Custom Search

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)

Posted on วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555 by modal

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) ดังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การส่งเสริมการขายทำหน้าที่ในการเร่งเร้าและกระตุ้นให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น สำหรับในธุรกิจเอสเอ็มอีนี้ มีกลวิธีของการส่งเสริมการขายที่น่าสนใจดังนี้

  • การแจกสินค้าตัวอย่าง (Samples)
    เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ลดความเสี่ยงโดยไม่ต้องซื้อสินค้าก็สามารถทดลองใช้ ชิมหรือดมสินค้าก่อน เช่น ถ้าเป็นธุรกิจขายขนม ก็มีมุมหรือตัวอย่างสินค้าให้ลูกค้าได้ชิมก่อนตัดสินใจซื้อรับประทาน แต่ถ้าเป็นธุรกิจทำน้ำอบไทย ก็เปิดโอกาสให้ลูกค้าเป้าหมายได้ดมความหอมสดชื่นแบบไทยๆ ของน้ำอบก่อนตัดสินใจซื้อไปใช้
    ?
  • ให้คูปอง (Coupons)
    อาจมีการแจกคูปองเพื่อนำมาแลกสินค้าหรือซื้อลดราคา ณ ร้านค้า โดยให้ทีมงานไปแจกคูปองในย่านชุมชน สำนักงานหรือแหล่งธุรกิจก็ได้ อย่าได้นึกถึงคูปองที่มีสีสันสวยงามอะไรที่สินค้าต่างๆ เขาทำแจกเลย เพราะธุรกิจเอสเอ็มอีมีงบประมาณน้อย อาจเป็นคูปองที่ทางเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีทำเองโดยการพิมพ์แบบง่ายๆ และมีลายเซ็นกำกับก็ถือว่าใช้ได้แล้ว
    ?
  • การลดราคาสินค้า (Price - off)
    ต้องยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการลดราคาเป็นกลวิธีของการส่งเสริมการขายที่ใช้ในการเรียกร้องและดึงดูดความสนใจจากลูกค้าเป้าหมายได้เป็นอย่างดีเพื่อให้เกิดการทดลองใช้สินค้านั่นเอง
    ?
  • การรับประกันจ่ายเงินคืน (Money - Back Guarantees)
    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งกลวิธีที่สร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อสินค้าของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ไม่น้อยกว่าวิธีอื่นๆ
จะเห็นได้ว่ากลวิธีที่กล่าวมาข้างต้นจะถูกกำหนดตามประเภทของธุรกิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราคาและคุณภาพของสินค้าเป็นพื้นฐานสำคัญ บางกลวิธีก็เหมาะสมกับธุรกิจเอสเอ็มอีในบางธุรกิจ แต่บางกลวิธีก็ดูจะไม่เหมาะสมกับธุรกิจเอสเอ็มอีในอีกธุรกิจเอาเสียเลย เช่น การรับประกันจ่ายเงินคืนเป็นกลวิธีที่เหมาะสมกับธุรกิจบริการอย่างร้านทำผม ส่วนการให้คูปองก็อาจจะไม่เหมาะสมเอาเสียเลยกับสำนักงานทนายความเพราะไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้เมื่อไหร่นั่นเอง
ดังนั้นเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีจะต้องคำนึงถึงปัจจัยสามอย่างที่สำคัญอันได้แก่ เวลา งบประมาณ และความพยายามที่ทุ่มเทในการดึงดูดความสนใจและชักจูงลูกค้าให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้า แต่ถ้าไม่สนใจการเก็บลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้กลับมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าใหม่แล้วละก้อ มั่นใจได้เลยว่าสิ่งที่อุตส่าห์ใช้ความพยายามมาตั้งแต่ต้นขบวนย่อมได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้นการเก็บลูกค้า (Keeping Customers) จึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญที่นักธุรกิจเอสเอ็มอีจะต้องทราบและเลือกใช้เครื่องมือไอเอ็มซีอย่างถูกวิธีอีกด้วย

การประชาสัมพันธ์

Posted on by modal

การประชาสัมพันธ์
หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้

  1. การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)
  2. การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)
  3. การให้ข่าว (News)
  4. การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches)
  5. การให้บริการชุมชนและสังคม (Public and Social Services Activities)
  6. การใช้สื่อเฉพาะ (Identify Media)

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)

Posted on by modal

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)
หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ
1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
 1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
 1.2 การลดราคา (Price Off)
 1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
 1.4 การคืนเงิน (Rabates)
 1.5 การให้ของแถม (Premiums)
 1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
 1.7 การเสนอขายโดยรวมผลิตภัณฑ์ (Combination Offers)
 1.8 การแข่งขัน (Contest) และการชิงรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค (Sweeptakes)
 1.9 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)
 1.10 แสตมป์การค้าและแผนการต่อเนื่อง (Trading Stamp and Continuity Plan)
2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion) 2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
 2.2 ส่วนลด (Discount)
 2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
 2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
 2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
 2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion) 3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
 3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
 3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
 3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
 3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

การตัดสินใจที่สำคัญในกระบวนการโฆษณา

Posted on by modal

  1. การตัดสินใจเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย หรือผู้ฟัง (Market) คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ฟัง ผู้ชม
  2. การตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา
     2.1 เพื่อแจ้งข่าวสาร (To Inform)
     2.2 เพื่อจูงใจ (To Persuade)
     2.3 เพื่อเตือนความจำ (To Remind)
  3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณการโฆษณา
  4. การตัดสินใจสร้างสรรงานโฆษณา
  5. การตัดสินใจเลือกสื่อโฆษณา ได้แก่ สื่อโฆษณา โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายตรง สื่อโฆษณานอกสถานที่
  6. การตัดสินใจการวิจัยและวัดผลการโฆษณา

ประเภทของการโฆษณา

Posted on by modal

1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้
 1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)
 1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)
2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
 2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
 2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
 2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
 2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)
3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium) 3.1 ทางโทรทัศน์
 3.2 ทางวิทยุ
 3.3 ทางนิตยสาร
 3.4 โดยใช้จดหมายตรง
 3.5 นอกสถานที่
4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose) 4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน
 (Product Versus Institutional Advertising)
 4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า
 (Commercial Versus Noncommercial Advertising)
 4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้
 (Action Versus Awareness Advertising)

บทความที่ได้รับความนิยม