Custom Search

การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)

Posted on วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 by modal

เป็น กระบวนการที่ผู้บริหารแปลงกลยุทธ์ และนโยบายไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงบประมาณ หรือวิธีการดำเนินงานซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภาย ในด้านวัฒนธรรม โครงสร้าง หรือระบบการบริหาร เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการด้วยกันคือ
      1.    การกำหนดแผน และการจัดสรรทรัพยากร (Resources Allocation)
      2.    การปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธ์ และการใช้ทรัพยากร
      3.    การ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เช่น เรื่องระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบบริหารบุคคล (การให้การศึกษา การฝึกอบรม การกระตุ้น ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ)
      4.    การกระจายกลยุทธ์ (Strategic Deployment) หาก องค์กรได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการดำเนินการก็จะทำให้เกิดการสูญเปล่า เพราะถึงแม้ว่าแผนงานเหล่านั้นจะเป็นแผนที่ถูกจัดทำมาเป็นอย่างดี ผ่านการระดมความคิดเห็นมาอย่างเข้มข้นเพียงใดก็ตาม หากไม่ลงมือปฏิบัติก็ย่อมไม่เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1402&read=true&count=true#sthash.Q7zmZAj6.dpufเป็น กระบวนการที่ผู้บริหารแปลงกลยุทธ์ และนโยบายไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงบประมาณ หรือวิธีการดำเนินงานซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภาย ในด้านวัฒนธรรม โครงสร้าง หรือระบบการบริหาร เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการด้วยกันคือ
      
กระบวนการที่ผู้บริหารแปลงกลยุทธ์ และนโยบายไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงบประมาณ หรือวิธีการดำเนินงานซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภาย ในด้านวัฒนธรรม โครงสร้าง หรือระบบการบริหาร เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการด้วยกันคือ

1.    การกำหนดแผน และการจัดสรรทรัพยากร (Resources Allocation)
      2.    การปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธ์ และการใช้ทรัพยากร
      3.    การ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เช่น เรื่องระบบข้อมูลข่าวสาร ระบบบริหารบุคคล (การให้การศึกษา การฝึกอบรม การกระตุ้น ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ)
      4.    การกระจายกลยุทธ์ (Strategic Deployment) หาก องค์กรได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการดำเนินการก็จะทำให้เกิดการสูญเปล่า เพราะถึงแม้ว่าแผนงานเหล่านั้นจะเป็นแผนที่ถูกจัดทำมาเป็นอย่างดี ผ่านการระดมความคิดเห็นมาอย่างเข้มข้นเพียงใดก็ตาม หากไม่ลงมือปฏิบัติก็ย่อมไม่เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้

เพื่อ ทำให้เกิดผลขึ้นจริงในทางปฏิบัติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการกระจายแผนไปยังทุก ๆ ส่วนทั่วทั้งองค์กร โดยต้องสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ ซึ่งจากเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic goals) อาจถูกแปลงเป็นเป้าหมายย่อย (Sub goals) กำหนดเป็นเป้าหมายประจำปี (Annual goals) จาก นั้นค่อยแยกย่อยไปเป็นเป้าหมายของแต่ละโครงการ แต่ละกลุ่ม เพื่อให้บุคลากรทราบว่าเป้าหมายของตนเองที่ชัดเจนนั้นคืออะไร และควรที่จะดำเนินการในเรื่องใดก่อน ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับล่างสุดเข้าใจเป้าหมายที่ไม่คลาด เคลื่อนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อกระบวนการในการวัดผลที่เหมาะสมด้วย ทั้งยังช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมพอดี เพียงเพื่อให้บรรลุผลในแต่ละโครงการหรือแต่ละกลุ่มนั่นเอง
            ความ สำเร็จขององค์กรนั้นเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการนำกลยุทธ์ไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ผู้บริหารควรมีการมอบหมาย และกำหนดแนวทางหรือวิธีการในการปฏิบัติงาน สิ่งสำคัญในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Analysis)

