วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การจัดหาเงินทุนสำหรับสินทรัพย์หมุนเวียน

นโยบายการจัดหาเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน

  • Permanent Current Asset สินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำที่ธุรกิจมีไว้เพื่อการดำเนินงานตามปกติ
  • Temporary Current Asset สินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นการชั่วคราวเพื่อยอดขายที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจเลือกใช้นโยบายสินทรัพย์หมุนเวียนได้ 3 แบบ

1. Maturity Matching (Self Liquidating Approach) มีหนี้สินหมุนเวียนตามสถานการณ์ 2. Relatively Aggressive Approach' มีส่วนของเจ้าของและหนี้สินระยะยาวน้อย ทำให้มีหนี้สินหมุนเวียนมาก 3. Conservative Approach มีส่วนของเจ้าของและหนี้สินระยะยาวมาก ทำให้มีหนี้สินหมุนเวียนที่ต้องการเพิ่มขึ้นน้อย

เงินลงทุนระยะสั้น

ข้อดี
  • ใช้เวลาในการกู้น้อยกว่า
  • มีความยืดหยุ่นมากกว่า เหมาะกับความต้องการลงทุนตามฤดูกาล
  • ต้นทุนของหนีสินระยะสั้นต่ในภาวะปกติต่ำกว่าระยะยาว
ข้อเสีย
  • มีความเสี่ยงมากกว่า
  • อัตราดอกเบี้ยผันผวน
  • ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำจะไม่สามารถชำระหนี้ได้

แหล่งเงินทุนระยะสั้น

  • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
  • เจ้าหนี้การค้า
  • เงินกู้จากธนาคาร
  • ตราสารพานิชย์
  • เงินกู้ที่มีหลักประกัน

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

  • ไม่มีต้นทุน
  • ไม่มีดอกเบี้ย

เจ้าหนี้การค้า หรือเครดิตทางการค้า

  • เครดิต (สินเชื่อ) ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นเงินเชื่อ
  • เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่ใหญ่แหล่งหนึ่ง โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็ก
  • เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ไม่ยุ่งยากแต่มีต้นทุนสูง
ตัวอย่างการคำนวณ
นาย ก ซื้อสินค้าถัวเฉลี่ยวันละ 2000 บาท
ผู้ขายให้เครดิต 10 วัน
แหล่งเงินทุนของนาย ก ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติจากเครดิตทางการค้า = 2000x10 = 20,000 บาท

ต้นทุนของเครดิตทางการค้า

ตัวอย่าง A&B ซื้อสินค้า 30,000 บาท เงื่อนไขการขาย 2/10,net 30

ราคาที่กำหนด = ราคาจริง + Finance Charge
30,000 = 29,400 + 600
100% = 98% + 2%
ระยะเวลา 20 วัน = ผลประโยชน์ที่สูญเวียไป/ราคาจริง = 2/98
ระยะเวลา 1 ปี = 2/98 x 365/20
อัตรา Finance Charge = 37.2%
จำนวนรอบ = 365/20 = 18.25 EFF = (1.0204)^18.25-1 = 44.6%

เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร

  • เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ แต่ไม่สามารถเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
  • ต้นทุนของการกูขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการกู้

การกู้เงินแบบ FLAT RATE

  • ดอกเบี้ย 12% ผ่อนชำระเงินต้นรวมดอกเบี้ยเป็นงวดทุกเดือน
  • ดอกเบี้ยจ่าย = 0.12(10,000) = 1,200 บาท
  • รวมเงินต้นและดอกเบี้ย = 10,000+1,200 = 11,200 บาท
  • ผ่อนชำระเดือนละ 11,200/12 = 933.33 บาท

PV = 10,000;
PMT = 933.33;
FV = 0;
N=12;
CPT; I=1.788%

EFF = 1.01788^12-1 = ประมาณ 24%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น