่ โกนส์และโคลเวอร์ (Goens & Clover. 1991: 234-235) มีความเห็นในทำนองเดียวกันว่าควรเปิดโอกาสให้ครูมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ให้ครูมีโอกาสในการทำงานตามความรู้ ความสามารถและทักษะ การเสริมสร้างอำนาจด้วยการให้ความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการจะช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสมในภาวการณ์นั้น ๆ ดังนั้นกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานต้องมีความสมบูรณ์และความพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ เพราะการดูแลการปฏิบัติงานของครุและบุคลากรไม่สามารถทำได้ตลอดเวลา ครูและบุคลากรจึงควรแสดงความรับผิดชอบ พร้อมรับการตรวจสอบผลการตัดสินใจในการกระทำที่คิดว่าดีที่สุดตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากองค์การและสังคม (Sergiovanni & Starrett. . 1998:137)
4. กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของแคนโพล (Kanpol. 1999: 52) ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
4.1. การให้ครูมีอำนาจหน้าที่ มีอำนาจในการตัดสินใจ
4.2 การให้ครูมีอิสระ ควบคุมการทำงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญ
4.3 การให้ความรู้เกี่ยวกับเพศ เชื้อชาติ ชนชั้น วัฒนธรรมเพื่อให้ครูปรับปรุงหลักสูตร การเรียนให้สอดคล้องกับผู้เรียน
4.4 การให้สิทธิ์ครูแสดงความคิดเห็นที่สะท้อนภาพจริงในการทำงาน
4.5 การให้ครูประเมินตนเอง
5. เคลคเคอร์ และโลดแมน (Klecker & Loadman. 1996:10) เสนอแนะให้ศึกษาพลังอำนาจในการทำงานของครูจากพฤติกรรมความสามารถดังต่อไปนี้
5.1ความสามารถในการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ครูใหม่เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะ ความสามารถในการทำงาน
5.2 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความมั่นคงในสถานภาพความเป็นมืออาชีพ
5.3 ความรู้ในวิชาชีพครู ทั้งความรู้และทักษะในเนื้อหาวิชาและการปฏิบัติ
5.4 ความสามารถในการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและงานในสถานศึกษา
กล่าวโดยสรุปปัจจัยพื้นฐานในการทำงานของครูในการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานได้แก่
1. บุคลิกภาพของครูและบุคลากร เช่นความตระหนักในภาระหน้าที่ มีเป้าหมายในการทำงาน ความเคารพ เชื่อถือ ไว้วางใจในเพื่อร่วมงาน การบริหารจัดการตนเองและคุณธรรมในการทำงาน
2. บุคลากรมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
3. ผู้บริหารเข้าใจในบทบาทหน้าที่ มีภาวะผู้นำ สามารถสนับสนุนปัจจัยและประสาน การทำงานร่วมมือร่วมใจกันทุกฝ่าย
4. โครงสร้างการทำงานภายในองค์การมีความสัมพันธ์กัน มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
5. เครือข่าย ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากรการทำงาน
กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานได้แก่
6. การมีอิสระในการตัดสินใจ มีโอกาสแสดงความรู้ ทักษะ ความสามารถในการทำงาน
7. การมีส่วนร่วมในการต้ดสินใจและรับผิดชอบในการทำงาน
8. การแสดงภาวะผู้นำในการทำงาน
9. การเรียนรู้และพัฒนาความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญในนวัตกรรม เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการทำงาน
10. การตรวจสอบประเมินการทำงานด้วตนเองและพร้อมรับการตรวจสอบ
พลังอำนาจการทำงานที่มีผลต่อความคิด พฤติกรรมการทำงานของบุคลากรได้แก่
11. ทำให้มีผลการทำงานเป็นที่ยอมรับ
12. ทำให้บุคคลมีความเพียรในการทำงาน
13. บุคลากรมีความเชี่ยวชาญในการทำงาน
แนวคิดและทฤษฎี หลักการและเป้าหมายของการเสริมสร้งพลังอำนาจในการทำงาน
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
แรงกระตุ้นในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ประกอบขึ้นจากแรงกระตุ้น 2 ด้าน คือ แรงกระตุ้นจากภายใน และแรงกระตุ้นจากภายนอก เราจะใช้แรงกระตุ้นทั้ง 2 ด้านอย่างไร เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
แรงกระตุ้นภายใน internal inspiration
1. การตั้งเป้าหมายในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อกำหนดอนาคตและความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