Posted on by modal

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Analysis) สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ประกอบไปด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
      •     สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรง แต่สามารถส่งผลกระทบต่อองค์กรได้ โดยมีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political -P) เศรษฐกิจ (Economic -E) สังคม(Social -S) เทคโนโลยี(Technology -T) ยก ตัวอย่างเช่น หากรัฐบาลออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการ ดำเนินงานขององค์กร หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัย อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
     สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ศาสตราจารย์ ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน ที่ชื่อว่า The Five Competitive Force ซึ่ง จะทำให้ทราบถึงสมรรถนะของคู่แข่งขันที่มีอยู่แล้วและที่จะเข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า ระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน และสามารถสร้างความร่วมมือกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1402&read=true&count=true#sthash.Q7zmZAj6.dpufการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Analysis) สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ประกอบไปด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมในการดำเนินสภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรง แต่สามารถส่งผลกระทบต่อองค์กรได้ โดยมีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political -P) เศรษฐกิจ (Economic -E) สังคม(Social -S) เทคโนโลยี(Technology -T) ยก ตัวอย่างเช่น หากรัฐบาลออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการ ดำเนินงานขององค์กร หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัย อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ศาสตราจารย์ ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน ที่ชื่อว่า The Five Competitive Force ซึ่ง จะทำให้ทราบถึงสมรรถนะของคู่แข่งขันที่มีอยู่แล้วและที่จะเข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า ระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน 
การวิเคราะห์ผู้แข่งขันที่เข้ามาใหม่(New Entrants) ซึ่ง ผู้เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคามซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้า มาและภาวะการตอบโต้ขององค์กร โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่ ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้ผู้แข่งขันต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอจึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้ ความแตกต่างของสินค้า (Differentiation) หรือ ขนาดของทุน (Capital Requirement) เนื่อง จากผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องรับภาระแบกรับต้นทุนที่สูงมากในด้านต่าง ๆ เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างของอุปสรรคสำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งผู้บริหารจะต้องสร้างภาวะการตอบโต้โดยอาศัยความได้เปรียบด้านอุปสรรคของ ผู้เข้ามาใหม่ในด้านต่าง ๆ
การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyers) ผู้ บริหารในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนจะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์กรจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองจากลูกค้า ในเรื่องของปริมาณ คุณภาพ และราคา
การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitutes) การ มีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์กรต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า ราคา และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์กรเสียเปรียบต่อคู่แข่งขัน ทางธุรกิจได้
การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Suppliers) ผู้ จัดส่งวัตถุดิบจะมีความสำคัญเนื่องจากองค์กรจะต้องเผชิญกับพลังการต่อรองของ ผู้จัดส่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารองค์กรจะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับกับพลังการต่อรองนั้น
การวิเคราะห์คู่แข่งขันที่มีอยู่แล้ว(Rival existing) คู่ แข่งขันมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากผู้บริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งขันอาจจะนำมาซึ่งการสูญเสียลูกค้าได้ ในท้ายที่สุด
      โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร จะทำให้ทราบถึงโอกาส(การ ผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร มาทำให้องค์กรมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน) หรืออุปสรรค(เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำให้ความเสียหายแก่องค์กร ธุรกิจ) ขององค์กรได้

