Custom Search

ทฤษฎีเงินปันผล

Posted on วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 by modal

ผู้ลงทุนชอบเงินปันผลสูงหรือต่ำ มี 3 ทฤษฎี
1. Dividend Irrelevance - ผู้ลงทุนไม่สนใจว่าจะมีเงินปันผลหรือไม่ เพราะหากต้องการเงินก็ขายหุ้นได้ หากไม่ต้องการเงินปันผล ก็นำเงินปันผลมาลงทุนใหม่ได้ มูลค่าของกิจการจะถูกกำหนดโดยความสามารถในการทำกำไรและความเสี่ยงทางธุรกิจ
2. Bird-in-the-hand - ผู้ลงทุนคิดว่า เงินปันผล มีความเสี่ยงน้อยกว่ากำไรที่จะได้รับในอนาคต จึงชอบเงินปันผลในอัตราสูง ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นสามัญสูงด้วย
3. Tax Preference - ผู้ลงทุนคิดว่ากำไรส่วนทุนมีภาษีต่ำกว่าเงินปันผล และเป็นเงินที่จ่ายในอนาคต จึงต้องการให้ปันผลน้อยๆ
ทฤษฎีอื่นๆ 2 ทฤษฎี
4. ข้อมูลข่าวสารหรือสัญญาณ - ทฤษฎีนี้อธิบายว่า ควรจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ไม่เพิ่มไม่ลด เพื่อไม่ให้มีสัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มของบริษัทเผยแพร่ออกไป
5. Clientele Effect - หมายถึง แนวโน้มที่บริษัทต้องดึงดูดผู้ลงทุนโดยกำหนดนโยบายเงินปันผลที่ผู้ลงทุนพอใจ ผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำจะต้องการเงินปันผลสูง

0 Responses to "ทฤษฎีเงินปันผล":

บทความที่ได้รับความนิยม