2. ความท้าทาย (challenge) เป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้จะกลายเป็นความท้าทายที่ทำให้เราก้าวไปจนประสบความสำเร็จ แต่ที่สำคัญเป้าหมายจะต้องไม่ไกลเกินตัว เพราะจะกลายเป็นความเพ้อฝันไม่มีวันจบสิ้น
3. ความมั่นใจ (confident) เราต้องมั่นใจในตัวเอง มั่นใจในความสามารถ ความพยายาม ความพากเพียรและความอดทน ซึ่งจะนำมาสู่ความสำเร็จได้
4. คำมั่นสัญญา (commitment) เราต้องมีคำมั่นสัญญากับตัวเราในการที่จะทำให้เป้าหมายที่วางเอาไว้ประสบความสำเร็จให้ได้ คำมั่นสัญญานี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เราสร้างวินัยในตัวเอง เพื่อความสำเร็จที่ตั้งเอาไว้
อาจจะสรุปได้ว่า เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน มิใช่การทำงานแบบวันต่อวัน เพื่อสร้างแรงจูงใจที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
แรงกระตุ้นภายนอก external inspiration
1. สถานที่ทำงาน บรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
2. เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร
3. กฎ กติกา ระเบียบ และการลงโทษ
4. การให้คำชมเชย หรือของรางวัลในความสำเร็จ
5. คำตำหนิ หรือการสอนสั่งต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เราประสบความสำเร็จ
6. สิทธิ ผลประโยชน์ รายได้ หรือสวัสดิการต่าง ๆ ที่พอเหมาะพอเพียง (การทำงานไม่จำเป็นที่เราต้องหวังผลตอบแทนจนเกินตัว)
แรงกระตุ้นจากภายนอกเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ให้เราพยายามมองให้มุมบวกให้มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข
เคยสังเกตตัวเราเองหรือคนอื่นหรือป่าวว่า เมื่อเราเริ่มเข้ามาทำงานใหม่ไม่ว่าจะเป็นห้างร้าน โรงงาน บริษัท หน่วยงาน หรือองค์กรทั้งภาครัฐ หรือเอกชนใหม่ ๆ ทุกคนจะมีไฟในการทำงานอยากก้าวหน้าในหน้าที่การงาน อยากเรียนรู้ว่างานแต่ละงานนั้นเป็นอย่างไร อยากรู้จักกับคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายงานซึ่งทำให้เกิดไฟในการทำงานเป็นอย่างมาก
แต่เมื่อเราทำงานไปซักพัก ความกระตือรือร้นในการทำงานจะเริ่มลดลง เนื่องจากได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเองหมดแล้ว เช่น รู้ว่าตัวเองมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไร เวลาไหนต้องทำงานอะไรบ้าง มีเพื่อน มีคนรัก มีสังคม มีกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น ทำงานหนัก หักโหม ล่วงเวลา โดนใช้งานในส่วนที่ไม่ใช้งานหลักของตนเอง ไม่มีความท้าทาย งานที่ทำแต่แบบเดิม ๆ งานที่ทำดูเหมือนไม่มีความก้าวหน้าในตำแหน่งงานที่ทำ เงินเดือนน้อย จะขึ้นก็ขึ้นน้อย เครื่องมืออุปกรณ์ไม่เพียงพอ ลูกน้อง ผู้ร่วมงาน เจ้านาย หัวหน้างาน มีปัญหา ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของตนเอง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้ความรู้สึกที่ดีต่องาน เริ่มลดลง จนคิดแต่ว่า ทำงานประจำให้เสร็จไปวัน ๆ หรือให้ผ่าน ๆ ไป ซึ่งความรู้สึกอย่างที่กล่าวมาแสดงว่าเริ่มหมดไฟในการทำงานแล้ว
หากต้องการสร้างให้เกิดไฟในการทำงาน ต้องเพิ่มเชื้อฟืนเข้าไปให้มากขึ้น นั่นหมายถึง หากตัวเองเริ่มหมดไฟ ต้องหางานอะไรใหม่ ๆ ทำ เพื่อให้เกิดความตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยการหาจุดบกพร่องของงานที่เราทำแต่ละจุด แล้วหาทางกำจัดและพัฒนาจุดบกพร่องเหล่านั้น ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หาความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งเกิดจากการสร้างแรงจูงใจ
ซึ่งเชื่อได้ว่าหากคุณต้องการเพิ่มไฟในการทำงานให้กับตัวคุณ คุณต้องหาเชื้อไฟที่จะทำให้คุณต้องใช้ความคิด ต้องใช้การเรียนรู้ หรือหางานใหม่ ๆ ทำเพื่อสร้างให้คุณมีใจในการทำงานมากขึ้น และ สร้างสภาพแวดล้อมของคุณให้เหมาะสมกับการทำงาน ลดความขัดแย้ง และ สร้างให้ความคิดมุ่งอยู่กับการทำงาน จะทำให้ไฟที่คุณได้จุดขึ้นกับการทำงานใด ๆ นั้น สามารถอยู่ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือจนกว่าจะงานเสร็จสิ้นแล้ว ก็ต้องวกกลับไปหาเชื้อไฟใหม่ ๆ ซึ่งมันก็จะกลายเป็น วัฏจักรในการสร้างสรรค์งาน เมื่อทำอย่างนี้ ผลงานก็จะเกิดขึ้น มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานรวมไปถึงผลตอบแทนที่มากขึ้นตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการสื่อสาร ทำให้ความหมายของการสื่อสารเปลี่ยนไป ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
- ผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีความสามารถ และ โอกาสในการใช้เครื่องมือสื่อสารที่ต่างกัน ตลอดจนมีทัศนคติต่อตัวสาร เครื่องมือ และคน ที่ต่างกัน
- สื่อกลาง (medium) ที่ใช้สร้างและจัดเก็บ ตัวสาร(Message Content) มี 3 รูปแบบ คือ
(1) Material เป็นวัตถุที่จับต้องได้ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ เอกสาร สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ที่พิมพ์ลงวัสดุแผ่น เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะ แท่งหิน ไม้ ละอองน้ำ
(2) Analog เป็นสัญญาณไฟฟ้า มี 4 ชนิด คือ คลื่นเสียง (sound wave) คลื่นแสง (light wave) คลื่นวิทยุ (radio wave) และคลื่นแม่เหล็ก (magnetic wave) ตัวสารที่ถูกสร้างด้วยสื่อกลางประเภทนี้อาจใช้สัญญาณไฟฟ้าเป็นสื่อกลางมากกว่า 1 ชนิด เช่น รายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ที่ถ่ายทอดออกมา (Output, Display) ด้วยภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน ส่วนการจัดเก็บนั้น ทางด้านกายภาพมักนิยมเก็บด้วยวิธี record หมายถึง การเข้ารหัสทางไฟฟ้า แล้วเก็บ (back up) รหัสไว้ใน แถบเส้น (tape), แผ่น (แผ่นเสียง) ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ ก็ใช้บัตรเจาะรูเตรียมรอเอาไปถอดรหัสเพื่อแสดงผลต่อไป กลไกการทำงานใช้ระบบเครื่องกล (Mechanic) ในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ
ปัจจุบันระบบอนาล็อก ยังมีใช้อยู่ เพราะเหตุว่าอุปกรณ์ที่เป็นตัวเข้ารหัสและถอดรหัส (เครื่องบันทึก Recorder, เครื่องอ่าน Player) ยังถูกใช้อยู่ ดังนั้น อุปกรณ์ที่ back up รหัสต่าง ๆ ไว้ จึงยังจำเป็นต้องนำไปใช้เช่นเดียวกัน แต่ปัจจุบันกำลังเป็นอุปกรณ์ตกยุค หรือล้าสมัยไปแล้วเพราะมีอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเข้ามาทำหน้าที่แทน ในราคาที่ถูกลง และประสิทธิภาพสูง
(3) Digital Signal เป็นสัญญาณไฟฟ้าชนิดหนึ่ง แต่ถูกควบคุมด้วยสัญลักษณ์คำสั่งที่มาจากการเข้ารหัสและถอดรหัสแบบเลขฐานสอง ข้อดีคือ มีความเที่ยงตรงสูง เหมาะสำหรับใช้คัดลอกได้หลายสำเนา โดยข้อมูลไม่ผิดพลาด เพราะการอ่านและเขียนรหัส
มีความเที่ยงตรงสูง
ปัจจุบัน สื่อ Digital ได้รับการพัฒนาไปมาก สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก แต่ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยลง โดยการใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูล สื่อกลางที่ใช้เก็บรหัส Digital ได้แก่อุปกรณ์ Fix Disc หรือ Hard Disc, Compact Disc (VCD, CD, DVD), Chip หรือ Card ที่สามารถจัดเก็บรหัส Digital ได้ โดยมีขนาดความจุที่ใช้จัดเก็บ มีหน่วยเป็นเมกะไบต์ (MB) หรือ จิกะไบต์ (GB)
ด้วยประสิทธิภาพของระบบดิจิตอล ทำให้ข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ (Master หรือ Original Source) กับ ฉบับสำเนา (Copied Target) มีคุณภาพไม่ต่างกันเลย ทำให้การคัดลอกข้อมูลทำได้แม่นยำ และรวดเร็ว การส่งสารและการรับสาร ในอนาคตจะใช้ระบบดิจิตอลเกือบทั้งหมด
- ช่องทาง (Channel) ที่ใช้ส่งสาร และรับสาร มีทางเลือกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้าน สื่อ (Media) หรือ เทคโนโลยีเอกสาร สิ่งพิมพ์ ผลิตด้วยสื่อกระดาษ เข้าเล่ม จัดส่ง ยังคงพึ่งพาไปรษณีย์ ภาพและเสียง บันทึกเก็บในแผ่น compact disc แล้วส่ง หรือ บันทึกแล้วส่ง (ถ่ายทอดสด) ใช้บริการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เป็นช่องทาง ภาพยนตร์ยังคงใช้ฟิล์มและฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ก็ตอบสนองคนดูได้หลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น ในการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ จะถูกจัดเก็บในรูปของแฟ้มข้อมูล (File) ก่อน ส่วนการส่งและรับข้อมูล จะอาศัยช่องทางของเครือข่าย LAN, WAN, Intranet, Internet โดยมีเงื่อนไขของการเข้ารหัสและถอดรหัสเพิ่มเติมเข้ามา
ปัจจุบัน สื่อระบบดิจิตอลเข้ามามีบทบาทในการยกระดับความสามารถและประเสิทธิของอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณ และเครื่องรับสัญญาณ ทำให้ความหมายของการสื่อสารมวลชน และสื่อมวลชน มีการตีความให้ครอบคลุมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