การจัดการเชิงกลยุทธ์

Posted on by modal

1. กำหนดทิศทาง (Direction Setting) ในการกำหนดทิศทางขององค์กรจะประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) ภารกิจ ( Mission ) และเป้าหมาย (Gold) ซึ่ง วิสัยทัศน์ (Vision) คือกรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดทิศทางในระยะยาว ภารกิจ (Mission) คือ ประกาศขององค์กรที่กำหนดว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน กำลังจะทำอะไรในอนาคต และองค์กรเป็นองค์กรแบบใดและจะก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแบบใด ทั้งนี้เพื่อบรรลุสู่ความเป็นเลิศเหนือกว่าคู่แข่งขัน เป้าหมาย (Gold) คือ การบอกสิ่งที่องค์กรปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต โดยมีการกำหนดให้ชัดเจน กระชับ และสามารรถวัดได้ ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะมีการกำหนดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าการกำหนดภารกิจ ว่าจะต้องทำสิ่งใด
2. การประเมินสภาพแวดล้อมขององค์กร(Environment Scanning) ใน การประเมินสภาพแวดล้อมขององค์กรนั้นจะประกอบไปด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายใน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง(Strength -S) จุดอ่อน(Weakness -W) โอกาส(Opportunity -O) และอุปสรรค(Threat -T)
        2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Analysis) มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ทราบถึงจุดแข็ง(คือลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์กรที่มีสมรรถนะเหนือกว่าคู่แข่งขัน) และจุดอ่อน(คือลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์กรที่มีสมรรถนะด้อยกว่าคู่แข่งขัน)ทางธุรกิจขององค์กร การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) ห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) และกระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์กรมีความสามารถหลักที่โดดเด่น(Core competency)
      •     การวิเคราะห์ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (Critical success factor) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ต้องทำให้มีหรือให้เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุความ สำเร็จตามวิสัยทัศน์ องค์กรควรมีปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมเพื่อเชื่อมโยงการ ปฏิบัติงานทุกระดับให้มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้บริหารขององค์กรรู้ว่าต้องทำสิ่งใดบ้างเพื่อให้ผล สัมฤทธิ์ขององค์กรตอบสนองวิสัยทัศน์ หากปราศจากปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ วิสัยทัศน์ขององค์กรจะไม่ได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและมี ประสิทธิผล
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1402&read=true&count=true#sthash.Q7zmZAj6.dpuf1. กำหนดทิศทาง (Direction Setting) ในการกำหนดทิศทางขององค์กรจะประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) ภารกิจ ( Mission ) และเป้าหมาย (Gold) ซึ่ง วิสัยทัศน์ (Vision) คือกรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดทิศทางในระยะยาว ภารกิจ (Mission) คือ ประกาศขององค์กรที่กำหนดว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน กำลังจะทำอะไรในอนาคต และองค์กรเป็นองค์กรแบบใดและจะก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแบบใด ทั้งนี้เพื่อบรรลุสู่ความเป็นเลิศเหนือกว่าคู่แข่งขัน เป้าหมาย (Gold) คือ การบอกสิ่งที่องค์กรปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต โดยมีการกำหนดให้ชัดเจน กระชับ และสามารรถวัดได้ ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะมีการกำหนดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าการกำหนดภารกิจ ว่าจะต้องทำสิ่งใด
2. การประเมินสภาพแวดล้อมขององค์กร(Environment Scanning) ใน การประเมินสภาพแวดล้อมขององค์กรนั้นจะประกอบไปด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายใน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง(Strength -S) จุดอ่อน(Weakness -W) โอกาส(Opportunity -O) และอุปสรรค(Threat -T)
        2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Analysis) มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ทราบถึงจุดแข็ง(คือลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์กรที่มีสมรรถนะเหนือกว่าคู่แข่งขัน) และจุดอ่อน(คือลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์กรที่มีสมรรถนะด้อยกว่าคู่แข่งขัน)ทางธุรกิจขององค์กร การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) ห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) และกระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์กรมีความสามารถหลักที่โดดเด่น(Core competency)
      •     การวิเคราะห์ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (Critical success factor) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ต้องทำให้มีหรือให้เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุความ สำเร็จตามวิสัยทัศน์ องค์กรควรมีปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมเพื่อเชื่อมโยงการ ปฏิบัติงานทุกระดับให้มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้บริหารขององค์กรรู้ว่าต้องทำสิ่งใดบ้างเพื่อให้ผล สัมฤทธิ์ขององค์กรตอบสนองวิสัยทัศน์ หากปราศจากปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ วิสัยทัศน์ขององค์กรจะไม่ได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและมี ประสิทธิผล 

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)

Posted on วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 by modal

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์  (Product  Strategy)กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์นั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ เกี่ยวกับ
             1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute )  
             2.  ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ ( Product  mix ) 
             3. สายผลิตภัณฑ์ ( Product  lines ) 
สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์


