การวิเคราะห์ตนเองมีหลักการ 4 ประการคือ การที่บุคคลจะต้องรู้จักตนเอง รู้จักความ
ต้องการของตนเอง รู้จักที่จะยอมรับตนเอง และพัฒนาตนเองไปให้เต็มศักยภาพของตน ทั้งสี่ประการจะทำให้บุคคลสามารถวิเคราะห์ตนเองได้และเมื่อเราสามารถวิเคราะห์ตัวเราได้เราก็สามารถพัฒนาตนไปตามทิศทางที่เราต้องการ ซึ่งในแง่ของการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อช่วยให้การวิเคราะห์ตนสมบูรณ์เราควรสนใจศึกษาเรื่ององค์ประกอบที่ทำให้บุคลิกภาพทางกายสมบูรณ์ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาตนในที่สุด
องค์ประกอบที่ทำให้บุคลิกภาพทางกายสมบูรณ์ ได้แก่เรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยสรุปคือ สถิต วงศ์สวรรค์. ( 2540 : 185-187 )
1. สุขภาพกาย เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน จะว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด สำหรับ
บุคลิกภาพทางกายที่สมบูรณ์ก็คงไม่ผิดนัก เพื่อให้มองเห็นความสำคัญของบุคลิกภาพว่าทำให้บุคลิกภาพทางกายดีขึ้นอย่างไร จะแยกกล่าวไว้สามประการดังนี้
1.1 คนมีสุขภาพดีย่อมมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ สามารถทำงานได้คล่องแคล่วว่องไว
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมได้อย่างสะดวก เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นๆ โดยทั่วไปเข้ากับคนได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ดี พูดเก่งคุยสนุก เพราะมีสุขภาพดีนั่นเอง
1.2 สุขภาพที่ดีย่อมทำให้ดูมีน้ำมีนวล หน้าตาแจ่มใส มีกิริยาท่าทางรื่นเริงและเป็นสุขมี
ผลทำให้จิตใจดีด้วย จึงเป็นคนน่าคบหาสมาคมด้วย นับว่าเป็นบุคลิกภาพที่ดึงดูดความสนใจคนอื่นๆได้มาก
1.3 คนที่มีสุขภาพดีย่อมปราศจากโรคภัยไข้เจ็บซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจ สุขภาพที่ดียังทำให้
ส่วนอื่นของร่างกายสง่างามไปด้วยเช่น ผิวพรรณ ผม เล็บย่อมมีลักษณะงาม สัดส่วนของร่างกายสมบูรณ์เป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น บุคคลที่ปราศจากโรคเป็นคนที่มีลาภอันประเสริฐ ( อโรคยา ปรมา ลาภา ) สุขภาพของบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญคือ
1.3.1 การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย จะช่วยส่งเสริมความเจริญเติบโตของคนต้อง
รับประทานให้ได้สัดส่วนและครบ 5 หมู่ อาหารดีมีประโยชน์ไม่จำเป็นต้องรสดี ราคาแพงแต่เน้นที่ธาตุอาหาร ให้ผลดีแก่สุขภาพต้องสร้างนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร รับประทานเป็นเวลา ไม่รับประทานจุบจิบไม่เลือกเวลา รับประทานไม่มากหรือน้อยเกินไปไม่ตามใจปากตามใจท้อง ไม่ใช่ว่าชอบอะไรก็รับประทานแต่อย่างนั้น คนที่ชอบรับประทานขนมหวานมากๆจะทำให้อ้วน บางคนไม่ชอบผักก็ไม่แตะต้องเลย ทำให้ขาดธาตุอาหารเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ
1.3.2 การออกกำลัง จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตด้วยดี มีสุขภาพสมบูรณ์ อวัยวะส่วนใดไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆจะไม่เจริญเติบโตและแข็งแรงเท่าที่ควร แขนขา ถ้าไม่ได้ใช้นานๆ จะไม่เจริญเติบโตและแข็งแรงเท่าที่ควร แขนขาถ้าไม่ใช้งานนานๆก็จะลีบเล็กลง เดินไม่ได้ จึงควรออกกำลังสม่ำเสมอ ด้วยการเล่นกีฬา หรือการทำงาน กายบริหาร วิ่ง เป็นต้น แต่ต้องไม่มากนักและไม่หยุดไปนานๆ
1.3.3 การพักผ่อน ที่ดีที่สุดคือการนอนหลับ วัยรุ่นควรนอนวันละ 8 ชั่วโมง บางคนอาจมากน้อยกว่านี้ นอนเท่าไรจึงเพียงพอก็สังเกตได้ง่ายๆ ถ้าไม่ง่วงในเวลากลางวันเป็นใช้ได้ ถ้าง่วงอ่อนเพลียแสดงว่านอนพักผ่อนไม่พอ การพักผ่อนที่ดียังมีวิธีต่างๆอีกหลายวิธี เช่นดูมหรสพ หรือ ดูการแสดงต่างๆ ฟังหรือแสดงดนตรี ร้องเพลง ทำให้เกิดอารมณ์ชื่นบาน การอ่านหนังสือ ทำงานอดิเรกทำให้เกิดความสุข ความสบายใจได้มาก แต่คนที่ใช้เวลาพักผ่อนมากเกินไปจัดว่าเป็นคนไม่เสียดายเวลาสำหรับทำประโยชน์
1.3.4 ขนาดของร่างกาย คนที่อ้วนหรือผอมเกินไปควรปรึกษาแพทย์ ส่วนเตี้ยหรือสูงนั้น การบริหารร่างกายช่วยได้บ้างแต่ก็น้อยเต็มที
1.3.5 ทรวดทรงและสัดส่วนของร่างกาย ผู้ชายชอบสูงใหญ่ ไหล่กว้าง ล่ำสัน มีกล้ามเนื้องาม การเพาะกายช่วยได้ง่าย ผู้หญิงนิยมคนรูปร่างสมส่วนเพรียว ไม่อ้วน การบริหารร่างกาย การรักษาอนามัยจะช่วยให้มีเอกลักษณ์ของเอกบุรุษและสตรีได้
1.3.6 การทรงตัวและอิริยาบถ มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพทางกายอยู่มาก ลักษณะการนั่ง นอน เดิน การเคลื่อนไหวของร่างกายในตัวคน บางคนก็น่าดู บางคนก็เก้งก้างน่ารำคาญบางคนนั่งงอตัว เดินก้มหน้า ต้องรีบแก้ไขฝึกหัดใหม่ในลักษณะที่ส่งเสริมให้บุคลิกภาพดี
1.3.7 คุณภาพของผิวและส่วนอื่นๆของร่างกาย คนไทยนิยมผิวขาว ละเอียดอ่อนปราศจากผดผื่น ตำหนิ ผม เล็บ ฟัน ควรรักษาให้ดี
1.3.8 ความสะอาด เป็นสิ่งที่ส่งเสริมบุคลิกภาพและสุขภาพอย่างมาก ควรรักษาและทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดโรคและทำให้ตนมีคุณค่าสูงขึ้น จะต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องแต่งตัว อาหาร เคหสถาน
สุขภาพจิต สำหรับเรื่องสุขภาพจิตที่สมบูรณ์นั้น ย่อมจะส่งเสริมสุขภาพของร่างกายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและทำนองเดียวกัน สุขภาพของร่างกายก็ส่งเสริมให้บุคคลมีสุขภาพจิตดีขึ้นตามลำดับ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะเป็นตัวส่งเสริมซึ่งกันและกันที่ทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ บุคคลจึงควรแสวงหาวิธีการที่จะทำให้จิตที่ดีเกิดขึ้นได้จาก ความพึงพอใจในตนเอง การมีอารมณ์สดชื่นหรือชื่นบาน ความสดชื่นแจ่มใส ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ความบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่ประพฤติผิดทั้งต่อกฎของสังคมและหลักศาสนา มีความเมตตา กรุณา สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และไม่เป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายจนเกินไปไม่เห็นคนอื่นเป็นศัตรูกับตน บุคคลในลักษณะดังกล่าวย่อมจะไม่เสียสุขภาพจิต หรือมีบุคลิกภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจนั่นเอง
การรู้จักตนเอง
มนุษย์เป็นสัตย์สังคม เป็นอมตวจีที่มนุษย์ชอบยกมาพูดอยู่เสมอและใช้อ้างอิงเวลามนุษย์จะกล่าวถึงตนและสังคมโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสังคมซึ่งมนุษย์จำเป็นต้องมีสัมพันธ์ พบปะ สังสรรค์ ติดต่อการงานและธุรกิจและยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่มนุษย์จำต้องหรือเลือก ชอบกระทำร่วมกัน แต่เมื่อคนเราย้อนกลับมามองตนเองคราวใดบ่อยครั้งที่ทุกคนมักเกิดความสงสัยอดถามตนเองไม่ได้ว่า “ตัวเราคือใคร”
เราท่านสงสัยแล้วก็คงผ่านไปเพราะมักจะไม่ได้คำตอบจากตนเองหรือผู้ข้างเคียงแต่นักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ คาร์ล โรเจอร์ ( Carl Rogers ) เขามีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้ที่มีลักษระที่ได้รับการขัดเกลามาแล้ว รักความก้าวหน้า พูดจริงทำจริงและมีความสามารถหลายๆ อย่าง และที่สำคัญคือมนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกนึกคิดในตัวเองหรือที่เรียกว่า อัตมโนทัศน์ ( self concept )หรือพูดง่ายๆว่ามี “ภาพ” ของตนจากตา( และใจ)ตนเองไม่ว่าในด้านคุณสมบัติ รูปสมบัติหรือทรัพย์สมบัติ
การวิเคราะห์ตนเอง
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง
เป็นสิ่งที่บุคคลจะต้องทำการรู้จักตนเองก่อน วิธีที่บุคคลจะรู้จักตนเอง
ได้ชัดเจนคือ การสำรวจตนเอง ทำให้บุคคลสามารถมองตนเองอย่างชัดเจนทั้งในแง่บวกแง่ลบ ทั้งในส่วนที่ดีและส่วนที่ต้องปรับปรุง รวมไปถึงความสามารถในการสำรวจตนเองว่าตนเองมีบุคลิกภาพส่วนใดจะต้องพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นและการที่บุคคลจะรู้จักตัวเองได้นั้น
กันยา สุวรรณแสง(2533:322-326)อธิบายโดยสรุปว่าบุคคลจะต้องรู้จักตนเองอย่างน้อยใน 3 ลักษณะคือ อันดับแรกได้แก่อุปนิสัยของตนเอง เราต้องวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนว่าตนเองมีอุปนิสัยอย่างไร อุปนิสัยใดดีก็ควรส่งเสริมไว้อุปนิสัยอะไรไม่ดีก็ควรแก้ไขอาจจะใช้เวลานานแต่ถ้าเรามีความตั้งใจจริงก็สามารถทำได้ ประการที่สองคือ ลักษณะส่วนรวมของตนลักษณะนี้คงต้องอาศัยจากผู้อื่นช่วยบอกบางครั้งเราไม่ต้องการฟังคำวิจารณ์เพราะอาจจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดแต่เราจงอดทนฟังคำวิจารณ์ เพราะคำทวงติงจากมิตรดีและคนที่มีความจริงใจแล้วเรานำมาไตร่ตรองบางครั้งคำวิจารณ์ คำทวงติงเหล่านั้นอาจมีข้อคิดที่ดีมากมาย และประการสุดท้ายคือบทบาทของตน เราแต่ละคนมีสถานภาพ (Status) จึงต้องแสดงบทบาท(Role) เราจึงต้องแสดงตนตามบทบาทที่เราได้รับให้สมบูรณ์