เช่น การส่งข้อมูล การรับข้อมูล ผ่านโทรศัพท์ติดตามตัว การเผยแพร่ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต การสนทนาหรือประชุมผ่านอุปกรณ์ทางไกล (Teleconference) เหล่านี้แม้จะยังไม่เป็นข้อยุติว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารมวลชนหรือไม่ แต่ก็มีเรื่องของ เวลา โอกาส สถานที่ความรวดเร็ว มาเป็นเงื่อนไขในการวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อให้เป็นข้อมูลในการตัดสิน หรือตกลงใจในการตีความ
- ข้อมูลย้อนกลับ (feed back) ในกระบวนการสื่อสาร ได้รับการตอบสนองสูงขึ้น ด้วยอัตราความเร็ว จำนวนครั้ง ความถี่ ทำให้ประสิทธิภาพในการประเมินผลของการสื่อสาร เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และได้รับการตอบสนองที่ดี ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญที่จะนำระบบการสื่อสารไปประยุกต์ในธุรกิจของตน เพื่อการแข่งขัน
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
การสื่อสารมวลชน
1. ความหมาย และขอบข่าย
การสื่อสารมวลชน (mass communication) หมายถึง การสื่อสารไปยังคนจำนวนมาก ในเวลาเดียวกัน หรือในเวลาใกล้เคียงกัน
สื่อมวลชน (mass media) หมายถึง ตัวกลางที่หน้าที่เป็นทั้งสื่อ และเป็นช่องทางในการส่งสารไปยังผู้รับ ได้แก่ แผ่นป้ายโฆษณา (build board, cut out) หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือวารสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต
2. องค์ประกอบของการสื่อสารมวลชน
- ผู้ส่งสาร ที่เป็นสื่อมวลชน ประกอบด้วยคุณลักษณะเด่น 3 ประการ คือ
1. เป็นคณะทำงาน ที่มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบ
2. คณะทำงานต้องมีความสามารถในระดับ professional
3. มีงบประมาณในการบริหารจัดการ และค่าดำเนินการที่พอเพียง
- สาร ที่เป็นสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยลักษณะหลัก 3 ประการ คือ
1. หลักสาธารณะ (public surveillance) คือตัวสารต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนรับได้ มิใช่เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องที่แสวงหาผลประโยชน์ หรือเป็นเครื่องมือทำลายคู่ต่อสู้ ดังนั้น สารมวลชน (สื่อมวลชน) ที่ดีจะต้องสอดแทรกด้านจริยธรรม คุณธรรมลงไปด้วย
2. หลักความรวดเร็ว (express) โดยมีเงื่อนไขของเวลา สถานที่ โอกาส ที่ผู้รับสารได้รับสารในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่ต่างสถานที่ และมีโอกาสในการเข้าถึงสารได้รวดเร็ว
3. หลักความสิ้นเปลือง หรือไม่ยั่งยืน (consumption) เพราะอายุของสาร สั้น เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน รายการประจำวันของวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เหล่านี้เปลี่ยนแปลงทุกวัน ทำให้สิ้นเปลือง
- สื่อ ที่เป็นสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ
1. หลักความสามารถและปริมาณ สามารถนำพาสารไปยังผู้รับสารกลุ่มใหญ่ได้
2. หลักความรวดเร็ว มีความรวดเร็วในการนำพาสารเหล่านั้น
3. หลักแห่งเวลาและโอกาส ให้ผู้รับสารที่อยู่ต่างสถานที่ มีโอกาสได้รับสารในเวลาใกล้เคียงกัน
- ผู้รับสาร ที่จัดอยู่ในกลุ่มการสื่อสารมวลชน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นคนกลุ่มใหญ่ ในการรับสารแต่ละเรื่อง
2. มีความแตกต่างที่หลากหลาย ทั้งทางด้านประชากรศาสตร์ (demographic, pychographic) และ วิถีชีวิต (life style)
3. ไม่รู้จักกันมาก่อน (anonymity)
3. ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อสังคม
- ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (social learning theory) เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม และเกิดการเลียนแบบพฤติกรรม เพราะสื่อคือตัวแทนแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น สื่อจึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของคนในสังคม
- ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ผู้รับสารมีความสำคัญกว่าตัวสาร การสื่อสารออกไปต้องมีความชัดเจน พฤติกรรมการเปิดรับสื่ออย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับความพึงพอใจในสื่อ ความพึงพอใจได้แก่ entertain, personal relation, personal identity, การติดตามอ่านข่าว
- ทฤษฎีความหวังจากสื่อ กล่าวว่า ผู้รับสารมีพฤติกรรมในการรับสื่อเฉพาะที่ตนสนใจ หรือเกิดแรงจูงใจ (motivation) และความคาดหวัง ดังนั้น แรงจูงใจ นำไปสู่การคาดคะเนที่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดรับสื่อ และเกิดพฤติกรรมเปิดรับสื่อ