             1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  ( Product  Concept )  
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
             2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร 
มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
             3.ลักษณะเด่นของสินค้า  ( Product  Feature  ) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติแตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่น ลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส
             4.ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์  ( Product  Benefit )   พิจารณาว่าสินค้ามีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
และสินค้าให้ประโยชน์อะไรกับลูกค้าบ้าง  ระหว่างการให้สัญญากับลูกค้า กับการพิสูจน์ด้วยลักษณะเด่นของสินค้า

แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ

Posted on วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 by modal

การตั้งสถานประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม ส่งที่นำมาใช้ในการผลิตคือ วัตถุดิบ เช่นโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง วัตถุดิบ คือ อะไห่และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ วัตถุดิบ คือ ไม้ ฯลฯ ดังนั้นในการจัดตั้งสถานประกอบการธุรกิจ จึงต้องคำนึงถึง แหล่งวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ในการผลิต ควรจะอยู่ในแหล่งวัตถุดิบหรืออยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เพื่อสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งย่อมลดลง เช่น โรงงานผลิตปลากระป๋อง ควรตั้งอยู่ใกล้ ชายฝั่งทะเลจะได้วัตถุดิบราคาถูก คุณภาพดี แต่ถ้าโรงงานผลิตปลากระป๋อง ตั้งอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเลมาก วัตถุดิบที่จัดหาอาจไม่มีหรือมีจำนวนน้อยทำให้วัตถุดิบราคาสูง คุณภาพไม่ดี และต้องเสียค่าขนส่งสูง เป็นต้น นอกจากนั้น ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติด้วย เช่น น้ำ อากาศ เนื่องจากในการผลิต ส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ำ กิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จึงตั้งอยู่ ใกล้แม่น้ำ หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ
ในการตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แม่น้ำ ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมด้วย เช่น ในการผลิตจะมีของเสียจากการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีระบบในการกำจัดน้ำเสีย ไม่ถ่ายเทน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลองหรือเปลี่ยนสภาพจากน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะ ถ่ายเทลงในแม่น้ำคลอง กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมเมื่อทำการผลิตแล้ว มีฝุ่นละอองหรือควันเสีย จะต้องทำการป้องกันมิให้อากาศเป็นพิษด้วย การประกอบการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ประเภท พาณิชยกรรม หรือประเภทอุตสาหกรรมการเลือกทำเลที่ตั้งสถานที่ประกอบการจะ ต้องคำนึงถึงแหล่งจัดซื้อ เพื่อให้การจัดซื้อได้สินค้า หรือวัตถุดิบราคา ที่เหมาะสม เสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อต่ำ คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นตาม ที่ต้องการ และได้ทันเวลาที่มีความต้องการของตลาด
การจัดซื้อเพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนดังนี้
1.1 กำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัตถุดิบ ที่ต้องการซื้อทั้งคุณภาพและปริมาณ
1.2 สำรวจแหล่งขาย โดยผู้ประกอบการจะต้องทราบถึงแหล่งขายสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการจัดซื้อว่าอยู่ที่ใด มีผู้ขายกี่ราย แต่ละรายกำหนดราคาขายเท่าไร คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขในการขายอย่างไรบ้าง เมื่อสำรวจแหล่งขายแล้ว คาดว่าจะจัดซื้อ จากผู้ขายรายใด ควรมีการเจรจาตกลง ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดซื้อ ในกรณีจัดซื้อครั้งละเป็นจำนวนมาก การเจรจาระหว่าง ผู้จัดซื้อและผู้ขาย ควรจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการเป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1.3 การสั่งซื้อ หลังจากได้มีการเจรจาตกลงกันแล้ว ผู้จัดซื้อจัดทำใบสั่งซื้อ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วัน เดือน ปี ที่สั่งซื้อ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้จัดซื้อ ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขในการส่งมอบ เงื่อนไขในการชำระเงิน
1.4 การรับสินค้าหรือวัตถุดิบ เมื่อผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้จัดซื้อ จะต้องมีใบกำกับสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ที่ส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้สั่งซื้อ ผู้จัดซื้อจะต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ได้รับให้ตรงตามใบสั่งซื้อ