นอกจากนี้ในเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง เราทุกคนก็สามารถกระทำได้โดยการที่เราสามารถทำความเข้าใจในตนเองได้ทุกแง่ทุกมุม ทั้งมุมกว้างและมุมลึก ทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ยังต้องพัฒนา โดยเราต้องพยายามทำใจให้เป็นกลาง อย่าเข้าข้างตนเองมากเกินไปจนมองตนไม่ออก นั่นก็เท่ากับว่าท่านไม่สามารถวิเคราะห์ตนเองได้ และสุดท้ายของการรับรู้ตนเองคือความสามารถเปิดใจกว้างในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนาตน
สำหรับการรับรู้ตนเองตามแนวคิดของคาร์ล โรเจอร์ ( Carl Rogers )ซึ่งเป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมเขามีความสนใจเรื่องมนุษย์ เขามองมนุษย์ในแง่ดีและเชื่อว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่ดีงามและมนุษย์ยังเป็นผู้ที่ได้รับการขัดเกลามาแล้ว รักความก้าวหน้า พูดจริง ทำจริง รวมทั้งมีความสามารถหลายๆ อย่าง แนวคิดที่สำคัญคือ เขาเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตนเอง หรือ มีแนวความคิดของตนเอง ( Self Concept ) อาจจะกล่าวสรุปว่ามนุษย์มีภาพของตนจากตาที่มองเห็นสิ่งต่างๆ และภาพของตนจากใจในการนึกคิดภาพต่างๆ ที่เกิดเป็นมโนภาพทางจิตของตนเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณสมบัติ รูปสมบัติและทรัพย์สมบัติ ตัวตนตามแนวคิดของคาร์ล โรเจอร์ จึงประกอบไปด้วยตัวตน 2 ประเภทคือ
1. ตัวตนที่เป็นจริง ( real self )
2. ตัวตนที่คิดว่าเราเป็น ( perceived self )
3. ตัวตนที่เราต้องการจะเป็น ( ideal self )
ซึ่งในสภาพความเป็นจริงขณะนี้เรากำลังเป็นนักศึกษา เรากำลังนั่งเรียนอยู่ในห้อง การที่เรา
รับรู้ว่าเราเป็นนักศึกษาและกำลังนั่งเรียนอยู่ในห้องขณะนี้นั่นคือตัวตนที่เป็นจริงพอวันหนึ่งมีคนทักว่าเราอ้วนไปซึ่งเราก็พยายามที่จะลดน้ำหนักแต่ยิ่งลดน้ำหนักเท่าใดตัวเราก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เมื่อมีเพื่อนๆ เห็นเราก็บอกเราว่า เธอยังคงมีรูปร่างเหมือนเดิมแต่ในใจเราบอกว่าจริงๆ แล้วเราลดน้ำหนักลงแล้ว ความคิดตรงนั้นคือตัวตนที่คิดว่าเราเป็น แต่ก็มีบางช่วงที่เราฝันอยากจะเป็นเศรษฐี เป็นคนรวย อยากมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย นั่นเป็นตัวตนที่เราต้องการจะเป็น
ดังนั้นตัวตนที่อยู่กับตัวเรา จะประกอบด้วยภาพภายในใจของเราตามที่เราคิดและจะต้องอยู่กับเราอย่างสมดุลและสอดคล้องกัน ส่วนภาพภายในใจของเรากับตัวตนจริงๆของเรา จะไม่ทำให้เราเกิดความคับข้องใจเมื่อภาพทั้งภายในและภาพทั้งภายนอกสมดุลกัน บุคคลก็จะเกิดการรับรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างถูกต้อง การรับรู้เกี่ยวกับตัวเองตามแนวคิดนี้จึงเน้นที่รับรู้ตัวตนทั้งภายในและภายนอกอย่างสอดคล้องกัน
สำหรับเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับตัวเองนั้นสิ่งที่บุคคลควรจะพิจารณาเป็นเรื่องต้นๆ 3 เรื่องคือ เรื่องตนเองซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะทางกายและลักษณะทางจิตและเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ตนอยู่ตั้งแต่สังคม วัฒนธรรมรวมไปจนถึงอิทธิพลของสื่อต่างๆ ที่บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้อง ดังจะอธิบายแยกเป็นข้อๆ คือ
1. การรับรู้เกี่ยวกับตนเองทางด้านลักษณะทางกาย ได้แก่การที่บุคคลต้องรู้จักตนเองใน
ส่วนของสรีระทางกายว่าตนเองมีรูปร่างหน้าตา หน้าตาเป็นอย่างไร ขนาดของร่างกาย ทรวดทรงและสัดส่วนของร่างกายการทรงตัวกิริยาท่าทางอิริยาบถต่างๆผิวพรรณ และรวมไปถึงสุขภาพของร่างกาย และมีสติปัญญารู้คิดรู้พิจารณาในเรื่องต่างๆ ได้ มีความรู้ความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ลักษณะทางกายเป็นเรื่องของพันธุกรรมเราคงกำหนดมากไม่ได้นัก แต่เราอาจดูแลรักษาให้ร่างกายสะอาดเป็นอย่างธรรมชาติที่กำหนดและงดงามตามธรรมชาติหรือปรุงแต่งให้ดูดีตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า ลักษณะทางกายของเราอาจบอกบุคลิกภาพของบุคคลได้
2. การรับรู้เกี่ยวกับตนเองทางด้านลักษณะทางจิต เป็นการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอารมณ์
ความสนใจ ความถนัด แต่ถ้าจะกล่าวให้ชัดลงไปคือการรับรู้ในเรื่องลักษณะนิสัยของตนเองในความเป็นบุคคลนิสัยของบุคคลจะเริ่มจากการที่บุคคลมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยการผ่านกระบวนการเรียนรู้ พอบุคคลโตขึ้นมาหน่อยเด็กที่เริ่มเรียนรู้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลายๆอย่างเด็กเกิดการโต้ตอบต่อสิ่งเร้าต่างๆ และเกิดการผสมผสานอย่างเป็นระบบขึ้น ในส่วนนี้เราเรียกว่าเกิดลักษณะนิสัย ดังนั้นนิสัยจึงเป็นระบบที่ถูกผสมผสานให้เกิดการโต้ตอบต่อสิ่งต่างๆที่เข้ามาเร้า สิ่งเร้าอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของหรือเป็นสถานการณ์ก็ได้ พอเด็กเริ่มเข้าโรงเรียนจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเริ่มเรียนรู้ เริ่มสะสมสิ่งต่างๆ เข้ามาในชีวิต เด็กเริ่มมีระบบผสมผสานนิสัยต่างๆมากขึ้นมีการรวมเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งที่โรงเรียน วัด สื่อรูปแบบต่างๆเช่นวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต กลุ่มสังคมใกล้เคียงที่อาศัย ทำให้เด็กพัฒนาเจตคติ คุณธรรมและความสนใจเข้าไว้ด้วยกัน จากนิสัยก็กลายเป็นลักษณะนิสัย และลักษณะนิสัยต่างๆ ถูกจัดระบบให้อยู่ในระบบใหญ่ที่เรียกว่า “ตัวของตัวเอง”หรือ “Self” แต่สามารถมีตัวของตัวเองได้มากกว่าหนึ่ง เช่น เป็นลูกที่น่ารักของแม่ เป็นเด็กดีของคุณครู เป็นนักว่ายน้ำ เป็นคนสนุกในหมู่เพื่อนๆ ตัวของตัวเองจึงมีลักษณะต่างกันไป ซึ่งการผสมผสานระบบต่างๆในขั้นสุดท้ายจึงเกิดเป็นบุคลิกภาพ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่จะสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพได้ดีเท่า “ลักษณะนิสัย”หรือ”อุปนิสัย”
อุปนิสัยมีความหมายกว้างกว่านิสัยเพราะอุปนิสัยเชื่อมโยงและรวมเอานิสัยต่างๆตั้งแต่สองอย่างเข้าไว้ด้วยกัน อุปนิสัยจะเป็นการตอบสนองในสภาพการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น คนที่มีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อก็จะมีนิสัยหลายๆอย่างรวมกันเช่น เป็นคนใจดี เสียสละ เป็นคนมีเมตตากรุณา เป็นคนโอบอ้อมอารี ชอบสังคม มีความเป็นมิตรกับทุกคนเป็นต้น
นอกจากนี้แล้วอุปนิสัยหรือลักษณะนิสัยยังทำหน้าที่ประเมินค่าเมื่อมันทำงานร่วมกับเจตคติโดยเจตคติจะใช้ประเมินความรู้สึกโดยจะแสดงออกในเรื่องจะยอมรับได้หรือไม่สามารถยอมรับในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องต่างๆ เจตคติเป็นความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีอย่างเฉพาะเจาะจงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนับเป็นการเชื่อมโยงความรู้สึกกับบางสิ่งบางอย่างโดยเฉพาะ แต่อุปนิสัยครอบคลุมไปยังลักษณะทั่วไป ส่วนเจตคติมีระดับความมากน้อยแตกต่างกันอาจอยู่ในระดับต่ำสุด ปานกลาง สูงสุด แต่อุปนิสัยมีเพียงระดับปกติ โดยอุปนิสัยทำหน้าที่ชี้นำหรือกำหนดพฤติกรรมต่างๆของบุคคลและทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรม อุปนิสัยบางอย่างทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้า หรือแรงจูงใจ ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่างๆ โดยสิ่งเร้าต่างๆ จะกระตุ้นให้อุปนิสัยทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆของตนเองอย่างเหมาะสม
3. การรับรู้เกี่ยวกับตนเองทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เมื่อบุคคลเกิดมาทุกชีวิตต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ระบบครอบครัวไปจนถึงระบบสังคมใหญ่ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อบุคคลมากเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพ บุคคลต้องเรียนรู้ว่าตนเองอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไร และประเมินบรรทัดฐานทางสังคมได้ว่าตัวเราพึงปฏิบัติตนอย่างไร
อย่างไรก็ดีเพื่อให้การศึกษาในเรื่องนี้เข้าใจยิ่งขึ้นนักศึกษาต้องมีความรู้พื้นฐาน เรื่องธรรมชาติของมนุษย์ และความต้องการของมนุษย์เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับตนเองมากยิ่งขึ้น
5.1.1 ธรรมชาติของมนุษย์
ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของกลุ่มจิตวิทยาเกสตอล เช่น Frederick Solomon Perls ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา “กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล” อธิบายว่า ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์มี 8 ประการคือ
1. มนุษย์เป็นส่วนเต็มที่ประกอบขึ้นด้วยส่วนต่างๆ ที่ทำงานประสานกัน คือ ร่างกายความคิดความรู้สึกการรับรู้ซึ่งส่วนต่างๆเหล่านี้จะเข้าใจในแต่ละส่วนเฉพาะไม่ได้ ตั้งเข้าใจในลักษณะของเต็มส่วนทั้งตัวบุคคล
2. มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมจะเข้าใจบุคคลได้โดยปราศจากการเข้าใจสภาพแวดล้อมของเขาไม่ได้
3. มนุษย์เป็นผู้เลือกว่าเขาจะตอบสนองกับสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายในตัวเขาอย่างไร มนุษย์เป็นผู้แสดงพฤติกรรม
4. มนุษย์มีศักยภาพที่จะรับรู้ สัมผัสในตัวเองได้เกี่ยวกับความคิดความรู้สึกและอารมณ์ของตัวเอง
5. มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เพราะเขาเกิดการรับรู้
6. มนุษย์สามารถรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. มนุษย์ไม่สามารถนำตนเองกลับไปสู่อดีตหรืออนาคตได้ เขาสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆได้ในสภาวะปัจจุบันเท่านั้น
ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของ “กลุ่มจิตวิทยาจิตวิเคราะห์” กลุ่มนี้มีนักจิตวิทยาที่สำคัญคือ Sigmund Freud ซึ่งเป็นนักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์อธิบายว่า ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์มี คือ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับสัญชาตญาณ ( instinctual drives ) แรงขับดังกล่าวเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่ได้ สัญชาตญาณพื้นฐานคือ สัญชาตญาณแห่งชีวิตและสัญชาตญาณแห่งความตาย พฤติกรรมและการแสดงออกต่างๆ ของมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจที่เป็นไปตามธรรมชาติ พฤติกรรมบางอย่างที่บุคคลแสดงไปโดยไม่รู้สึกตัวเป็นเพราะพลังจากจิตไร้สำนึกกระตุ้นให้บุคคลแสดงออกไปตามหลักความพึงพอใจของตนอาการป่วยของบุคคลจึงเกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก( unconscious ) ทำให้มนุษย์ใช้กลไกในการป้องกันตัวเอง ( defense mechanism )
ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของ “กลุ่มพฤติกรรมนิยม”กลุ่มนี้มีนักจิตวิทยาที่สำคัญคือ Pavlov และ B.F. skinner ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาไม่ทั้งดีและเลวมนุษย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมพฤติกรรมทั้งที่ปกติและผิดปกติเป็นผลมาจากการเรียนรุ้ซึ่งการเรียนรู้นี้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายใต้เงื่อนไขต่างๆและการเรียนรู้เก่าสามารถทำให้หมดไป และสามารถสร้างระบบการเรียนรู้ใหม่ขึ้นได้ มนุษย์มีความสามารถที่จะควบคุมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองแม้จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ธรรมชาติเกี่ยวกับบุคคล ในเรื่องนี้ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ ( 2541 : 40-42 ) อธิบายว่าธรรมชาติเกี่ยวกับบุคคล พอสรุปได้ดังนี้คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติของความเป็นผู้มีเหตุผลและการใช้อารมณ์ บุคคลที่ถูกมองว่า
เป็นผู้มีเหตุผลเหมือนคอมพิวเตอร์ที่มีชีวิต คนเป็นผู้มีระบบในการรวบรวมข่าวสารตามที่ต้องการ สามารถวิเคราะห์งานได้ละเอียดและระมัดระวังสามารถชั่งน้ำหนักและประเมินสถานการณ์และรวมถึง ความมีเหตุผลในการใช้ความคิด เอ็ดเวิร์ด ( Edward . 1954 , ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ . 2541: 41 ) นักจิตวิทยาได้ให้สมญานามมนุษย์ว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลในกระบวนการของข่าวสารในแนวคิดที่ตรงข้ามมนุษย์เป็นผู้ใช้อารมณ์หรือมนุษย์เป็นผู้ใช้อารมณ์หลากหลายบางคนก็ควบคุมตนเองไม่ได้และขาดสติ ตัวอย่างเช่น งานของ Freud ได้ชี้ให้เห็นจิตไร้สำนึกของบุคคลเต็มไปด้วยความคับข้องใจซึ่งมีผลมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กคือมีการคิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเหมือนกับพ่อกับลูก
2. มนุษย์มีธรรมชาติในลักษณะพฤติกรรมนิยมกับปรากฏการณ์นิยม นักจิตวิทยา
กลุ่มพฤติกรรมนิยม อธิบายว่าการมองบุคคลในการแสดงออกถึงพฤติกรรมต่างๆและเชื่อว่าพฤติกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ถ้าถูกวางเงื่อนไขให้กระทำได้ วัตสัน ( Watson. 1930, อ้างอิงจากปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2541 : 41 ) ได้อธิบายว่า “ให้เด็กทารกที่มีสุขภาพสมบูรณ์สักกลุ่มหนึ่ง ฉันสามารถอบรมเลี้ยงดูให้เด็กเป็นไปตามที่ฉันต้องการได้ ตั้งแต่เป็นนายแพทย์ จิตกร แม้แต่ขอทานและโจร โดยดูจากความสามารถ ความถนัดในอาชีพตลอดจนเชื้อชาติของบรรพบุรุษ” และ สกินเนอร์ ( Skiners. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2541 : 41 ) อธิบายว่า “พฤติกรรมของมนุษย์สามารถปรับได้ แต่ก็มีนักจิตวิทยาบางท่านที่อาจเห็นว่า บุคคลมีความสามารถตามระดับสติปัญญาของเขาเอง เราไม่สามารถทำนายได้ว่าเขาเป็นอย่างไร เขาอยู่ในโลกของเขา เขามีความเป็นตัวของเขาเอง บุคคลแต่ละคนมีบุคลิกภาพเฉพาะตัว การศึกษาเกี่ยวกับคนต้องศึกษาทุกๆ ด้าน บุคคลเป็นผู้มีสมรรถภาพมากกว่าที่เรารู้จัก
3. มนุษย์มีธรรมชาติที่จะคำนึงเศรษฐกิจและการรู้จักตนเอง ในหัวข้อนี้อธิบายว่า
มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลและใช้เหตุผล การคำนึงถึงสิ่งที่จะสร้างความพึงพอใจของตนเองในการลงทุนและลงแรงน้อยที่สุด ความพึงพอใจไม่ได้หมายถึงความภูมิใจในงานเท่านั้น หากแต่เป็นความรู้สึกถึง ความสามารถกระทำสิ่งใดๆได้สำเร็จและบางคนอาจหมายถึงเงินหรือเศรษฐกิจนั่นเอง การที่มนุษย์จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองได้มนุษย์ก็ต้องศึกษาเรื่องของตนเองอย่างละเอียด ว่าตนเองต้องการอะไร มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ตนเองสามารถพัฒนา พฤติกรรมที่เรากระทำอยู่นี้เป็นเหตุเป็นผลเรื่องใด แต่หลายคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากเรื่องเศรษฐกิจนั่นเอง
ธรรมชาติของมนุษย์
แนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แนวคิดในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ผู้เขียนขอสรุปแนวคิด
เรื่องธรรมชาติของมนุษย์ไว้ดังนี้ คือ
1. มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี แนวความคิดนี้เชื่อว่ามนุษย์มีความดีงามติดตัวมาตั้งแต่เกิด
และมนุษย์มีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพเท่าที่ตนเองต้องการ การเคารพและให้เกียรติกันจึงเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา
2. มนุษย์มีความแตกต่างกัน แตกต่างในเรื่องพันธุกรรม ในเรื่องสิ่งแวดล้อม แตกต่าง
กันในเรื่องการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงวัฒนธรรมที่ตนเองอยู่ เราไม่เหมือนคนอื่นและคนอื่นก็ไม่เหมือนกับเรา เราก็มีความรู้ความสามารถ ความถนัดอย่างหนึ่ง คนอื่นก็มีความรู้ความสามารถอีกอย่างหนึ่ง ต่างคนต่างมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันจะให้เขาเหมือนเราและจะให้เราเหมือนเขาคงเป็นไปไม่ได้ หรือในเรื่องเพศต่างกันการกระทำ ความคิด ความสนใจ เจตคติก็แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อรู้ว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันเราก็ยอมรับธรรมชาติของแต่ละคน ไม่เอาเขามาเปรียบกับเรา ไม่เอาตัวเราไปตั้งเกณฑ์ประเมินค่าตามคนอื่น อยู่แบบเขาเป็นเขาและเราก็เป็นเรา เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันชีวิตก็มีค่า ชีวิตก็มีความสุข
3. มนุษย์มีแรงจูงใจในทางที่ดี ที่สูงขึ้นมนุษย์ต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้ายิ่ง
ขึ้น มนุษย์มีแรงจูงใจจะทำให้มนุษย์กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้ตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
4. พฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างต้องมีสาเหตุ มีที่มามีที่ไปบุคคลจะไม่กระทำสิ่งใด ๆ
แบบไร้สติ ไร้ความนึกคิด แต่การกระทำของบุคคลมีเหตุผลแห่งการกระทำโดยทั้งสิ้น เช่น คนที่ขยันทำงานอาจมาจากความต้องการผลสัมฤทธิ์ในงาน ต้องการความภูมิใจในตนเอง หรือแม้บางคนอาจต้องการเงินเป็นต้น อย่างไรก็ดีเราไม่สามารถเข้าใจพฤติกรรมของคนอื่นว่ามาจากสาเหตุใด แต่ว่าเราทราบสิ่งที่ตัวเราเป็น ตัวเรากำลังจะทำอะไร การที่จะเป็นและการที่จะทำจะต้องมีพื้นฐานที่ชอบธรรม มีคุณธรรมกำกับ มีมโนธรรมสอนใจซึ่งจะทำให้เราเป็นคนที่ดีมีสุข และมนุษย์ก็รู้ว่าสิ่งที่ตนเองกระทำมีสาเหตุมาจากอะไร