4. mass media content
- สิ่งพิมพ์ (press) ได้แก่
1. หนังสือพิมพ์ มีลักษณะ วาระการเผยแพร่ออกถี่ มีอิทธิพลต่อประชาชนสูง (ในฐานะเป็นตัวแทนแห่งการเรียนรู้ agent of socialization) จำนวนผู้อ่านมากกว่าวารสาร ไม่เย็บเล่ม ราคาถูก ขนาด 21x34 inch. หรือขนาด tabloid
2. นิตยสาร หรือ วารสาร มีลักษณะ วารการเผยแพร่รายปักษ์ รายเดือน รายสองเดือน รายสามเดือน รายสี่เดือน รายหกเดือน รายปี เย็บเล่มสวย คงทน สีมีคุณภาพสดกว่า ราคาแพง อ้างอิงได้ มีความน่าเชื่อถือทางข้อมูล
3. หนังสือเล่ม มีลักษณะทางวิชาการ ออกแบบคงทน ใช้อ้างอิงทางวิชาการ มีวาระการออกไม่แน่นอน นับเป็น
- โทรคมนาคม (communication)
1. วิทยุโทรทัศน์
2. วิทยุกระจายเสียง
- ฟิล์ม หรือ ภาพยนตร์ ลงทุนสูง ใช้ระยะเวลาสร้างนาน เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย เช่น
1. ผู้ประสานงาน AE. (Account Executive)
2. ผู้คิดสร้างสรรค์ CD. (Creative Director)
3. ผู้กำกับศิลป์ AD. (Art Director)
4. ผู้สร้างสรรค์บทโฆษณา (Copywriter)
5. ผู้ควบคุมการผลิต (Producer)
6. ผู้กำกับการแสดง (Director)
7. ผู้ตัดต่อ (Editor)
8. ผู้ถ่ายภาพ (Camera)
9. ผู้กำกับแสง (Lighting)
10. ผู้กำกับเสียง (Sound Engineer)
11. ผู้ช่วยในสาขาต่าง ๆ (Staff)
มีวาระการนำเสนอนาน ต้องใช้สถานที่เฉพาะ (โรงภาพยนตร์) แต่ให้อารมณ์ทางสุนทรียศิลป์สูงกว่าวิทยุโทรทัศน์ หรือสื่ออย่างอื่น เป็นธุรกิจระดับอุตสาหกรรม ปัจจุบันภาพยตร์ได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบอื่น เป็นผสมทางการตลาดไปด้วย คือ ซีดี หรือหนังแผ่น
- ปราศรัย คือการบรรยายปราศรัย เป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน ระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) อาจคนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ แต่ผู้ฟังจำนวนมาก
1. การปราศรัยทางการเมือง
2. การบรรยายทางวิชาการ หรือการปาฐกถา
3. การพูดแบบ นำด้วยสาระ ตามด้วยบันเทิง เช่น talk show โต้วาที ใช้สาระนำตามด้วยบันเทิง
4. การพูดแบบ นำด้วยบันเทิง ตามด้วยสาระ เช่น ละครย่อย ประกอบเกมโชว์
- อินเตอร์เน็ต ราคาถูก แต่ใช้ Hi-tecnology เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้ระยะไกลกว่าสื่อประเภทอื่น รวดเร็ว ปริมาณมาก ครอบคลุมทั้งทางด้านเนื้อหา บุคคล เด่นในเรื่องของ ปฏิสัมพันธ์ (interactive), สถานที่ไม่จำกัด (connectivity) หรือเคลื่อนที่ได้ (mobility), ดัดแปลงข้อมูลได้ (convertibility), ไร้พรหมแดน (globalization) แต่มีอุปสรรค เรื่องเครื่องรับ ที่ต้องใช้เครื่องเฉพาะ คือคอมพิวเตอร์ และอาศัยช่องทางของ กสท. ยังไม่มีอิสระในเรื่อง channel แต่เป็นสื่อที่ควบคุมยาก
1. World Wide Web Server บริการด้านเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร
2. Mail Server บริการด้านรับส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์
3. FTP Server บริการรับส่งข้อมูลข่าวสาร ที่ใช้รูปแบบการรับส่ง (protocal) อันเดียวกัน
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
การสื่อสารภายในบุคคล หรือ การสื่อสารกับตนเอง
การสื่อสารภายในบุคคล หรือ การสื่อสารกับตนเอง (Intrapersonal Communication) เป็นกิจกรรมทางการสื่อสารอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการสื่อสารกับตัวเอง กล่าวอย่างสั้นๆ เมื่อคนคิดหรือพูดกับตัวเอง การที่คนพูดกับคนอื่นอย่างไรคนก็อาจพูดกับตัวเองได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างของการสื่อสารกับตัวเองก็คือการที่เราหยุดหรือการยับยั้งการกระทำหรือหยุดความคิดบางอย่าง การวิเคราะห์ตัวเอง การวางแผน การคิดเลือกการกระทำที่มีอยู่หลายทางเลือก การเตือนตนเองและการคิดริเริ่มงานบางอย่าง ในแต่ละวันที่คนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการสื่อสารรอบๆตัวเอง ในสถานที่ต่างๆ กิจกรรมและการสื่อสารนั้นๆ ก็จะวนเวียนอยู่ในความคิดของคนเรา เมื่อกลับไปที่บ้านของเรา เป็นต้น การที่มีการสื่อสารกับตนเองไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะตัวเองก็มีความคิดมีอารมณ์ที่จะแสดงออกได้ ตามความเป็นจริงนั้นการสื่อสารกับตัวเองจะเกิดขึ้นก่อนการสื่อสาร ในประเภทอื่นๆ