เงินลงทุนในตราสารหนี้

Posted on วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 by modal

เงินลงทุนในตราสารหนี้ เป็นสินทรัพย์ที่กิจการไปลงทุนซื้อตราสารหนี้ ซึ่งเป็นสัญญาที่
แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงหรือทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น
ให้แก่ผู้ถือตราสารตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย (สภาวิชาชีพ
บัญชี, 2549,หน้า5) เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสำคัญ
แสดงสิทธิในหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ เป็นต้น ตราสารหนี้จะมีราคากำหนดไว้ในใบ
ตราสารหนี้ เรียกว่า ราคาที่ตราไว้ (Par Value) ผลตอบแทนหรือรายได้ที่ได้รับจากการลงทุนใน
ตราสารหนี้ คือ ดอกเบี้ย (Interest) ซึ่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจน โดยอัตราดอกเบี้ยที่
กำหนดไว้ในใบตราสารหนี้จะเป็นอัตราต่อหนึ่งปีเสมอ งวดการจ่ายดอกเบี้ยอาจกำหนดปีละหนึ่ง
ครั้งหรือสองครั้งและอาจกำหนดวันจ่ายดอกเบี้ยไว้ นอกจากนี้อาจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้เช่น
วันครบกำหนดของตราสารหนี้ เป็นต้น
ผลตอบแทนในตราสารหนี้ คือ ดอกเบี้ยที่คำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ ส่วน
รายได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงจากการลงทุนในตราสารหนี้ อาจไม่ใช่จำนวนเงินที่คำนวณจากอัตรา
ดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ เนื่องจากกิจการอาจจ่ายลงทุนด้วยราคาที่ไม่เท่ากับราคาตามมูลค่า หาก
กิจการจ่ายลงทุนด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตามมูลค่า แสดงว่าในขณะนั้นรายได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำ
กว่ารายได้ดอกเบี้ยตามที่กำหนดเรียกว่ามี ส่วนเกินมูลค่า ในทางตรงข้ามหากกิจการจ่ายลงทุนในตราสารหนี้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามมูลค่า แสดงว่าในขณะนั้นรายได้ดอกเบี้ยที่แท้จริงจะสูงกว่า
รายได้ดอกเบี้ยตามที่กำหนดเรียกว่ามี ส่วนลดมูลค่า ในกรณีที่เป็นเงินลงทุนระยะยาว ส่วนเกิน
มูลค่าหรือส่วนลดมูลค่าของเงินลงทุนในตราสารหนี้จะมีการตัดบัญชีหรือตัดจำ หน่าย
(Amortization) ตลอดอายุของเงินลงทุน ผลจากการตัดบัญชีจะทำให้บัญชีเงินลงทุนมีราคาเท่ากับ
ราคาตามมูลค่า ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน เงินลงทุนในตราสารหนี้ในความต้องการของตลาด
ได้แก่ หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย และ ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด
หลักทรัพย์หรือเงินลงทุนในความต้องการของตลาด หมายถึง หลักทรัพย์หรือเงินลงทุนอื่น
ที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายคล่อง จึงทำให้สามารถกำหนดมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ หรือเงิน
ลงทุนนั้นได้ทันที มูลค่ายุติธรรมจะถือว่าสามารถกำหนดได้ในทันทีหากราคาขายหรือราคาเสนอซื้อ
หรือเสนอขายมีการเผยแพร่ที่เป็นปัจจุบันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์
อื่นที่ทำการเผยแพร่ราคาต่อสาธารณชน (สภาวิชาชีพบัญชี, 2549,หน้า6)

