ความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในระดับประเทศระดับอุตสาหกรรม และระดับองค์กร พบว่า มีนักวิชาการและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ศึกษาเรื่องนี้โดยมีพัฒนาการของแนวคิดมาเป็นลำดับและมีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ดังที่ International Institute for Management Development (2003) ได้สรุปไว้ดังนี้ คือ Smith ได้กล่าวถึงความสามารถในการแข่งขันว่ามาจากปัจจัยการผลิต 4 ประการ คือ ที่ดิน ทุน ทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงาน Ricado ได้กล่าวถึงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ Marx ได้เน้นในเรื่องผลกระทบที่มีต่อสังคม สภาพแวดล้อมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ Schumpeter ได้เน้นว่าบทบาทของผู้ประกอบการเป็นปัจจัยของความสามารถในการแข่งขัน Solow เพิ่มมุมมองด้านการศึกษา นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการเพิ่มองค์ความรู้พิเศษ ส่วน Sloan และ Drucker เน้นเรื่องการบริหารจัดการ Negroponte ได้เพิ่มปัจจัยด้านความรู้ว่าเป็นปัจจัยหลักของความสามารถในการแข่งขัน ส่วน Porter ได้เสนอ Diamond Model เพื่อความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน
ความสามารถในการแข่งขันมีแนวคิดทั้งระดับประเทศและระดับองค์กร ซึ่งองค์กรในที่นี้ หมายถึง องค์กรธุรกิจ ส่วนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะมองที่ประเทศสามารถสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่ทำให้องค์กรคงความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ (International Institute for Management Development, 2003) ความแตกต่างของความสามารถในการแข่งขันของประเทศกับขององค์กร คือ การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะองค์กรเท่านั้นที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ส่วนสภาพแวดล้อมของประเทศเป็นเพียงส่วนสนับสนุนเท่านั้น ซึ่งทำได้โดยการกำหนดนโยบายที่เอื้อประโยชน์ (Garelli, 2002; International Institute for Management Development, 2003) จึงสรุปได้ว่า ความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ ส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ Cooper (2005) ที่ว่า หากจะกล่าวถึงความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ สามารถให้ความหมายได้ว่า คือ การที่ประเทศมีองค์กรธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันหลาย ๆ องค์กร
การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management
-
*การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 Responses to "ความสามารถในการแข่งขัน":
แสดงความคิดเห็น