ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน เป็นระบบที่มีการวางแผนมาจากรัฐบาลกลาง ประกอบด้วย
1. ระบบสังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่จำกัดเสรีภาพของเอกชน โดยรัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตขนาดใหญ่ และเป็นผู้ดำเนินการควบคุมการผลิตในกิจการที่สำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อคนทั้งประเทศ โดยพยายามที่จะจัดสรรรายได้ให้เท่าเทียมกันมากที่สุด ภายใต้ระบบนี้เอกชนอาจจะมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ๆ ได้ แต่รัฐจะเข้าไปควบคุมแทรกแซง และเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าหรือบริการเอง
2. ระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะถือกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรทางเศรษฐกิจทั้งหมด เพื่อให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าและบริการเป็นของประชาชนทั้ง มวล อย่างสมบูรณ์จริง ๆ นั้นไม่มีเหลืออยู่อีกแล้ว จะมีก็แต่ระบบสังคมนิยมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเท่านั้น คือ ยอมให้ทำการค้าเสรีได้บ้าง เป็นต้น
จุดอ่อนที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน คือ ภาคเอกชนขาดเสรีภาพในการผลิตและการบริโภค ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจทุกอย่างต้องเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล นั่นเอง
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมกันระหว่างแบบทุนนิยมกับสังคมนิยม คือ รัฐจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และการผลิตขั้นพื้นฐานหรือโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) แต่เอกชนก็เป็นเจ้าของได้เช่นกัน ทั้งนี้รัฐอาจจะเข้าแทรกแซงกลไกทางการตลาดได้บ้างในบางกรณี เช่น เพื่อสวัสดิการของประชาชน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น