Custom Search

ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ จี จุง ( Carl G. Jung Theory )

Posted on วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554 by modal


ประวัติของคาร์ จี จุง เกิดที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1875 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1961 เขาเป็นนักจิตแพทย์ชาวสวิสที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่คิดเก่งหรือนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักจิตวิทยาที่อยู่ในระดับแนวหน้า Jung ยังได้ใช้เวลามาก ตลอดชีวิตศึกษาวิทยาการต่างๆ หลายๆ สาขา นอกจากนี้ ยังได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นนักจิตวิทยาที่ร่าเริง ใจดี และมีบุคลิกภาพที่ประทับใจผู้อื่น และยังเป็นผู้ที่เคร่งศาสนา งานวิจัยที่เขาทำเป็นเรื่องพฤติกรรมของบุคคล
แนวคิดที่สำคัญ ในช่วงแรกนั้นJung เน้นการศึกษาเรื่องจิตไร้สำนึก เช่นเดียวกับฟรอยด์แต่ต่อมา ได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆ อย่างลึกซึ้งขึ้น ทำให้มี Jung มีแนวความคิดแตกต่างกัน โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดมามีแนวโน้มที่จะรับมรดกจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งจะเป็นการชี้นำพฤติกรรมและกำหนดจิตสำนึก ตลอดจนการตอบสนองต่อประสบการณ์และโลกส่วนตัวของเขา หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่ามีการก่อตัวของเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ (Racial) และจะสะสมในบุคลิกภาพที่นำไปสู่การเลือกรูปแบบของการปรับตัวและการเลือกที่จะอยู่ในโลกของประสบการณ์แต่ละบุคคล บุคลิกภาพแต่ละบุคคลจึงเป็นผลของการกระทำของแรงภายใน ( Inner Forces ) ที่กระทำต่อแรงภายนอก (Outer Forces) ทฤษฎีนี้เน้นเรื่องของการเริ่มต้นของบุคลิกภาพที่เชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์ ในขณะที่ ฟรอยด์ เน้นจุดเริ่มต้นของบุคลิกภาพจากหลังกำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทารก
นอกจากนี้ Jung ยังได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล เป็นเสมือนผลผลิตของอดีต กล่าวคือ มนุษย์ได้ถูกปรุงแต่งและถูกวางรูปแบบให้เป็นตัวตนในปัจจุบัน โดยมีประสบการณ์ที่สะสมในอดีตโดยไม่รู้จุดเริ่มต้นของมนุษย์ว่าแยกมาจากเผ่าใด รากฐานของบุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องอดีตชาติ (Archaic) และบรรพกาล ( Primitive ) ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นเรื่องของความไร้สำนึก ที่ไม่สามารถจดจำได้ และมีขอบเขตอย่างกว้างขวาง (Universal) ในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์นั้นทฤษฎีนี้เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลรวมของอนาคตกาลกับอดีตกาล (Teleology and Causality) พฤติกรรมของมนุษย์ได้รับเงื่อนไขไม่เพียงแต่ความแตกต่างที่เกิดจากอดีตกาลเท่านั้น แต่ยังเกิดจากปัจจัยอื่นอีกเช่น ความมุ่งหมาย และความปรารถนาในอนาคตกาลของบุคคลอีกด้วย โดยอดีตกาลเป็นความจริงที่แสดงออก ในขณะที่อนาคตกาลเป็นเสมือนศักยภาพที่จะชี้นำบุคคลให้เกิดพฤติกรรมดังนั้นแนวความคิดที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพคือความคาดหวังในผลข้างหน้าอันเป็นการรับรู้ถึงการมองไปสู่อนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุให้บุคคลเกิดแนวทางในการพัฒนาตนเองในทางสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาความสมบูรณ์และคำนึงถึงการเกิดมาเพื่อมีชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง ( Rebirth )
อย่างไรก็ตามทฤษฎีของ Jung แตกต่างจาก Frued ที่อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นทางเพศ แต่ Jung เชื่อว่าบุคคลจะเป็นคนเช่นใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กด้วยเช่นกันองค์ประกอบของจิต(Structural Components of Psyche) เป็นผลรวมทั้งหมดของบุคลิกภาพที่ประกอบด้วยระบบต่างๆ ซึ่งทำงานร่วมกันดังนี้
องค์ประกอบของจิต (Structural Components of Psyche) มี 3 ระบบคือ
1. โครงสร้างทางบุคลิกภาพ (Structure of Personality)
2. ตน ( Self )
3. ระบบความสัมพันธ์ภายใน (Interdependent Systems) ซึ๋งแสดงเป็นแผนภูมิ 2

องค์ประกอบของจิต
(Structural Components of Psyche)
แสดงตัว (Extraversion)
เงา (Shadow)
เก็บตัว (Introversion)
การรู้สึก (Feelings)
ตน เป็นจุดศูนย์กลางของบุคลิกภาพ หมายถึง รูป (Archetype) ซึ่งนำบุคคลไปสู่การแสวงหาวิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ถึงจุดสูงสุด (Self Realization)
การคิด (Thinking)
ระบบความสัมพันธ์ภายใน (Interdependent Systems)
ตน
( Self )

ลักษณะของหญิงที่มีอยู่ในชาย (Anima)
และลักษณะของชายที่มีอยู่ในหญิง (Animus)
หน้ากาก (Persona)
จิตไร้สำนึกที่สะสมมาแต่อดีตกาล (Collective Unconscious)
ประสบการณ์ไร้สำนึก
(Personal Unconscious)
ตัวตน (Ego)
โครงสร้างทางบุคลิกภาพ
(Structure of Personality)
การทำหน้าที่ของบุคลิกภาพ 4 ประการ (Four Functions)

การรับรู้ทางประสาท
สัมผัส (Sensing)
การกำหนดรู้ในใจ
(Intuition)

0 Responses to "ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ จี จุง ( Carl G. Jung Theory )":

บทความที่ได้รับความนิยม