5. มนุษย์มีความต้องการ ความต้องการของมนุษย์จะเริ่มจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการ
ดำรงชีวิตและเมื่อความต้องการนั้นๆ ได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลก็จะมีความต้องการในลำดับที่สูงขึ้นตามลำดับ เช่น ต้องการความรัก ต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ฯลฯ
6. มนุษย์มีความต้องการพัฒนาการชีวิต การพัฒนาการของมนุษย์จะพัฒนาการเป็นไป
ตามช่วงวัย วัยต่างๆของมนุษย์จะทำให้เห็นการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ตามช่วงวัย ถ้าบุคคลที่มีการพัฒนาการปกติ พัฒนาการบุคลิกภาพก็จะเพิ่มขึ้น หรือพัฒนาตามอายุ หรือตามช่วงวัยเช่นเดียวกัน เช่น พัฒนาการบุคลิกภาพของวัยผู้ใหญ่ย่อมจะดีกว่าวัยรุ่น แต่อย่างไรก็ดีพัฒนาการที่เป็นไปตามลำดับขั้นก็จะสร้างเสริมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นรอยประสบการณ์ของบุคคลด้วย
7. มนุษย์ต้องการการผักผ่อน การนอนหลับหรือแม้แต่การไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจก็
เป็นการทำให้ชีวิตสดชื่นขึ้น ยามใดที่บุคคลทำงานจนลืมนึกถึงตนเอง ยามนั้นความเหนื่อยความเมื่อยล้าทำให้ประสิทธิภาพของบุคคลลดน้อยถอยลง นั่นเป็นสิ่งที่เตือนว่าถึงเวลาที่ต้องพักผ่อนแล้ว
8. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ต้องการเพื่อน ต้องการกลุ่ม ต้องการสมาคม ไม่มีใคร
อยู่คนเดียวในโลก เราไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ เราทุกคนมีพ่อมีแม่ มีคนหลายคนเลี้ยงดูเรา มีหลายคนที่ดูแลอบรมให้การศึกษาเรา การมีเพื่อน การมีกลุ่มจะทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ยามทุกข์หรือสุข มีใครสักคนที่พร้อมจะฟังเราอยู่ข้างๆ เรา นี่แหละที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
9. มนุษย์ต้องการขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมี
กรอบในการดำเนินชีวิตตามกระแสของสังคมและประเทศชาติ และสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยในการปลูกฝังเจตคติ ค่านิยม แนวคิด การตัดสินใจ รวมไปถึงการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้บุคคลแตกต่างกันด้วย
10. มนุษย์มีความต้องการ การอยากรู้อยากเห็น การอยากเข้าใจในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ ดัง
นั้นมนุษย์ต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และตอบคำถามความอยากรู้ การใคร่จะรู้ด้วยตนเอง และการอยากรู้อยากเห็น ในแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันด้วย
ในเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับตนเองเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพนั้นยังมีแนวคิดอื่น ๆ อีก ที่ช่วยให้การ
ศึกษาเรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลนั้นๆ แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจร่วมกัน กล่าวคือความหมายของคำว่า บุคลิกภาพหมายถึงอะไร บุคลิกภาพ หมายถึง ทุก ๆ อย่างที่เป็นตัวเราทั้งที่ปรากฏและที่ซ่อนเร้น หรือในส่วนที่เป็นแนวคิด ค่านิยม ความเชื่อ คุณภาพทางจิต จิตแบบยึดติด หรือจิตแบบสารธารณะ คือจิตที่รู้จักให้ รู้จักอภัย รู้จักปล่อยวางและรู้จักที่จะเกื้อกูล ในสังคมมีคนหลากหลายมากมายท่านรู้หรือไม่ว่ามนุษย์มีความต้องการอะไรเขาอาจจะต้องการเงิน ต้องการเกียรติ ต้องการอำนาจ หรือไม่ก็ขอให้ถูกรางวัลกับเขาสักงวด บางคนอาจขอแค่มีกินก็มีความสุขแล้ว บางคนอาจขอแค่ลูก ๆ เป็นคนดีเท่านี้ก็พอใจแล้ว หลากหลายคำตอบหลากหลายความคิดซึ่งทุกคนคิดได้ ฝันได้และหวังได้ ส่วนจะเป็นตามที่หลายคนฝันหรือหลายคนหวังหรือไม่นั้น จะเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สำหรับแนวคิดของนักจิตวิทยาหลายท่านเชื่อว่ามนุษย์มีความต้องการ และได้อธิบายว่า มนุษย์มีความต้องการอะไร
5.1.2 ความต้องการของมนุษย์
แนวความคิดของมาสโลว์ ( Maslow ) เชื่อว่ามนุษย์มีความต้องการที่จะบรรลุถึงขีดสูงสุดของศักยภาพ มาสโลว์ เรียกความต้องการนี้ว่า การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า “Self Actualization” คำนี้เป็นความต้องการสูงสุดของมนุษย์ ( สำหรับของ Roger มนุษย์ต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “fully functioning self”และ Frederick Solomon Perlsบอกว่ามนุษย์ต้องการที่จะรับรู้ตนเองอย่างมีประสิทธิภาพตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Self-awareness”) ความต้องการขั้นสูงสุดนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อความต้องการในขั้นแรก ๆ ได้รับการตอบสนอง ถ้าพูดกันถึงเรื่องความต้องการ มาสโลว์ แบ่งความต้องการของมนุษย์ ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้คือ
ความต้องการลำดับที่ 1 ได้แก่ ความต้องการทางด้านสรีระ เป็นความต้องการพื้นฐานที่ใช้ในการดำรงชีวิต ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่นห่ม รวมไปถึงการพักผ่อน การรักษาสภาวะสมดุลภายในร่างกาย
ความต้องการลำดับที่ 2 ได้แก่ ความต้องการที่เกี่ยวกับความมั่นคง ความปลอดภัย สวัสดิการต่างๆ การคุ้มครองรวมไปถึงความช่วยเหลือจากผู้อื่น การรู้สึกว่าได้รับการปกป้อง
ความต้องการลำดับที่ 3 ได้แก่ ความต้องการที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ การรวมกลุ่มเป็นสมาคม กลุ่มร่วมงาน การมีมิตรภาพที่ดีกับคนอื่นๆ
ความต้องการลำดับที่ 4 ได้แก่ ความต้องการที่เกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง การยกย่องนับถือและการยอมรับจากสังคม
ความต้องการลำดับที่ 5 ได้แก่ ความต้องการที่เกี่ยวกับ การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง การซื่อสัตย์ต่อตนเอง การประพฤติปฏิบัติในแนวทางที่เหมาะสม การกระทำสิ่งต่างๆ ตามความสามารถของตน
เมื่อใดที่บุคลิกภาพของคนได้รับการพัฒนาจนถึงขั้นที่ 5 หรือมีความต้องการเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง บุคคลจะมีลักษณะบุคลิกภาพดังนี้ คือ สามารถรับรู้ความจริงได้อย่างถูกต้อง
ยอมรับตนเอง ผู้อื่น และความเป็นไปของโลก ควบคุมความคิดและพฤติกรรมของตนเองได้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง มีความอดทนและอดกลั้นต่อสถานการณ์ต่างๆได้ มีความสันโดษและต้องการอยู่ลำพังอย่างเสรี มีอารมณ์ที่มั่นคง มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีกับบุคคลทั่วไป มีความเป็นประชาธิปไตย มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น มีความซาบซึ้งในคุณค่าของความดีงาม แต่การจะเกิดบุคลิกภาพที่พัฒนาดังกล่าวข้างตันได้บุคคลจะต้อง มีลำดับขั้นการพัฒนาตั้งแต่ความต้องการทางร่างกาย ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงขั้นสุดท้ายบางท่านการก้าวกระโดด บางท่านอาจวิ่งขึ้นวิ่งลงอยู่ในช่วงใดก็ได้ แต่ความต้องการลำดับแรก อันได้แก่ความต้องการทางร่างกายจะมีอำนาจมากกว่าความต้องการทางสังคม และความต้องการทางสังคมก็จะรุนแรงกว่าความต้องการความสำเร็จ ถ้าบุคคลยัง ไม่ได้รับการตอบสนองในความต้องการลำดับแรกๆ บุคคลก็จะไม่เกิดความต้องการที่จะเข้าใจ ตนเองอย่างแท้จริง
ในเรื่องทฤษฎีความต้องการนั้นยังมีแนวคิดของนักจิตวิทยาอีกท่านที่น่าสนใจคือ ทฤษฎีของเมอร์เรย์ นักจิตวิทยาท่านนี้เชื่อว่า ความต้องการของมนุษย์แบ่งออกเป็น สองประเภทคือ
ประเภทที่หนึ่ง ความต้องการขั้นปฐมภูมิ หรือความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำ ความต้องการทางเพศ ความหิว ความกระหาย ความต้องการการพักผ่อน ความต้องการขับถ่าย
ประเภทที่สอง คือความต้องการขั้นทุติยภูมิหรือความต้องการทางจิตใจ ได้แก่ ความ
