(1) พื้นฐานของมูลค่าทางศีลธรรมโดยรวม (Universal Moral Value) ซึ่งเริ่มจากมูลค่าภายในของพนักงาน ลูกค้าและผู้ป้อนสินค้าแต่ละราย
(2) ความสำเร็จในตลาด ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการส่งมอบมูลค่าสูงสุดให้กับลูกค้า (คุณภาพสูง ราคาต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบ)
(3) รางวัลซึ่งขึ้นอยู่กับมูลค่าที่แต่ละบุคคลมอบให้กับบริษัท ทั้งแบบตัวบุคคลและแบบทีมทั้งในฐานะลูกจ้างและเจ้าของ
EVA
EVA เป็นตัววัดผลปฏิบัติงานที่ VBM นำมาใช้เป็นมาตรวัดด้านการเงินของผลตอบแทนและมูลค่าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ EVA ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดของกำไรทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) ที่เรียกกันว่า “กำไรส่วนที่เหลือ” (Residual Income) ซึ่งกล่าวว่าความมั่งคั่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อกิจการสามารถสร้างรายได้จนสามารถชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Costs) และต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) ได้จนหมดสิ้น
ด้วยความหมายแคบ ๆ เช่นนี้ EVA อันที่จริงแล้วจึงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการมองผลการปฏิบัติงานขององค์กร อย่างไรก็ตาม การมอง EVA เช่นนี้ดูจะแคบเกินไป เนื่องจากมุมมองดังกล่าวมองข้ามคุณประโยชน์ที่สำคัญ ๆ ที่ EVA ก่อให้เกิดขึ้นกับการบริหารองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่า (Value-Driven Firm)
หากมองอย่างพื้นฐานที่สุดอาจกล่าวว่า EVA เป็นตัววัดผลปฏิบัติงานตัวหนึ่ง แต่ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องหากจะจำกัดบทบาท EVA ไว้เพียงแค่ตัววัดผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพราะ EVA ทำหน้าที่เป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติโดยการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเข้าด้วยกัน กล่าวคือเมื่อผู้บริหารกำหนดกลยุทธ์ขึ้น พวกเขาควรจะต้องกำหนดขึ้นโดยมีเป้าหมายในการสร้างกระแส EVA สูงสุดในอนาคตกลับมายังกิจการ
การจัดสรรทุนก็เช่นกันต่างได้รับประโยชน์จากการนำ EVA มาใช้ เนื่องจากเมื่อนำ EVA ไปเชื่อมโยงกับผลตอบแทนที่ฝ่ายบริหารจะได้รับ EVA จะเป็นสิ่งจูงใจฝ่ายบริหารที่เหนียวแน่นในอันที่จะเฟ้นหาและเลือกลงทุนในโครงการลงทุนที่จะก่อให้เกิดมูลค่ากลับมายังองค์กร อันที่จริงแล้วแนวทางของ EVA ส่วนใหญ่ที่นำมาใช้จะมุ่งเน้นไปที่การนำ EVA มาผูกโยงกับผลตอบแทนของฝ่ายบริหาร
ข้อดีของ EVA ประการหนึ่งคือเป้าหมายจะสามารถกระจายสู่ส่วนงานและแผนกต่าง ๆ ในองค์กร(ในบางครั้งไปในรูปของตัวผลักดัน EVA แทนที่จะเป็น EVA โดยตัวของมันตามลำพัง) ด้วยวิธีการเช่นนี้งบประมาณดำเนินงานขององค์กรซึ่งรวมถึงงบประมาณที่จัดสรรไปยังหน่วยงานย่อยที่อยู่ในระดับที่ลึกลงไปในระดับสายงานต่าง ๆ ในองค์กรจะสามารถเชื่อมโยงโดยตรงเข้ากับข้อกำหนดต่าง ๆ ของตลาดทุน
ประการสุดท้าย EVA เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงอันหนึ่ง ทั้งในแง่ของ
(1) การทำให้แนวคิดการสร้างมูลค่ากระจายไปสู่ผู้บริหารในระดับ Line ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดผลการปฏิบัติงานในองค์กรขึ้นในที่สุด
(2) การติดต่อสื่อสารกับตลาดทุน
Young และ O’Byrne (2001) เชื่อว่าหาก EVA มีการนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมจะช่วยให้องค์กรสามารถติดตั้งโปรแกรม VBM ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และหากมอง EVA ในลักษณะที่รวมทุกอย่างเข้าด้วยกันเช่นนี้ EVA ก็จะเกิดความกลมกลืนไปกับแนวคิด VBM โดยปริยาย
ความสัมพันธ์ระหว่าง EBITDA, NOPAT, EVA และ Free Cashflow
มักมีคำถามเสมอ ๆ ว่า EVA มีความแตกต่างไปจากตัววัดผลดำเนินงาน เช่น EBITDA, NOPAT และ Free Cashflow ที่หลายกิจการใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างไร EBITDA, NOPAT และ Free Cashflow เป็นตัววัดผลดำเนินงานที่คำนวณขึ้นตามแนวคิดทางบัญชีซึ่งไม่ได้มีการนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุนเข้ามาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด นอกจากนี้ ตัววัดผลดังกล่าวยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของกำไรที่คำนวณขึ้นภายใต้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งหลักการบัญชีดังกล่าวอาจทำให้ EBITDA, NOPAT และ Free Cashflow ไม่สะท้อนถึงความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ (economic reality) ที่กิจการประสบอยู่ในแต่ละช่วงเวลา
องค์ประกอบของ EVA
หลังจากทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่าง EBITDA, NOPAT, Free Cashflow และ EVA ในรูปแบบของงบกำไรขาดทุนตามที่ได้แสดงไว้ข้างต้นแล้ว ในส่วนนี้จะแสดงองค์ประกอบของ EVA ในเชิงที่สัมพันธ์กันกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่จัดทำขึ้นตามแนวทางปฏิบัติของมาตรฐานการบัญชี
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุน (Capital Charges) = ทุนที่ลงไปถัวเฉลี่ย (Average Invested Capital) * ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital)
จะเห็นได้ว่า ในการคำนวณหาค่า EVA นั้น จำเป็นจะต้องทราบทุนที่ลงไป (Invested Capital) ว่ามีจำนวนเท่าไร โดยอาศัยข้อมูลจากงบดุลนั่นเอง แต่ใช่ว่างบดุลที่ผู้อ่านเคยเห็นตามปกติจะสามารถนำมาใช้ได้ทันที ผู้อ่านจำเป็นที่จะต้องนำงบดุลปกติมาดัดแปลงใหม่ให้อยู่ในรูปของงบดุลตามแนวคิด EVA โดยย้ายหนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยไปหักออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นที่มิใช่เงินสด เพื่อให้ได้ยอด “เงินทุนหมุนเวียน” เหตุผลที่ต้องย้ายหนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยไปหักออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นที่มิใช่เงินสดเพื่อให้ได้ยอด “เงินทุนหมุนเวียน” ก็เนื่องจากในการคำนวณต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย (WACC) โครงสร้างเงินทุนที่นำมาใช้ในการหาต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยประกอบด้วยโครงสร้างเงินทุนที่ได้มาจากการก่อหนี้กับโครงสร้างเงินทุนที่มาจากผู้ถือหุ้น โดยที่โครงสร้างเงินทุนที่ได้มาจากการก่อหนี้ในที่นี้ หมายถึง โครงสร้างเงินทุนที่ได้มาจากการก่อหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยนั่นเอง
การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management
-
*การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management* คือ
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ
เพ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 Responses to "VBM ประกอบด้วย":
แสดงความคิดเห็น