1. การสื่อสารภายในบุคคล (intra communication) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. การสื่อสารภายใต้จิตสำนึก เป็นการประมวลประสบการณ์ที่ได้รับทางอวัย เป็นพฤติกรรมรอยต่อระหว่างจุดเชื่อมต่อภายใน (อายตนะภายใน) และ จุดเชื่อมต่อภายนอก (อายตนะภายนอก) จุดเชื่อมต่อภายในได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้ม กาย ใจ จุดเชื่อมต่อภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ การรับรู้ไม่ว่าระดับขั้นใด ๆ ย่อมสั่งสมลงในจิตวิญญาณ (ความจำได้หมายรู้) นั่นคือมีการสื่อสารเกิดขึ้นตลอดเวลาโดยบุคคลไม่รู้ตัว นั่นคือเกิดการเรียนรู้ เลียนแบบ จากสื่อที่พบเห็นอยู่ตลอดเวลา ตราบเท่าที่อวัยวะและสติสัมปชัญญะมนุษย์โดยปกติ คนบ้าก็มีการสื่อสาร แต่ไม่สามารถอธิบายบอกผู้อื่นได้ เนื่องจาก ขาดสติสัมปชัญญะ ขาดการใช้สัญลักษณ์ หรือบุคคลที่มีจิตภาพผิดปกติเพศ เช่น พวกบัณเฑาะว์ (กระเทย ทอมดี้ตุ๊ด) ประสิทธิภาพในการรับรู้จะเบี่ยงเบนไปตามอารมณ์ และทัศนคติที่ยึดมั่นของตน โดยที่ตนเองไม่รู้ตัว (คนบ้า จะไม่ยอมรับว่าตัวเองบ้า หรือคนที่ยอมรับว่าตนเองบ้า แต่ไม่แก้ไข คือคนดื้อ หรือ ปทปรมะ) หรือไม่ยอมรับในความผิดปกติเพศ
การสื่อสารภายใต้จิตสำนึก เป็นเรื่องของการสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณ น่าจะเป็นแขนงวิชาหนึ่งที่มีการศึกษาค้นคว้าต่อไป (การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสุขภาวะจิตวิญญาณ : Used Emotion Health Communication) โดยเฉพาะกันคนในเอเชีย ซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างจากตะวันตก เพราะวิทยาการทางจิตที่ให้คนในเอเรียนแทนที่จะเป็นนักวิชาการตะวันออก กลับเป็นนักวิชาการตะวันตก
2. การสื่อสารโดยสติสัมปชัญญะ หมายถึงการสื่อสารแบบลืมตาเห็น ๆ โดยปกติวิสัยประจำวันของมนุษย์ ที่เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอน จัดเป็นการสื่อสารโดยสติสัมปชัญญะ แต่ถ้าสติสัมปชัญญะถูกทำลาย ณ ช่วงเวลาใด ๆ ช่วงเวลานั้นก็จะเกิดอุปสรรคในการสื่อสาร แต่ยังคงมีการสื่อสารภายใต้จิตสำนึกอยู่
การสื่อสารภายใน เป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยบุคคลคนเดียวกัน โดยอาศัยปัจจัยภายนอกเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล
การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อที่จำเป็นต้องใช้สื่อกลาง (midium) มาเป็นพาหะ เพราะผู้ส่งสารกับผู้รับสาร มีปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา คือ
1. สถานที่ (place) ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจมองไม่เห็นหน้ากัน อยู่คนละที่ แต่ก็สื่อสารกันได้
2. ตำแหน่ง (position) ผู้ส่งสาร กับผู้รับสาร มีสถานภาพทางหน้าที่การงาน อาชีพ เชื้อชาติ ความเชื่อถือ แต่ต้องการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งอาจมีอุปสรรคในเรื่องของการใช้ภาษา เวลาที่จะพูดคุยสนทนากัน จำเป็นต้องมีสื่อกลางมาเป็นสื่อพาสารไป
3. เวลา (time) ทั้ง ระยะเวลา (clock หรือ นาฬิกา) จำนวนเวลา (นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี) และครั้ง (times) เนื่องจากทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ไม่สามารถหาเวลาในเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ตรงกัน จึงจำเป็นต้องมีสื่อกลางในการพาสารไป
4. โอกาส (opportunity) หมายถึง โอกาสที่อยู่ต่อหน้า หรือโอกาสในการส่งสาร โอกาสในการรับสาร ซึ่งบางครั้งสารได้ถูกกำหนดพร้อมที่จะส่ง แต่ไม่มีโอกาส หรือโอกาสไม่เหมาะสม ก็ต้องมีการสำรองสารนั้นไว้ เพื่อรอโอกาสที่เหมาะสม นี่ก็ต้องใช้สื่อกลางเช่นกัน
5. ระดับความสามารถในการใช้หรือเข้าถึงสื่ออุปกรณ์ เป็นความสามารถส่วนบุคคล ทั้งของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ดังนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือมาช่วย connect ให้เกิดการสื่อสารครบกระบวนการ
6. ทัศนคติ ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีทัศนคติที่ต่างกัน ย่อมมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมในการรับสารต่างกัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีสื่อกลางมาคอยช่วยลดทอนความต่างของทัศนคติดังกล่าวด้วย
7. อารมณ์ เป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่ทำให้เกิด noise (สิ่งรบกวนในการรับ-ส่งสาร) หรือเป็นตัวเสริม boot ให้เกิดพลังหรือประสิทธิภาพในการส่ง-รับสาร กล่าวคือ อารมณ์ดี มี emotion สูง ก็มีความสามารถในการข่าวสารได้ดีกว่าช่วงที่มีอารมณ์ขุ่นมัวเป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีสื่อมาเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้
การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีความหมายกว้างขวางมาก แต่ก็สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. การสื่อสารมวลชน (mass communication)
2. การประชาสัมพันธ์ (public relations) คือการส่งข้อมูล ข่าวสาร hard mass ที่ระบุรายการสำคัญลงไปด้วย แต่ไม่ลงในรายละเอียดมากนัก มักไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางในการเผยแพร่ มักเป็นเครื่องของความร่วมมือ หรือแจ้งวัตถุประสงค์ เหตุการณ์ไปยังผู้รับ
3. การโฆษณา (advertising) คือ การส่งสารที่ผ่านการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี โดยที่สารที่จะส่งนั้น จะบอกสาระสำคัญที่ต้องการโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง การโฆษณา มีระยะเวลาจำกัดกว่าการประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่าการประชาสัมพันธ์
4. การสื่อสารภายในองค์กร คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลภายในองค์การในทุก ๆ รูปแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ เรื่องส่วนตัวของบุคคลที่เกี่ยวกับกับการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานขององค์การดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
เป็นการสื่อที่จัดระเบียบทางความคิด ภาษา ลำดับงาน ตำแหน่ง แบบแผนในการสั่งการ เพื่อให้การสื่อสารมีผลต่อการดำเนินงานขององค์กร ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามแผนงานที่ตั้งไว้
สัดส่วนที่ต้องมีการบริหาร และวิเคราะห์เป็นพื้นฐานคือ อัตราส่วนระหว่าง “งาน” กับ “อารมณ” หรือ “ความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในองค์กร” กับ “ปริมาณงาน” งานจะดีมีคุณภาพ ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความสัมพันธ์ความเข้าใจที่ดีต่อกันของสมาชิกในองค์กร ดังนั้น จะทำอย่างไร ที่จะสร้างอัตราส่วนที่พอเหมาะ เพราะถ้างานมากเกิน อารมณ์ก็เสีย ขาดมิตรภาพที่ดี แต่ถ้ารัก และสร้างกิจกรรมสัมพันธ์มากเกินไปหรือละเลยระบบระเบียบปฏิบัติ ปล่อยให้สบาย ๆ มากเกินไป งานก็เสีย
ประเด็นการสื่อสารในองค์กร จึงให้ค่าความสำคัญไปที่ “คน” กับ “ระบบ” กล่าวคือ ต้องจัดองค์ประกอบที่ดีให้แก่คน และ ระบบ เพราะเหตุว่า คนดี ย่อมสร้างระบบดี (องค์กรเข้มแข็ง) ระบบที่ดี ย่อมส่งเสริมให้คนดีทำดีง่าย คนชั่ว ทำชั่วได้ยาก องค์กรที่เข้มแข็ง พนักงานก็ขมักเขม้นเอาภาระดี ส่วนคนเลวย่อมสร้างระบบเลว (องค์กรไร้ประสิทธิภาพ) ระบบเลว ย่อมส่งเสริมให้คนเลว ทำเลวได้ง่าย ขณะเดียวกันก็จะกีดกันให้คนดี ทำดียาก นั่นหมายถึงว่า ผู้บริหารองค์กรเป็นผู้ลำเอียง จะบริหารองค์กรล้มเหลว กิจการพลังทลายได้ง่าย เพราะจะเกิดกลุ่มผลประโยชน์ และการช่วงเชิง แบ่งพรรคพวก ส่งผลให้ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกดีบางกลุ่ม ไม่ดีบางกลุ่ม งานที่ได้ด้อยคุณภาพ
5. การสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นการสื่อสารระหว่างความแตกต่างทั้งด้านสถานที่ ภาษา เชื้อชาติ วัฒนธรรม พิธีการ (protocal) ทัศนคติ การสื่อสารระหว่างประเทศ จะมีเรื่องของการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ เข้ามาเกี่ยวข้อง การกำหนดสาร วาระของสารจึงต้องผ่านการวิเคราะห์มาเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งส่งสารและผู้รับสาร ตลอดจน เครื่องมืออุปกรณ์ ต้องมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงพอที่จะไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารกัน
6. การใช้กลยุทธ์การรณรงค์ (strategic campaign) คือการสื่อสารที่ผ่านการวิเคราะห์ก่อนลงมือ กล่าวคือ ต้องมีการวิเคราะห์ผู้รับสาร (audience analysis) วิเคราะห์ตัวสาร (message analysis) แล้วจึงสร้างสาร (message design) ตามที่ต้องการ โดยมีปัจจัยและเงื่อนไขของ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ ระยะเวลา เป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินการ
7. การกำหนดวาระสาร (agenda setting) เป็นการสื่อระหว่างบุคคลประเภทหนึ่ง ที่เฉพาะเจาะจง โดยนำทฤษฎีการจัดลำดับสารมาประยุกต์ใช้ โดยเชื่อว่าสื่อยังคงมีอิทธิพลต่อผุ้รับสารสูงกว่า หมายถึงกระบวนการที่สื่อมวลชนเป็นผู้จัดลำกับความสำคัญของข่าวสารแล้วนำเสนอไปยังผู้รับสาร (rogers & dearing)