ความหมายของเงินลงทุน

Posted on by modal

ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสาร
ทุน ของสภาวิชาชีพบัญชีได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเงินลงทุนไว้ดังนี้ว่า
เงินลงทุน หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับกิจการไม่ว่าจะอยู่ใน
รูปของส่วนแบ่งที่จะได้รับ (เช่น ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ์ และเงินปันผล) ในรูปของราคาที่เพิ่มขึ้น หรือใน
รูปของประโยชน์อย่างอื่นที่กิจการได้รับ (เช่น ประโยชน์ที่ได้รับจากความสัมพันธ์ทางการค้า)(สภา
วิชาชีพบัญชี,2549,หน้า4)
จากความหมายดังกล่าว เงินลงทุนจึงเป็นสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับ
กิจการโดยกิจการจะนำเงินสดที่มีมากเกินความต้องการ ที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในขณะนั้นไปลงทุนในตราสารทางการเงินและสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้อื่น เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน ซึ่ง
จะทำให้กิจการมีผลประโยชน์เพิ่มมากกว่าการถือเงินสดไว้เป็นจำนวนมาก ผลตอบแทนที่ได้รับ
จากการลงทุนอาจอยู่ในรูปของ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ เป็นต้น นอกจากนี้ในการลงทุนของ
กิจการอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้า เป็นต้น
ต้นทุนของเงินลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนนั้น ได้แก่
ราคาจ่ายซื้อเงินลงทุน ซึ่งอาจได้มาโดยการจ่ายเงินสดซื้อเงินลงทุน หรือการแลกเปลี่ยนกับ
สินทรัพย์อื่นโดยในการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์อื่นจะพิจารณาจากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่
นำไปแลก นอกจากนี้ต้นทุนของเงินลงทุนยังรวมถึง ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม ค่าภาษีอากร และ
ค่าใช้จ่ายทางตรงอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการได้มาของเงินลงทุน

รายจ่ายหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

Posted on by modal

“ค่าครุภัณฑ์” หมายความว่า
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำ เองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
ในสิ่งของดังต่อไปนี้
1.1 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปี
ขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งเกิน 5,000 บาทหรือ
1.2 สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์
2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบ ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งของตามข้อ 1
เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพดีขึ้น
ค่าใช้จ่ายตามวรรคแรกให้หมายความรวมถึงค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาเพื่อ
ดำ เนินการเอง
3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำ ระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี
ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายคาครุภัณฑ์

“ค่าวัสดุ” หมายความว่า

Posted on by modal

1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำ เองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ใน
สิ่งของดังต่อไปนี้
1.1 สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไปเอง แปรสภาพ หรือไม่
คงสภาพเดิมอีกต่อไป หรือ
1.2 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร แต่มีอายุการใช้งานมในระยะเวลาประมาณ
ไม่เกิน 1 ปี หรือ
1.3 สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ
1 ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งไม่เกิน 5,000 บาท ยกเว้นสิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็น
ครุภัณฑ์หรือ
1.4 สิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำ รุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน เพื่อ
ให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพคงเดิม
2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำ ระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี
ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายค่าวัสดุ

“ค่าสาธารณูปโภค” หมายความว่า รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการสาธารณูปโภค เช่น
1. ค่าไฟฟ้า
2. ค่านํ้าประปา
3. ค่าโทรศัพท์ ค่าโทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศ ค่าโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ
ค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฯลฯ และให้หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใช้บริการดังกล่าว และค่าใช้
จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น ค่าเช่าเครื่อง ค่าเช่าเลขหมายโทรศัพท์ ค่าบำ รุงรักษาสาย ฯลฯ
4. ค่าไปรษณีย์ ค่าโทรเลข ค่าธนาณัติ ค่าซื้อดวงตราไปรษณียากร ค่าเช่าตู้ไปรษณีย์
5. ค่าบริการทางด้านโทรคมนาคม เช่น ค่าโทรภาพหรือโทรสาร (FACSIMILE) ค่า
เทเลกซ์ (TELEX) ค่าวิทยุติดตามตัว ค่าวิทยุสื่อสาร ค่าสื่อสารผ่านดาวเทียม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้
ระบบอินเตอร์เน็ต (INTERNET) และค่าสื่อสารอื่น ๆ และให้หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้ใช้
บริการดังกล่าวและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้บริการ

บทความที่ได้รับความนิยม