ต้องการในขั้นนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ร่างกายไม่ได้รับความพึงพอใจ หรือขบวนการของอินทรีย์ไม่สมดุลกันและมนุษย์จะพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อให้สนองความต้องการของตนเองออกมาโดยจะมีลักษณะดังนี้ คือ ความต้องการถ่อมตน เป็นบุคลิกภาพที่ยอมต่อบุคคลอื่น ยอมรับความเจ็บปวด ยอมรับคำตำหนิ ยอมแพ้ ยอมรับการถูกวิพากวิจารณ์เป็นผู้ยอมรับว่าตนเองด้อย เป็นผู้ที่สามารถยอมรับสภาพและแก้ตัว ปรับตัวใหม่ได้ ความต้องการผลสัมฤทธิ์ เป็นความต้องการที่จะทำสิ่งที่ยากๆ ท้าทาย ต้องการเป็นผู้นำ ชอบกระทำสิ่งต่างๆที่รวดเร็ว และชอบเป็นอิสระเท่าที่จะเป็นได้ ชอบเอาชนะอุปสรรคและชอบตั้งความหวังไว้สูง รวมไปถึงชอบเอาชนะคนอื่น อยากให้คนอื่นเห็นคุณค่าของตนเองโดยการใช้ความสามารถทางสติปัญญา ความต้องการผูกไมตรีกับคนอื่น เป็นลักษณะของการชอบให้ความร่วมมือกับบุคคลอื่น และชอบตอบแทนบุญคุณใครดีกับเราเราก็จะลึกได้ มีลักษณะชอบทำให้คนอื่นรัก ชอบติดสอยห้อยตามไปไหนๆกับเพื่อนฝูง ความต้องการเชิงรุก เป็นความต้องการที่ถ้าใครมามีทีท่าว่าจะรุกรานเรา บุคคลก็จะแสดงให้เห็นว่า ไม่ยอมกล่าวโทษคนอื่น ทำโทษคนอื่น ไม่พูด ไม่สนใจไม่ไยดี ทำทุกอย่างให้รู้ว่าโกรธ ความต้องการเป็นอิสระ เป็นลักษณะของการหนีจากการถูกบังคับ การต่อต้านการใช้อำนาจ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้อำนาจ ชอบทำอะไรที่สบายๆ อิสระ ไม่ผูกมัด ความต้องการเอาชนะ เป็นพวกที่ต้องการเอาชนะความล้มเหลวโดยการหันหน้าเข้าต่อสู้ พยายามลบล้างความอับอายโดยการกระทำพฤติกรรมซ้ำ ชอบเอาชนะความอ่อนแอโดยการเก็บความกลัวเอาไว้ พฤติกรรชอบเอาชนะเป็นพฤติกรรมที่ค่อนข้างไม่ซื่อสัตย์ บางครั้งอาจชอบแสวงหาความยากลำบากและอุปสรรคเพื่อเอาชนะ ต้องการคงไว้ซึ่งความเคารพตนเองและภูมิใจในตนเอง ความต้องการป้องกันตัว เป็นการป้องกันตัวจากการถูกทำร้าย หรือถูกวิพากษ์วิจารณ์ เป็นการแก้ตัวจากความเป็นจริง ความล้มเหลว การเสียเกียรติโดยการป้องกันตนเอง ความต้องการยกย่องผู้อื่น เป็นความนิยมชมชอบ สรรเสริญ ชื่นชมคนอื่นว่าดีแล้วเราก็ทำตามอย่างเขา เช่น มีเพื่อนใจเย็น พูดจาไพเราะเราก็ปรารถนาเป็นแบบเขา เพื่อต้องการให้คนอื่นยกย่องเราบ้าง ความต้องการแสดงออกเป็นความต้องการให้ผู้อื่นเห็น ได้ยินตนเอง ชอบตื่นเต้น ชอบคำชมเชย ทำทุกอย่างให้คนพอใจพฤติกรรมตนเอง แสดงให้คนอื่นเห็น ความต้องการมีอำนาจเหนือคนอื่น เป็นลักษณะการชอบควบคุมมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ชอบมีอิทธิพลเหนือคนอื่น มักใช้คำสั่งหรือบังคับ มักเป็นบุคคลที่พยายามเปลี่ยนแปลงความคิดของคนอื่นไม่ได้ด้วยเลห์ก็เอาด้วยกล พยายามทุกวิถีทางที่ให้คนฟังตน จนทำร้ายคนอื่นก็ไม่สนใจ ทำร้ายทางตรงไม่ได้ ก็ทำร้ายผู้อื่นทางอ้อม เดินนินทาคนโน้น คนนี้ ทั้งๆที่ตัวเองไม่ดี ใครอยู่ด้วยปวดหัว ความต้องการหลีกเลี่ยงอันตราย เป็นความต้องการที่มนุษย์ไม่ต้องการให้ตนเองเจ็บตัว ความเจ็บป่วย ความตาย หรือแม้แต่อันตรายต่างๆ ความต้องการหลีกเลี่ยงความอับอาย เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียชื่อเสียง หลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่ทำให้ตนเองรู้สึกตกต่ำ ความต้องการช่วยเหลือผู้อื่น เป็นความต้องการเห็นใจทำให้คน
พึงพอใจที่จะช่วยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์ ช่วยคนอื่นที่อ่อนแอกว่า ช่วยคนอื่นที่อ่อนประสบการณ์และช่วยคนอื่นที่ไม่มีเกียรติเท่าเราและเราปรารถนาที่จะช่วยเขาจริงๆ และช่วยอย่างจริงใจ
สิ่งที่มนุษย์ต้องการตามแนวคิดของนักจิตวิทยา คืออะไร ความต้องการเหล่านั้นได้รับการตอบสนองแล้วหรือยังถ้าเราใช้แรงปรารถนาของตนเองแล้วผักดันความต้องการของตนเอง สร้างสรรค์ความต้องการนั้นๆให้เป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์ เมื่อนั้นเราจะพบว่าชีวิตในช่วงหนึ่งของเรามีคุณค่าทีเดียว จงหาความต้องการของตนเองให้ได้ จงรู้จักตนเองให้ดี ใครจะมารู้จักตัวเราดีเท่าตัวเราเองไม่มีอีกแล้ว และเมื่อเราเข้าใจความต้องการและความปรารถนาของตนเองเราก็จะพัฒนาบุคลิกภาพตามทิศทางที่เราต้องการได้ สำหรับเรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพ ผู้ศึกษาควรเข้าใจเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่ององค์ประกอบที่ทำให้บุคลิกภาพทางสมบูรณ์นั้นมีลักษณะอย่างไร
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ จี จุง ( Carl G. Jung Theory )
ประวัติของคาร์ จี จุง เกิดที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1875 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1961 เขาเป็นนักจิตแพทย์ชาวสวิสที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่คิดเก่งหรือนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักจิตวิทยาที่อยู่ในระดับแนวหน้า Jung ยังได้ใช้เวลามาก ตลอดชีวิตศึกษาวิทยาการต่างๆ หลายๆ สาขา นอกจากนี้ ยังได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นนักจิตวิทยาที่ร่าเริง ใจดี และมีบุคลิกภาพที่ประทับใจผู้อื่น และยังเป็นผู้ที่เคร่งศาสนา งานวิจัยที่เขาทำเป็นเรื่องพฤติกรรมของบุคคล
แนวคิดที่สำคัญ ในช่วงแรกนั้นJung เน้นการศึกษาเรื่องจิตไร้สำนึก เช่นเดียวกับฟรอยด์แต่ต่อมา ได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆ อย่างลึกซึ้งขึ้น ทำให้มี Jung มีแนวความคิดแตกต่างกัน โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดมามีแนวโน้มที่จะรับมรดกจากบรรพบุรุษของเขา ซึ่งจะเป็นการชี้นำพฤติกรรมและกำหนดจิตสำนึก ตลอดจนการตอบสนองต่อประสบการณ์และโลกส่วนตัวของเขา หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่ามีการก่อตัวของเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ (Racial) และจะสะสมในบุคลิกภาพที่นำไปสู่การเลือกรูปแบบของการปรับตัวและการเลือกที่จะอยู่ในโลกของประสบการณ์แต่ละบุคคล บุคลิกภาพแต่ละบุคคลจึงเป็นผลของการกระทำของแรงภายใน ( Inner Forces ) ที่กระทำต่อแรงภายนอก (Outer Forces) ทฤษฎีนี้เน้นเรื่องของการเริ่มต้นของบุคลิกภาพที่เชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์ ในขณะที่ ฟรอยด์ เน้นจุดเริ่มต้นของบุคลิกภาพจากหลังกำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทารก
นอกจากนี้ Jung ยังได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล เป็นเสมือนผลผลิตของอดีต กล่าวคือ มนุษย์ได้ถูกปรุงแต่งและถูกวางรูปแบบให้เป็นตัวตนในปัจจุบัน โดยมีประสบการณ์ที่สะสมในอดีตโดยไม่รู้จุดเริ่มต้นของมนุษย์ว่าแยกมาจากเผ่าใด รากฐานของบุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องอดีตชาติ (Archaic) และบรรพกาล ( Primitive ) ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นเรื่องของความไร้สำนึก ที่ไม่สามารถจดจำได้ และมีขอบเขตอย่างกว้างขวาง (Universal) ในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์นั้นทฤษฎีนี้เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลรวมของอนาคตกาลกับอดีตกาล (Teleology and Causality) พฤติกรรมของมนุษย์ได้รับเงื่อนไขไม่เพียงแต่ความแตกต่างที่เกิดจากอดีตกาลเท่านั้น แต่ยังเกิดจากปัจจัยอื่นอีกเช่น ความมุ่งหมาย และความปรารถนาในอนาคตกาลของบุคคลอีกด้วย โดยอดีตกาลเป็นความจริงที่แสดงออก ในขณะที่อนาคตกาลเป็นเสมือนศักยภาพที่จะชี้นำบุคคลให้เกิดพฤติกรรมดังนั้นแนวความคิดที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพคือความคาดหวังในผลข้างหน้าอันเป็นการรับรู้ถึงการมองไปสู่อนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุให้บุคคลเกิดแนวทางในการพัฒนาตนเองในทางสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาความสมบูรณ์และคำนึงถึงการเกิดมาเพื่อมีชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง ( Rebirth )
อย่างไรก็ตามทฤษฎีของ Jung แตกต่างจาก Frued ที่อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นทางเพศ แต่ Jung เชื่อว่าบุคคลจะเป็นคนเช่นใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กด้วยเช่นกันองค์ประกอบของจิต(Structural Components of Psyche) เป็นผลรวมทั้งหมดของบุคลิกภาพที่ประกอบด้วยระบบต่างๆ ซึ่งทำงานร่วมกันดังนี้
องค์ประกอบของจิต (Structural Components of Psyche) มี 3 ระบบคือ
1. โครงสร้างทางบุคลิกภาพ (Structure of Personality)
2. ตน ( Self )
3. ระบบความสัมพันธ์ภายใน (Interdependent Systems) ซึ๋งแสดงเป็นแผนภูมิ 2
องค์ประกอบของจิต
(Structural Components of Psyche)
แสดงตัว (Extraversion)
เงา (Shadow)
เก็บตัว (Introversion)
การรู้สึก (Feelings)
ตน เป็นจุดศูนย์กลางของบุคลิกภาพ หมายถึง รูป (Archetype) ซึ่งนำบุคคลไปสู่การแสวงหาวิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ถึงจุดสูงสุด (Self Realization)
การคิด (Thinking)
ระบบความสัมพันธ์ภายใน (Interdependent Systems)
ตน
( Self )
ลักษณะของหญิงที่มีอยู่ในชาย (Anima)
และลักษณะของชายที่มีอยู่ในหญิง (Animus)
หน้ากาก (Persona)
จิตไร้สำนึกที่สะสมมาแต่อดีตกาล (Collective Unconscious)
ประสบการณ์ไร้สำนึก
(Personal Unconscious)
ตัวตน (Ego)
โครงสร้างทางบุคลิกภาพ
(Structure of Personality)
การทำหน้าที่ของบุคลิกภาพ 4 ประการ (Four Functions)
การรับรู้ทางประสาท
สัมผัส (Sensing)
การกำหนดรู้ในใจ
(Intuition)
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับตนเอง
๑. รู้ตัว รู้ตน หมายถึง การรู้ความเป็นไปได้ของตน รวมทั้งความพร้อมในด้านต่าง ๆ รู้ทั้งจุดเด่นและจุดด้อย รู้เท่าทันอารมณ์ รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกนั้น ๆ รู้ว่าผลที่จะตามมาเป็นอย่างไร ละประเมินความสามารถตนเองได้ตามความเป็นจริง และนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
๒. รู้ทน รู้ควร หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกของตนเอง เช่น จัดการกับความโกรธ ความไม่พอใจ ความหงุดหงิดได้ สามารถควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ถูกที่ควรได้ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ ใจกว้างสามารถรับฟังความคิดและข้อมูลใหม่ ๆ ตลอดจนปรับตัวต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
๓. รู้สร้างกำลังใจ หมายถึง การมีแรงบันดาลใจที่จะทำให้เกิดความพยายามในการก้าวสู่เป้าหมายอย่างไม่ท้อถอย มีความตั้งใจที่จะทำให้ดีที่สุดในสิ่งที่รับผิดชอบ เมื่อมีปัญหาก็ไม่ท้อแท้หมดกำลังใจ รู้จักมองโลกในแง่ดี และพยายามหาทางปรับปรุงแก้ไขจนถึงที่สุด
๔. รู้จักตั้งเป้าหมายหรือปรัชญาในการดำรงชีวิต เพื่อเดิมตามหรือทำตามเป้าหมายที่ตนต้องการ
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
ทฤษฎีบุคลิกภาพของErikson หรือ ทฤษฎีจิตสังคม
ทฤษฎีจิตสังคม (Psychosocial Theory of Personality ) ผู้ให้กำเนิดทฤษฎี คือ
Erik Homburger Erikson ดังอธิบายรายละเอียดดังนี้
ประวัติErik H. Erikson เป็นนักจิตวิทยาคลินิก เกิดที่เมือง Frankfurt ประเทศเยอรมัน เมื่อปี 1902 หลังจากที่เข้าเกิดไม่นานพ่อก็แยกจากแม่เขาไป ต่อมา Theodor Homburger ได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรม หนังสือของเขาที่พิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1939 จะปรากฏว่าเขาใช้ชื่อ Erikson Homburger ต่อมาเขาได้ใช้นามสกุลเดิมมาต่อท้ายชื่อจึงเป็น Erik H. Erikson
Erik H. Erikson ได้รับยกย่องเป็นศาสตราจารย์ในวิชาพัฒนาการมนุษย์จากมหาวิทยาลัย Harvard งานเขียนของเขาเป็นที่แพร่หลาย มีการนำไปแปลและตีพิมพ์เป็นภาษาต่างๆ มากมาย ตัวอย่าง ปัญหาต่างๆ ที่ Erikson ยกมาประกอบในงานเขียนของเขาได้มาจากคนไข้ Erikson ถือว่าเป็นศิษย์ของ Freud ที่มีความเข้าใจในงานและความคิดของ Freud เขาได้นำจิตวิเคราะห์มาประยุกต์ในขั้นพัฒนาการต่างๆและได้รับยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ มีความสามารถไม่ด้อยกว่า Freud
Erikson ได้เข้ามาร่วมงานและถือว่าเป็นศิษย์คนหนึ่งของ Freud ในการตั้งทฤษฎีเขาก็นำแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีของ Freud แต่มีแบบแผนที่แตกต่างไปจาก Freud สำคัญๆ 3 เรื่อง คือ
1. ระบบโครงสร้างของบุคลิกภาพ ( ซึ่ง Freud เน้นการทำงานของ id พัฒนาการมนุษย์โดยใช้ขั้นพัฒนาการทางเพศภายใต้การทำงานของพลังเพศ) แต่ทฤษฎีของ Erikson เน้นการวิเคราะห์ ego ว่ามีความสำคัญเพราะเป็นพลังที่ทำให้มนุษย์เกิดพัฒนาการของชีวิต เช่น การเกิดพัฒนาการของมโนมติต่างๆ และความสามารถในการตีความหมาย การสร้างมโนภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ ego ยังทำให้เกิดระบบความคิดที่แสดงความเป็นปัจเจกบุคคลเขาเชื่อว่าการศึกษาพัฒนาการของชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นด้วย ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับพัฒนาการมนุษย์คือ ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของประสบการณ์กับการทำหน้าที่ของ ego และเพิ่มช่วงพัฒนาการที่ขาดหายไปเป็น 8 ขั้น
2. แบบพิมพ์ทางสังคม (social matrix) Erikson กล่าวว่า แบบพิมพ์ทางสังคม คือความสัมพันธ์ของบุคคลกับผู้เลี้ยงดูและบุคคลนอกครอบครัว ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกของบุคคลด้วย
3. Erikson มุ่งความสนใจไปที่โอกาสที่บุคคลจะพัฒนาตนเองเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เขาเห็นว่าทั้งบุคคลและสังคมต่างก็สามารถอยู่ร่วมกันและมีความต้องการที่จะเจริญก้าวหน้า
จากแนวความคิดที่แตกต่างไปจาก Freud ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่า Erikson วางแนวทางใหม่ของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ซึ่งทำให้การนำไปใช้และการแปลความหมายพฤติกรรมกว้างขวางกว่าเดิมและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ข้อตกลงเบื้องต้นของทฤษฎี ( Assumption Basic to Erikson’s Theory )
การสร้างทฤษฎีของ Erikson มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดของ Freud ตามที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นข้อตกลงเบื้องต้นในทฤษฎีของเขาจึงมีรายละเอียดและแนวความคิดของ Freud และของเขาร่วมกัน
ข้อตกลงเบื้องต้นของทฤษฎี Erikson ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. วิธีการสร้างทฤษฎี (Approach to Theory Formation)
2. แบบแผนชีวิตมนุษย์ (Order of Human Life)
3. คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Values)
4. สาเหตุพฤติกรรมมนุษย์ (Etiology of Human Behavior)
5. แกนการทำหน้าที่ของมนุษย์ (Core of Human Functioning)
6. ทารกแรกเกิด (The Newborn)
7. สิ่งแวดล้อม (Environments) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical) สังคม
(Social) วัฒนธรรม (Culture) และความคิด (Ideational) ดังจะอธิบายเป็นข้อๆ คือ
1. วิธีการสร้างทฤษฎี (Approach to Theory Formation)
Erikson ยอมรับในวิธีการและเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลของทฤษฎีจิตวิเคราะห์โดยวิธีสังเกตเขาให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความสำคัญของจิตไร้สำนึก (unconscious) และจิตก่อนสำนึก ( preconscious ) ซึ่งแสดงออกมาในรูปของคำพูดหรือจากพฤติกรรมที่แสดงออก แนวความคิดของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในทัศนะของเขาคือ การทำความเข้าใจบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลซึ่งแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัวและเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เขากล่าวว่ากระบวนการสำคัญของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในการเข้าใจพัฒนาการของบุคคลคือการเข้าใจบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบนออกไปจากปกติ ซึ่งถือเป็นปัญหาหลักที่จะต้องพิจารณาเพื่อจะได้เข้าใจพัฒนาการของบุคลิกภาพปกติได้ชัดเจน Erikson ได้อธิบายเพิ่มเติมหลักสำคัญของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ให้กว้างขวางขึ้นโดยกล่าวว่าการวิเคราะห์เป็นรายบุคคลนั้นจ ะต้องพิจารณาบุคคลนั้นในกลุ่มสังคมและวัฒนธรรมของเขาด้วย Erikson ได้นำความรู้ทางจิตวิเคราะห์มาใช้ร่วมกับวิธีการทางสังคมวิทยา ส่วน Freud จะพิจารณาว่าบุคคลยึดตนเองเป็นศูนย์กลางในการกระทำหรือความรู้สึกนึกคิดต่างๆ โดยอิทธิพลของจิตไร้สำนึก (unconscious) Erikson ให้ความคิดเห็นในเรื่องการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางที่แตกต่างไปว่าการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้น เป็นเรื่องการรู้สำนึก (conscious) ตัวอย่างเช่น การเล่นของเด็กแสดงถึงการยึดตัวเองของเด็กได้เป็นอย่างดี
Erikson กล่าวว่าไม่มีการสังเกตโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่จะนำมาใช้อย่างได้ผล โดยไม่มีทฤษฎีนำทางก่อน ดังนั้นการจะอธิบานถึงลักษณะของพัฒนาการด้านต่างๆ ได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีพัฒนาการต่างๆ ทั้งหมดก่อน Erikson ได้ตั้งทฤษฎีและใช้คนไข้ในคลีนิกของเขาเป็นกลุ่มตัวอย่าง เขาศึกษาคนไข้จากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติประกอบกับประวัติส่วนตัวโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนมากซึ่งผลจากการศึกษาได้พิสูจน์ทฤษฎีของเขาได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการศึกษาเพื่อพิสูจน์ทฤษฎี Erikson กล่าวว่าผู้ศึกษาจะต้องมีความมั่นใจในกลุ่มตัวอย่าง มีระยะเวลาในการศึกษานานพอ และมีเทคนิคในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เขาให้ความสนใจความสำคัญในคุณภาพของข้อมูลมากกว่าวิธีการวัดต่างๆทฤษฎีของเขาจะเป็นไปตามลำดับ คือนำข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปมาประกอบกับความคิดเห็นของเขาแล้วพิจารณาคัดเลือกอีกครั้งเพื่อให้ตรงกับปัญหาที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการนี้มีแนวความคิดไปทางเดียวกับจิตวิเคราะห์ของ Freud และ Erikson ได้นำความรู้ที่ได้จากวิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เช่น การพิจารณาขั้นพัฒนาการต่างๆ ของเด็ก แต่เขาได้นำการศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย
2. แบบแผนชีวิต (Order of Human Life)
Erikson กล่าวว่า “บุคลิกภาพกับความสมดุลกับของสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน” เขาให้ความคิดเห็นว่าการมองเห็นคุณค่าและคุณธรรมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของการเจริญเติบโตและความต้องการที่จะพัฒนาตนเองซึ่งคุณค่าและคุณธรรมนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการฝึกหัดในวัยเด็ก ในความคิดของเขานั้นขอบข่ายพัฒนาการของมนุษย์ในแง่จิตวิทยามีการเปลี่ยนแปลงเหมือนๆ กับโครงสร้างทางชีวภาพทั้งจิตวิทยาและชีววิทยามีความสัมพันธ์ภายในกันมาก คือนับตั้งแต่คลอดเป็นต้นมา บุคคลจะมีการพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพควบคู่ไปกับคุณลักษณะทางด้านจิตใจตัวอย่างเช่นสิ่งแรกที่จะทำให้ทารกมีชีวิตอยู่รอดคือความสามารถในการใช้ปาก การย่อยอาหารและการขับถ่าย ดังนั้นพัฒนาการขั้นแรกคือการใช้ปากดูดเพื่อให้ชีวิตอยู่รอดและในขณะเดียวกัน การดูดก็ให้ความสุขแก่เด็กด้วย ในพัฒนาการแต่ละขั้นพบว่ามีพัฒนาการร่วมกันไปทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคลอดออกมาแล้วอวัยวะต่างๆ ก็หยุดการสร้างเพิ่มขึ้นแต่จะพัฒนาอวัยวะแต่ละส่วนให้เจริญเติบโตต่อไปซึ่งการพัฒนานี้จะควบคู่กับพัฒนาการทางด้านจิตใจ ทำให้มีความสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี Erikson กล่าวว่ากฎของความเจริญเติบโตทางร่างกาย ระยะเวลา และสิ่งแวดล้อม จะเข้ามาสัมพันธ์กันทุกครั้งที่มีความเจริญเติบโตเกิดขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นหน้าที่ของ ego และกระบวนการทางสังคม ความเจริญเติบโตทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นผลจากการทำงานร่วมกันของอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วย ego และความตระหนักในการเป็นสมาชิกของสังคม ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้จะเข้ามาทำงานร่วมกันตลอดเวลา
3. คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Values)
คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ เขาเน้นถึงความสามารถสร้างสรรค์และความสามารถในการปรับตัวเขายอมรับในความสามารถของแต่ละคนที่สามารถฟันฝ่าชีวิตอยู่ได้ด้วยความสามารถและความเป็นตัวของตัวเอง Erikson ไม่ได้มองว่าคนดีหรือเลวแต่บุคคลมีศักยภาพที่จะทำในสิ่งที่ดีหรือเลวได้เท่าๆ กัน ส่วนความเชื่อในเรื่องความคิดสร้างสรรค์นั้นเขากล่าวว่าบุคคลมีศักยภาพที่จะสร้างสรรค์สังคมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมต่างๆ ทางด้านการปรับตัว เขากล่าวว่า มีพฤติกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่บุคคลไม่สามารถแก้ไขได้ แต่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาเป็นจำนวนมากที่สามารถป้องกันไว้ก่อนได้
บุคคลจะมีคุณค่าเป็นที่รับรองจากบุคคลอื่นได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจและได้รับการยอมรับจากสังคม และในทำนองเดียวกันสังคมก็ต้องการบุคคลที่มีความคิดเห็นตรงกัน พึ่งพาอาศัยและยอมรับซึ่งกันและกัน คุณค่าพื้นฐานประการสุดท้ายคือบุคคลต้องมีความไว้วางใจและเคารพสถาบันของสังคม เช่น ศาสนา เป็นต้น
4. สาเหตุพฤติกรรมมนุษย์ (Etilology of Human Bahavior)
Erikson ยอมรับในแบบแผนพัฒนาการทางจิตเพศของ Freud (psychosexual) ซึ่งมีความเห็นว่าการที่บุคคลจะทำพฤติกรรมใดนั้น ก็เนื่องจากพลังที่เรียกว่าแรงขับซึ่งมีมาแต่กำเนิดจะเห็นว่าความคิดของเขาก็เป็นไปตามหลักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยถือว่าแรงขับนี้เกิดจากสัญชาตญาณ (instincts) และทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจ แสดงออกมาร่วมกันเรียกว่าพลังเพศ (libido)
พลังเพศ (libido) แสดงออกเป็นพฤติกรรมสำคัญ 2 ลักษณะ คือ เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด
พลังนี้แสดงออกเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด โดยสนองความต้องการที่เกิดจากสัญชาตญาณของการมีชีวิตเพื่อให้บุคคลเจริญเติบโตต่อไป (life instincts) และ เพื่อการทำลาย แสดงออกโดยพฤติกรรมต่างๆ เช่น ความก้าวร้าว เป็นการแสดงออกของสัญชาตญาณความตาย (dead instincts) โดยการทำงานของจิตไร้สำนึก (unconscious) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลต้องการจะกลับไปสู่ความมั่นคง ตัวอย่าง เช่น ชีวิตในวัยเด็กผู้ใหญ่มักหันกลับมามองว่าเป็นระยะเวลาแห่งการสุขสบาย ดังนั้นบางครั้งคนเราก็ต้องการมีความสุข จึงอาจมีพฤติกรรมถอยกลับไปสู่สภาพเดิมซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นสัญชาตญาณของความตาย
Eriksonยอมรับในพลังเพศ libido และถือว่าเป็นสิ่งกำหนดกรรมมนุษย์ พลังนี้ได้ทำงานออกมาในระบบ id ego และ superego การทำงานของ id และ superego จะขัดแย้งกันอยู่เสมอโดยมี ego เป็นตัวกลางที่จะประนีประนอมทั้ง 2 ระบบ
Ego ในทัศนะของเขาเป็นตัวตัดสินในการที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาโดยนำความรู้จากประสบการณ์มาร่วมพิจารณาด้วย ego จึงเป็นระบบที่แสดงคุณค่าของมนุษย์ ego ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์และมีความสามารถในการปรับตัว
พลังเพศ (libido) จะมีผลต่อประสบการณ์การรับรู้ของชีวิตทั้ง 3 ระดับคือประสบการณ์สำนึก (conscious experience) ประสบการณ์ใกล้สำนึก (preconscious experience) และประสบการณ์ไร้สำนึก (unconscious experience) โดยประสบการณ์ 2 ตัวหลังมีอิทธิพลสำคัญต่อแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล พลังเพศจะแสดงออกอย่างเปิดเผยในจิตทั้ง 3 ระดับ โดยมีระบบการทำงานที่ควบคุมโดย ego ซึ่งเป็นระบบที่สัมผัสความจริงในชีวิตและเป็นตัวตัดสินว่าพฤติกรรมใดควรแสดงออก
5. แกนการทำหน้าที่ของมนุษย์ (Core of Human Functioning)
Erikson มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับ Freud ว่าอารมณ์แทรกซึมอยู่ในการทำหน้าที่ทุกกระบวนการของมนุษย์ ธรรมชาติของอารมณ์พิจารณาได้จากคุณภาพความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สภาพทางอารมณ์ต่างๆ ที่แสดงออกมาในรูปของความคิด การกระทำความรู้สึก ฯลฯ ขึ้นอยู่กับสภาพความสมดุลของการทำงานร่วมกันของ id ego และ superego
สำหรับช่วงพัฒนาการในวัยเด็ก การเล่นของเด็กถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ Erikson เห็นว่าการเล่นเป็นหน้าที่สำคัญของ ego ในระยะนี้ เพราะการเล่นประกอบด้วยกระบวนการ 3 อย่าง คือ การคิด การสื่อสาร และพฤติกรรม เช่น การคิด ขณะเล่นเด็กจะมีรูปแบบของการคิดและคำพูดการสื่อสาร เด็กมีการสื่อสารซึ่งกันและกัน โดยใช้ทั้งภาษา
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
Individual Psychology
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Adler หรือ ทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคล ( Individual Psychology )
ประวัติ Alfred Adler เกิดประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1870 ครอบครัวของเขามีฐานะปานกลาง Adler เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน การศึกษาหลังจากเรียนจบการศึกษาเบื้องต้นแล้วเขาได้เข้าการศึกษาแพทย์ที่ Vienna Medical School จากการศึกษาที่นี่เขาได้รับการเน้นว่าแพทย์ต้องทำการรักษาคนไข้ทุกเรื่อที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาทั้งหมดไม่เฉพาะแต่เรื่องความเจ็บป่วยเท่านั้น Adler ชอบคำสอนที่ว่า “ถ้าคุณต้องการเป็นหมอที่ดี คุณก็ต้องเป็นคนที่มีความเมตตากรุณา” ( If you want to be a good doctor, you have to be a kind person) คำกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เขาสนใจมากและจดจำไม่ลืม
เมื่อเขาได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์แล้วเขาได้ตั้งคลีนิคส่วนตัวในย่านที่อยู่อาศัยของคนชั้นกลางซึ่งมีฐานะไม่ค่อยดีเท่าใดนักในเมืองVienna ใกล้ๆ กับสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง คนไข้ของเขามีทั้งศิลปินและนักกายกรรมซึ่งมาเปิดการแสดงที่สวนสาธารณะแห่งนี้ ในจำนวนคนไข้เหล่านี้มีคนไข้บางคนที่ทำให้ Adler พบว่าเขาเหล่านั้นได้พบความสำเร็จ มีพละกำลังหรือความแข็งแรงที่เกิดจากประสบการณ์ของความอ่อนแอและความเจ็บป่วยของตน ชักนำให้เกิดขึ้น จุดนี้เองทำให้ Adler สนใจในความคิดเรื่องการได้รับความสำเร็จจากการชดเชย และได้กลายมาเป็นความคิดรวบยอด (concept) ที่สำคัญอย่างหนึ่งในทฤษฎีบุคลิกภาพของเขา