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
สารสนเทศ (information
สารสนเทศ (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
สารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
ห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) คือ องค์การธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ และจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมี 2 ชนิด คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ตัวย่อ (หสน.)
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคล 2 คนขึ้นไปมาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเป็น"หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด" หมายถึง ถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทุกคนที่เป็นหุ้นส่วน ต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด โดยไม่จำกัดจำนวนและหุ้นส่วนแต่ละคนมีอำนาจในการจัดการกิจการของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด limited partnership
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
(1) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด หมายถึง รับผิดจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนและไม่มีสิทธิ์ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่มีสิทธิที่จะสอบถามการดำเนินกิจการของห้าง ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
(2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง ถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดก่อนและมีสิทธิเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วน ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน
หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มีหน้าที่ ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี ยื่นต่อสำนักบริหารข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
การจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน กิจการที่จะทำ สานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผุ้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมกับ ประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง และให้ หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ปกติการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล /ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ประสงค์จะไปลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนก็สามารถจะลงลายมือชื่อต่อหน้าสามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อเป็นการรับรองลายมือชื่อ ของตนได้ในอีกทางหนึ่ง) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้
- เสียค่าธรรมเนียมโดยนับจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนกล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน เสีย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท กรณีเกิน 3 คน จะเสียค่าธรรมเนียมหุ้นส่วนที่เกินเพิ่มอีกคนละ 200 บาท เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งแล้วจะได้รับหนังสือรับรองและใบสำคัญเป็นหลักฐาน
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Knowles (1975, pp. 14-17) กล่าวถึง การเรียนรู้ด้วยตนเองว่ามีความสำคัญ 4 ประการ คือ 1. บุคคลที่เรียนรู้ด้วยการริเริ่มของตนจะเรียนได...
-
ข้อมูลบริษัท บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนการค้าระหว่าง ฮอนด้ามอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท พี ไทยแลนด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจ...
-
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงมีความสำคัญมากในการกำหนดกลยุทธ์ด้วยเหตุผล 4 ประการคือ ประการแรก สภาพแวดล้อมเป็นทั...
-
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษา...
-
1. องค์กรแบบปฐม (Primary Organization) เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยสมาชิอกขององค์กรมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันดี และรูปแบบของความสัมพั...