การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Analysis)
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
การจัดการเชิงกลยุทธ์
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)
กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์นั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ เกี่ยวกับ
1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ( Product attribute )
2. ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ ( Product mix )
3. สายผลิตภัณฑ์ ( Product lines )
สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์ ( Product Concept )
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ( Product attribute ) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร
มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
3.ลักษณะเด่นของสินค้า ( Product Feature ) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติแตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่น ลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส
4.ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ( Product Benefit ) พิจารณาว่าสินค้ามีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
และสินค้าให้ประโยชน์อะไรกับลูกค้าบ้าง ระหว่างการให้สัญญากับลูกค้า กับการพิสูจน์ด้วยลักษณะเด่นของสินค้า
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ
1.2 สำรวจแหล่งขาย โดยผู้ประกอบการจะต้องทราบถึงแหล่งขายสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการจัดซื้อว่าอยู่ที่ใด มีผู้ขายกี่ราย แต่ละรายกำหนดราคาขายเท่าไร คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขในการขายอย่างไรบ้าง เมื่อสำรวจแหล่งขายแล้ว คาดว่าจะจัดซื้อ จากผู้ขายรายใด ควรมีการเจรจาตกลง ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดซื้อ ในกรณีจัดซื้อครั้งละเป็นจำนวนมาก การเจรจาระหว่าง ผู้จัดซื้อและผู้ขาย ควรจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการเป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1.3 การสั่งซื้อ หลังจากได้มีการเจรจาตกลงกันแล้ว ผู้จัดซื้อจัดทำใบสั่งซื้อ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วัน เดือน ปี ที่สั่งซื้อ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้จัดซื้อ ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขในการส่งมอบ เงื่อนไขในการชำระเงิน
1.4 การรับสินค้าหรือวัตถุดิบ เมื่อผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้จัดซื้อ จะต้องมีใบกำกับสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ที่ส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้สั่งซื้อ ผู้จัดซื้อจะต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ได้รับให้ตรงตามใบสั่งซื้อ
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
เงินลงทุนในตราสารหนี้
เงินลงทุนในตราสารหนี้ เป็นสินทรัพย์ที่กิจการไปลงทุนซื้อตราสารหนี้ ซึ่งเป็นสัญญาที่
แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงหรือทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น
ให้แก่ผู้ถือตราสารตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย (สภาวิชาชีพ
บัญชี, 2549,หน้า5) เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสำคัญ
แสดงสิทธิในหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ เป็นต้น ตราสารหนี้จะมีราคากำหนดไว้ในใบ
ตราสารหนี้ เรียกว่า ราคาที่ตราไว้ (Par Value) ผลตอบแทนหรือรายได้ที่ได้รับจากการลงทุนใน
ตราสารหนี้ คือ ดอกเบี้ย (Interest) ซึ่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจน โดยอัตราดอกเบี้ยที่
กำหนดไว้ในใบตราสารหนี้จะเป็นอัตราต่อหนึ่งปีเสมอ งวดการจ่ายดอกเบี้ยอาจกำหนดปีละหนึ่ง
ครั้งหรือสองครั้งและอาจกำหนดวันจ่ายดอกเบี้ยไว้ นอกจากนี้อาจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้เช่น
วันครบกำหนดของตราสารหนี้ เป็นต้น
ผลตอบแทนในตราสารหนี้ คือ ดอกเบี้ยที่คำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ ส่วน
รายได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ อาจไม่ใช่จำนวนเงินที่คำนวณจากอัตรา
ดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ เนื่องจากกิจการอาจจ่ายลงทุนด้วยราคาที่ไม่เท่ากับราคาตามมูลค่า หาก
กิจการจ่ายลงทุนด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่า แสดงว่าในขณะนั้นรายได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำ
กว่ารายได้ดอกเบี้ยตามที่กำหนดเรียกว่ามี ส่วนเกินมูลค่า ในทางตรงข้ามหากกิจการจ่ายลงทุนในตราสารหนี้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามมูลค่า แสดงว่าในขณะนั้นรายได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงจะสูงกว่า
รายได้ดอกเบี้ยตามที่กำหนดเรียกว่ามี ส่วนลดมูลค่า ในกรณีที่เป็นเงินลงทุนระยะยาว ส่วนเกิน
มูลค่าหรือส่วนลดมูลค่าของเงินลงทุนในตราสารหนี้จะมีการตัดบัญชีหรือตัดจำ หน่าย
(Amortization) ตลอดอายุของเงินลงทุน ผลจากการตัดบัญชีจะทำให้บัญชีเงินลงทุนมีราคาเท่ากับ
ราคาตามมูลค่า ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน เงินลงทุนในตราสารหนี้ในความต้องการของตลาด
ได้แก่ หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย และ ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด
หลักทรัพย์หรือเงินลงทุนในความต้องการของตลาด หมายถึง หลักทรัพย์หรือเงินลงทุนอื่น
ที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายคล่อง จึงทำให้สามารถกำหนดมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ หรือเงิน
ลงทุนนั้นได้ทันที มูลค่ายุติธรรมจะถือว่าสามารถกำหนดได้ในทันทีหากราคาขายหรือราคาเสนอซื้อ
หรือเสนอขายมีการเผยแพร่ที่เป็นปัจจุบันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์
อื่นที่ทำการเผยแพร่ราคาต่อสาธารณชน (สภาวิชาชีพบัญชี, 2549,หน้า6)
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
ความหมายของเงินลงทุน
ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสาร
ทุน ของสภาวิชาชีพบัญชีได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเงินลงทุนไว้ดังนี้ว่า
เงินลงทุน หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกิจการไม่ว่าจะอยู่ใน
รูปของส่วนแบ่งที่จะได้รับ (เช่น ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ์ และเงินปันผล) ในรูปของราคาที่เพิ่มขึ้น หรือใน
รูปของประโยชน์อย่างอื่นที่กิจการได้รับ (เช่น ประโยชน์ที่ได้รับจากความสัมพันธ์ทางการค้า)(สภา
วิชาชีพบัญชี,2549,หน้า4)
จากความหมายดังกล่าว เงินลงทุนจึงเป็นสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับ
กิจการโดยกิจการจะนำเงินสดที่มีมากเกินความต้องการ ที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในขณะนั้นไปลงทุนในตราสารทางการเงินและสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้อื่น เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน ซึ่ง
จะทำให้กิจการมีผลประโยชน์เพิ่มมากกว่าการถือเงินสดไว้เป็นจำนวนมาก ผลตอบแทนที่ได้รับ
จากการลงทุนอาจอยู่ในรูปของ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ เป็นต้น นอกจากนี้ในการลงทุนของ
กิจการอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้า เป็นต้น
ต้นทุนของเงินลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนนั้น ได้แก่
ราคาจ่ายซื้อเงินลงทุน ซึ่งอาจได้มาโดยการจ่ายเงินสดซื้อเงินลงทุน หรือการแลกเปลี่ยนกับ
สินทรัพย์อื่นโดยในการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์อื่นจะพิจารณาจากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่
นำไปแลก นอกจากนี้ต้นทุนของเงินลงทุนยังรวมถึง ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม ค่าภาษีอากร และ
ค่าใช้จ่ายทางตรงอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการได้มาของเงินลงทุน
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
รายจ่ายหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
“ค่าครุภัณฑ์” หมายความว่า
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำ เองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
ในสิ่งของดังต่อไปนี้
1.1 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปี
ขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งเกิน 5,000 บาทหรือ
1.2 สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์
2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบ ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งของตามข้อ 1
เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพดีขึ้น
ค่าใช้จ่ายตามวรรคแรกให้หมายความรวมถึงค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาเพื่อ
ดำ เนินการเอง
3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำ ระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี
ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายคาครุภัณฑ์
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
“ค่าวัสดุ” หมายความว่า
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำ เองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ใน
สิ่งของดังต่อไปนี้
1.1 สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไปเอง แปรสภาพ หรือไม่
คงสภาพเดิมอีกต่อไป หรือ
1.2 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร แต่มีอายุการใช้งานมในระยะเวลาประมาณ
ไม่เกิน 1 ปี หรือ
1.3 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ
1 ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท ยกเว้นสิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็น
ครุภัณฑ์หรือ
1.4 สิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำ รุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน เพื่อ
ให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพคงเดิม
2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำ ระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี
ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายค่าวัสดุ
“ค่าสาธารณูปโภค” หมายความว่า รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการสาธารณูปโภค เช่น
1. ค่าไฟฟ้า
2. ค่านํ้าประปา
3. ค่าโทรศัพท์ ค่าโทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศ ค่าโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ
ค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฯลฯ และให้หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใช้บริการดังกล่าว และค่าใช้
จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น ค่าเช่าเครื่อง ค่าเช่าเลขหมายโทรศัพท์ ค่าบำ รุงรักษาสาย ฯลฯ
4. ค่าไปรษณีย์ ค่าโทรเลข ค่าธนาณัติ ค่าซื้อดวงตราไปรษณียากร ค่าเช่าตู้ไปรษณีย์
5. ค่าบริการทางด้านโทรคมนาคม เช่น ค่าโทรภาพหรือโทรสาร (FACSIMILE) ค่า
เทเลกซ์ (TELEX) ค่าวิทยุติดตามตัว ค่าวิทยุสื่อสาร ค่าสื่อสารผ่านดาวเทียม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้
ระบบอินเตอร์เน็ต (INTERNET) และค่าสื่อสารอื่น ๆ และให้หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใช้
บริการดังกล่าวและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้บริการ
0 ความคิดเห็น Filed Under: | Continue>>>
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Knowles (1975, pp. 14-17) กล่าวถึง การเรียนรู้ด้วยตนเองว่ามีความสำคัญ 4 ประการ คือ 1. บุคคลที่เรียนรู้ด้วยการริเริ่มของตนจะเรียนได...
-
ข้อมูลบริษัท บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนการค้าระหว่าง ฮอนด้ามอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท พี ไทยแลนด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจ...
-
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงมีความสำคัญมากในการกำหนดกลยุทธ์ด้วยเหตุผล 4 ประการคือ ประการแรก สภาพแวดล้อมเป็นทั...
-
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษา...
-
1. องค์กรแบบปฐม (Primary Organization) เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยสมาชิอกขององค์กรมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันดี และรูปแบบของความสัมพั...