Custom Search

ทฤษฎีเกี่ยวกับประสิทธิภาพ

Posted on วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 by modal

ประสิทธิภาพ (efficiency) และ ประสิทธิผล (effectiveness) เป็นคำที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จากการประมวลเอกสาร พบว่า มีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับคำทั้งสอง ไว้ในความหมายต่าง ๆ ดังนี้
ความหมายของประสิทริภาพ
Millet (อ้างถึงใน แสวง รัตนมงคลมาศ, 2514, หนา 99) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพว่า (efficiency) หมายถึง ผลการปฏิบัติงานที่ก่อเกิดความพึงพอใจแก่มวล มนุษย์ และได้รับผลกำไรจากการปฏิบัติงานนั้นด้วย (human satisfaction and benefit produced)
Simon (อ้างถึงใน แสวง รัตนมงคลมาศ, 2514, หนา 99) ให้ทัศนะเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพไว้คล้ายคลึงกัน คือ ถ้าพิจารณาว่างานใดมีประสิทธิภาพสูงชุดให้ดูจาก ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า (input) กับผลผลิต (output) ที่ได้รับออกมา เพราะฉะนั้น ตามทัศนะนี้ประสิทธิภาพนี้จึงเท่ากับผลผลิตลบด้วยปัจจัยนำเข้า และถ้าเป็นการบริหาร ราชการและองค์กรของรัฐก็ควรบวกความพึงพอใจของผู้รับบริการ (satisfaction) เข้าไป ด้วย ซึ่งอาจเขียนเป็นสูตร ดังนี้
E = (0-1) + S
E = EFFICIENCY คือ ประสิทธิภาพของงาน
0 = OUTPUT คือ ผลผลิตหรืองานที่ได้รับออกมา
I = INPUT คือ ปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรทางการบริหารที่ใช้ไป
S = SATISFACTION คือ ความพึงพอใจในผลงานที่ออกมา
ประสิทธิภาพ ในวงการธุรกิจ หมายสืง การจัดการที่ได้รับผลกำไรหรือขาดทุนสำหรับการบริหารงานราชการในทางปฎบัติวัดประสิทธิภาพได้ยากมาก วิธีวัดประสิทธิภาพ ในวงราชการจึงหมายรวมถึง ผลการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความพึงพอใจและประโยชน์ แก่มวลมนุษย์ ดังนั้น ประสิทธิภาพในทางราชการจะด้องพิจารณาถึง คุณคำทางสังคมจึง ไม่จำเป็นด้องประหยดหรือมีกำไร เพราะงานบางอย่างถ้าจะทำอยำงประหยัดอาจไม่มี ประสิทธิภาพก็ได้ (อุทัย หิรัญโต, 2525,หน้า 123)
ประสิทธิภาพ หมายถึง การมีสมรรถนะสูง สามารถมีระบบการทำงานที่ก่อให้เกิด ผลได้สูงสุดโดยที่ผลผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าของทรัพยากรที่ใช้ไป (ธงชัย สันติวงษ์ และ ชัยยศ สันติวงษ์, 2535,หน้า 314)
ประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่บ่งบอกผลงานของคนงาน (ปฏิบัติงาน) ในช่วงระยะเวลา หนึ่ง ซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดว่ามีการใช้ทรัพยากรขององค์กรหรือหน่วยงานเหมาะสมเพียงไร (วิทยากร เชียงกูล, 2540, หน้า 173)
ประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประสิทธิผล มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผล การวัดประสิทธิภาพโดยทั่วไปจะวัดเป็นอัตราส่วนของผลผลิตต่อปัจจัยนำเข้าในการผลิตหรือค่าใช้จำยต่อหน่วย และมักเป็นเรื่องเศรษฐกิจ เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพแบบนี้ อาจคลาดเคลื่อนได้ เพราะไม่ได้คำนึงถึงด้านคุณภาพแต่คำนึงถึงปริมาณในรูปของกำไร หรือผลผลิตสูงสุดเพียงด้านเดียว ดังนั้น การวัดประสิทธิภาพจึงต้องวัดความแตกตำงด้าน คุณภาพของผลผลิตด้วย (จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์, 2530, หน้า 70)

0 Responses to "ทฤษฎีเกี่ยวกับประสิทธิภาพ":

บทความที่ได้รับความนิยม