Custom Search

การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ

Posted on วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 by modal

ผู้ถือ หุ้นสามัญ มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ

  1. บริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเมื่อมีกำไร
  2. ถ้าผู้ถือหุ้นสามัญขายหุ้นได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมา เรียกว่า กำไรส่วนทุน (capital gain) ถ้าขายได้ต่ำกว่าเรียก capital loss

สัญลักษณ์ที่สำคัญ

D0 = เงินปันผลปีปัจจุบัน
Dt = เงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับในปี t
P0 = ราคาตลาดของหุ้นสามัญในปัจจุบัน
P^t = ราคาตลาดของหุ้นสามัญที่คาดไว้ปลายปี t
P^0 = ราคาหุ้นสามัญที่ควรจะเป็น หรือราคาตามทฤษฎี
P0 = P^0 ถ้าตลาดอยู่ในดุลยภาพ
g = อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลที่คาดไว้
kS = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
K^S = อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ
S = อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริง
ข้อควรจำ
D0 = เงินปันผลปัจจุบัน (ได้รับไปแล้ว)

D1 = เงินปันผลสิ้นปีปัจจุบัน (ยังไม่ได้รับ)

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากหุ้นสามัญ

ผลตอบแทนจากหุ้นสามัญ = เงินปันผล + กำไรจากราคาหุ้น
K^S=D1/P0 + (P^1 - P^0)/P^0
D1/P0 = อัตราเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับในปีถัดไป
(P^1 - P^0)/P^0 = อัตรากำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการขายหุ้นสามัญในปีถัดไป

การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญโดยใช้เงินปันผลเป็นเกณฑ์

เป็นการประเมินราคาหุ้นสามัญโดยสมมติว่าผู้ลงทุนซื้อหุ้นแล้วถือไว้ตลอดไปเพื่อรับเงินปันผล
ดังนั้น มูลค่าหุ้น จึงเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินปันผลทั้งหมดที่ได้รับในอนาคต
มูลค่าหุ้นปัจจุบัน มูลค่าปัจจุบันของ
เงินปันผลปีที่ 1
มูลค่าปัจจุบันของ
เงินปันผลปีที่ 2
มูลค่าปัจจุบันของ
เงินปันผลปีที่ 3
มูลค่าปัจจุบันของ
เงินปันผลปีที่ infinity
P0 D1/(1+kS)1 + D2/(1+kS)2 + D3/(1+kS)3 ... + D8/(1+kS)8

มูลค่าหุ้นสามัญตามทฤษฎี กรณีที่อัตราเงินปันผลเพิ่มขึ้นคงที่

  • สูตรสำคัญ
P^0 = D0(1+g)/(kS -g)
P^0 = D1/(kS -g)
ถ้าเงินปันผลเท่ากันทุกๆปี (g=0)

P^0 = D0(1+0)/(kS -0) = D/kS

0 Responses to "การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ":

บทความที่ได้รับความนิยม