วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โลจิสติกส์

โลจิสติกส์ จุดกำเนิดเกิดมาจากการปฏิบัติการทางการทหารในการสนับสนุนและส่งกำลังบำรุงกองทัพ การจัดหาที่พัก อาหาร และน้ำให้กับทหารในสนามรบ
คำว่าโลจิสติกส์มาจากภาษากรีก “Logistikos” ซึ่งมีความหมายว่าความเชี่ยวชาญในการคำนวณ ซึ่งความเชี่ยวชาญดังกล่าวก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญของโลจิสติกส์ใน ปัจจุบัน

การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) หมายถึง...
“กระบวนการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ และการควบคุมการทำงานขององค์กร รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูลและธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม การกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และการบริการ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ”
“ การเคลื่อนย้าย หรือการไหล (Flow) ของวัตถุดิบ ข้อมูลตั้งแต่เป็นวัตถุดิบจนเป็นสินค้าสำเร็จรูปจากต้นทางจนถึงปลายทางผู้บริโภค โดยมีการประสานแต่ละขั้นตอนการดำเนินงาน”
ทั้งนี้ ในปัจจุบันถือว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์เป็นกระบวนการย่อยหนึ่งในการจัดการสินค้าและบริการตลอดสายของโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
(ความหมายของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การประสานกิจกรรมหลักๆของธุรกิจ (ทั้งภายในบริษัทและระหว่างบริษัท) เชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆภายในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงสมรรถนะในระยะยาว ของบริษัทและของหุ้นส่วนตลอดห่วงโซ่ )
ประเทศไทยมีธุรกิจอีกมากมายที่ยังไม่มีการนำการบริหารจัดการแบบ โลจิสติกส์ มาปฏิบัติ แต่ว่าธุรกิจเหล่านั้นก็ยังที่จะดำเนินต่อไปได้ มีการขนส่ง, คลังสินค้า, การกระจายสินค้า ซึ่งก็เป็นการกระจายสินค้าในรูปแบบหนึ่งของการจัดการด้าน โลจิสติกส์ เพียงแต่ไม่เป็น โลจิสติกส์ ตรงที่ไม่มีการจัดการในเชิงปฏิสัมพันธ์เชิงระบบ คือ ไม่มีความเป็นบูรณาการ
วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย
1. ทำให้กิจกรรมโลจิสติกส์มีต้นทุนที่ต่ำลง (Low Cost)
2. ทำให้กิจกรรมโลจิสติกส์สามารถส่งสินค้าหรือได้มาซึ่งวัตถุดิบตรงตามเวลาที่ต้องการ (Time Deliveries)
3. ทำให้ระยะเวลาในการตอบสนองคำสั่งซื้อและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าลดลง (Shorten Lead Time)
4. ทำให้กิจกรรมโลจิสติกส์สามารถตอบสนองความต้องการต่างๆ ของลูกค้าได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นคูณภาพของสินค้าหรือบริการ (Meeting Customer Requirement/Expeclation)
5. ทำให้กิจกรรมโลจิสติกส์มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงสุด ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ตลาด (Being Flexibility and Responsiveness)
6. ทำให้กิจกรรมโลจิสติกส์สามารถรับรองความต้องการของฝ่ายต่างๆ ในบริษัทได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายผลิตและฝ่ายการตลาด (Good Supportive Roles)
7. ทำให้กิจกรรมโลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Adding Product / Service Value)
ระบบโลจิสติกส์จะครอบคลุมกิจกรรม ดังนี้
1. การบริการลูกค้า (Customer Service)
2. กระบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
3. การสื่อสารระหว่างกันในการส่งผ่านกระจายสินค้า (Distribution Communication)
4. การควบคุมสินค้าคงคลังในโกดัง (Inventory Control)
5. การคาดคะเนความต้องการ (Demand Forecasting)
6. กระบวนการขนส่ง (Traffic and Transportation)
7. การบริหารคลังสินค้า (Warehousing and storage)
8. การเลือกแหล่งที่ตั้งของคลังสินค้าและโรงงาน (Plant and Warehouse Site Selection)
9.การขนถ่ายวัตถุดิบและการบรรจุภัณฑ์ (Material Handling & Packaging)
10. การจัดหาวัตถุดิบ (Procurement)
11. การสนับสนุนทางด้านบริการและชิ้นส่วนประกอบ (Part and Service Support)
12. การเคลื่อนย้ายของเสียจากกระบวนการผลิตหรือการนำมันกลับมาใช้ใหม่ (Salvage and Scrap Disposal)
13. การยกขนสินค้าเพื่อส่งคืน (Return Goods Handling)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น