นักจิตวิทยาในกลุ่มของ Adler ได้เข้ามาทำงานร่วมกับ Freud ต่อมาเขาไม่เห็นด้วยกับ Freud ในเรื่องของความฝัน (dreams) และได้ตีพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นนี้ ปี 1910 เขาได้รับเลือกเป็นประธานคนแรกของสมาคมจิตวิทยาวิเคราะห์ (Vienna Psycho – Analytic Society) ในระยะหลังๆ Adler ไม่เคยสร้างความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกับ Freud หรือกับนักจิตวิทยาคนสำคัญๆ ในกลุ่มจิตวิเคราะห์ เขาไม่ใช่คนที่จะสยบให้กับผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า และประกอบคำถามและคำวิจารณ์ความคิดบางอย่างในทฤษฎีของ Freud อย่างตรงไปตรงมาเป็นเหตุให้เขาต้องลาออกจากสมาคมนี้ไปในปี ค.ศ. 1911
หลังจากนั้น Adler ก็ได้มารวบรวมนักจิตวิทยาที่มีความคิดเห็นตรงกันตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่ เรียกชื่อว่า Society for Free Psycho – Analytic Research การตั้งชื่อเช่นนี้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงการไม่เห็นด้วยวิธีการที่ Freud ศึกษาคนไข้ แต่ในปี 1913 เขาได้เปลี่ยนชื่อสมาคมนี้ใหม่เป็น Individual Psychology เป็นชื่อที่สะท้อนถึงความเกี่ยวข้องต่างๆ ที่จะเข้าใจบุคลิกภาพทั้งหมด ไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งในเรื่องพฤติกรรมเท่านั้น ความหมายอีกอย่างหนึ่งของคำว่า “รายบุคคล (individual)” คือการแสดงสิ่งที่ปรากฏทั้งหมดหรือสิ่งที่อยู่ในรายบุคคล แต่คำ ๆ นี้มักนำไปใช้เป็นความหมายในการศึกษารายบุคคล (study of the individual) ซึ่งเป็นการศึกษาที่ตรงกันข้ามกับการศึกษาพฤติกรรมเป็นกลุ่ม และไม่ใช่ความหมายในทัศนะของ Adler ในทฤษฎีของ Adler คำว่า “รายบุคคล” (individual) สามารถเข้าใจได้จากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสมาชิกอื่นๆ ในสังคม
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 Adler ได้เป็นแพทย์รักษาทหารที่บาดเจ็บในโรงพยาบาลในกรุงเวียนนา (Vienna hospital) ซึ่งทำให้เขาได้รับประสบการณ์ต่างๆ กว้างขวางขึ้น เขาได้ค้นพบความสำคัญของมโนมติ (concept) ในเรื่องความสนใจสังคม (social interest) เขาได้เห็นความทารุณโหดร้ายของสงครามที่มีต่อประชาชน สงครามเป็นผลมาจากการขาดความไว้วางใจ และขาดความร่วมมือกัน สิ่งเหล่านี้เป็นแรงจูงใจในการเขียนผลงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อมูลทั่วๆ ไปของมนุษย์ เช่น ความต้องการที่จะร่วมมือกัน (cooperation) ความรัก (love) และการได้รับการยอมรับนับถือระหว่างมนุษย์ด้วยกัน (respect) ในขณะเดียวกันเขาก็ให้ความช่วยเหลือที่จะสร้างคลีนิคแนะแนวเด็กขึ้นในโรงเรียนในกรุงเวียนนา (child guidance clinic) ให้คำปรึกษาแก่เด็กและครอบครัว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 เป็นต้นมา
Adler เป็นนักจิตวิทยาที่ได้รับการยอมรับระหว่างประเทศเขาได้ไปบรรยายในยุโรป สหรัฐอเมริกา และได้ถึงแก่กรรมด้วยหัวใจวาย ขณะที่ได้รับเชิญเป็นอาจารย์อาคันตุกะ (tour lecture) เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1937
จิตวิทยารายบุคคล (Individual Psychology) เป็นทฤษฎีรายบุคคลที่มุ่งทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์โดยคำนึงถึงความซับซ้อนและการจัดระบบของแต่ละบุคคล
โครงสร้างของทฤษฎี
โครงสร้างทฤษฎีบุคลิกภาพ มีแนวความคิดที่สำคัญๆ ของ Adler มี 6 เรื่องต่อไปนี้
1. การยึดถือสิ่งที่เป็นจินตนาการ ( Fictional Finalism )
2. การแสวงหาความยิ่งใหญ่ ( Striving for Superiority )
3. ความรู้สึกด้อยและการชดเชย ( Inferiority Feeling and Compensation )
4. ความสนใจสังคม ( Social Interest )
5. แบบแผนชีวิต ( Style of Life )
6. การเลี้ยงดูของพ่อแม่ โดยจะอธิบายเป็นภาพรวมดังนี้
Adler เชื่อในเรื่องอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล
นอกจากนี้เขายังเชื่อว่าสถานการณ์ที่กดดันจะทำให้บุคคลที่พิการ หรือคนที่ขาดสามารถย้ำให้เห็นบุคลิกภาพที่โดดเด่นได้ยิ่งขึ้น และ เขาสรุปโครงสร้างทฤษฎีของเขาว่า การสร้างบุคลิกภาพเป็นผลสืบเนื่องมาจากสิ่งที่เป็นมาแต่กำเนิด ( Organism ) เพราะมนุษย์มีระยะเวลาที่เป็นทารกนานในช่วงนั้นบุคคลจะได้รับอิทธิพลของเจตคติในครอบครัวของตน หรืออิทธิพลของพ่อแม่ ผู้ปกครองซึ่งทำให้บุคคลอาจ รู้สึกถึงความรู้สึกด้อยและพยายามหาทางชดเชย โดยวิธีการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อลบล้างเพื่อให้ตนรู้สึกดีในกลุ่มผู้ใหญ่โดยการแสวงหาความยิ่งใหญ่ การยึดถือสิ่งที่เป็นจินตนาการและเดินไปสู่จิตนาการแห่งตนโดยมีความรู้สึกเกี่ยวกับสังคมและความสนใจสังคมซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการพัฒนาการของบุคคล ซึ่งถือเป็นเรื่องของการมีสามัญสำนึก ( Common sense ) ดังนั้นวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกคนมีแบบแผนชีวิตที่หลากหลายกันไป และสิ่งสำคัญในเรื่องของชีวิตและในเรื่องการเลี้ยงดู การพัฒนาบุคลิกภาพในช่วง 5 ปีแรกนั้น สิ่งแวดล้อม ( Milieu )ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และยังรวมถึงเจตคติที่พ่อแม่มีต่อเด็ก สัมพันธภาพระหว่างพี่น้องก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาบุคลิกภาพ ดังนั้นพ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกมีบุคลิกภาพที่ดี พ่อแม่ควรจะส่งเสริมให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง ให้ความรักกับลูกของท่าน ให้ความยุติธรรม ไม่ช่วยเหลือลูกจนลูกทำอะไรเองไม่เป็น มีความเข้าใจในตัวลูกของท่านและที่สำคัญคือท่านต้องสามารถรับฟังความคิดเห็นลูกท่านได้ และไม่ว่าลูกจะเกิดในลำดับใดหากลูกได้รับความรู้สึกที่ดีๆ ดังกล่าวจากพ่อแม่สมบูรณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพจะเป็นไปตามแบบแผน แต่เขาก็ไม่ปฏิเสธว่าลำดับการเกิดมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ
ความสัมพันธ์ของครอบครัวกับบุคลิกภาพ
ในเรื่องความสัมพันธ์ของครอบครัวเขาเชื่อว่า ลำดับการเกิดทำให้บุคลิกภาพของบุคคลแตกต่างกัน เช่น
1. ลูกคนโต มักจะมีบุคลิกภาพ เป็นคนเอาจริงเอาจังต่อชีวิต มีความรับผิดชอบ มักเป็น
ผู้นำ ผู้ไว้อำนาจแต่ถ้าแก้ความก้าวร้าวไม่ได้ ลูกคนโตมักมีบุคลิกภาพก้าวร้าว เคร่งเครียด และอิจฉาริษยา
2. ลูกคนรอง มักมีบุคลิกภาพ เป็นคนไม่เคร่งเครียด ไม่เอาจริงเอาจังเท่าไรนัก มีนิสัย
รักสนุก ไม่ค่อยสนใจที่จะเป็นผู้นำหรือรับผิดชอบสักเท่าไร แต่เมื่อลูกคนรองมีน้อง ความรู้สึกการแข่งขันจะเกิดขึ้นทันที ถ้าในครอบครัวมีสัมพันธภาพไม่ดีอาจทำให้ลูกคนรองที่กลายมาเป็นคนกลางอาจมีความรู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียง และเกิดปัญหาในที่สุด
3. ลูกคนสุดท้อง มักมีบุคลิกภาพเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง ช่างประจบ ชอบให้คนอื่น
ช่วยเหลือ ได้รับความรักจากพ่อแม่พี่ๆ ค่อนข้างมาก ถ้าเลี้ยงดีก็จะดีมากแต่ถ้าเลี้ยงตามใจมากเด็กอาจเสียในที่สุด
4. ลูกโทน มักจะมีบุคลิกภาพที่มักจะเอาแต่ใจตนเอง มักถูกตามใจจนเคยตัว แต่ถ้า
ครอบครัวสอนให้รู้เหตุรู้ผลลูกโทนจะมีความเชื่อมั่นในตนเอง องอาจ นับถือตนเอง แต่ความรับผิดชอบอาจน้อยเพราะต้องการอะไรก็มักจะได้โดยง่ายจึงไม่รู้ค่าของสิ่งที่มี
แนวคิดของ Adler ยังเน้นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และเขาบอกว่าการดูคนต้องดูทั้งหมด ดูทุกแง่ทุกมุมและนำความรู้จากการดูนั้นมาทำความเข้าใจบุคคลนั้นทั้งหมด ( Person as a whole ) และเด็กจะรู้ถึง”ตน” เมื่ออายุ 2 ขวบ และเด็กก็จะรู้ถึงความ”เด่น” และความ”ด้อย” ด้วยเช่นกัน
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Knowles (1975, pp. 14-17) กล่าวถึง การเรียนรู้ด้วยตนเองว่ามีความสำคัญ 4 ประการ คือ 1. บุคคลที่เรียนรู้ด้วยการริเริ่มของตนจะเรียนได...
-
ข้อมูลบริษัท บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนการค้าระหว่าง ฮอนด้ามอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท พี ไทยแลนด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจ...
-
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงมีความสำคัญมากในการกำหนดกลยุทธ์ด้วยเหตุผล 4 ประการคือ ประการแรก สภาพแวดล้อมเป็นทั...
-
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษา...
-
1. องค์กรแบบปฐม (Primary Organization) เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยสมาชิอกขององค์กรมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันดี และรูปแบบของความสัมพั...