Custom Search

The Responsive Organization(การตอบสนองขององค์การ)

Posted on วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 by modal

โครงสร้างองค์การมี 2 ประเภทดังนี้
1. โครงสร้างแบบจักรกล( Mechanistic Structures) – มุ่งเน้นประสิทธิภาพภายในองค์การสูงสุด
2. โครงสร้างแบบมีชีวิต( Organic Structures) – เน้นความยืดหยุ่น
องค์ประกอบของโครงสร้างแบบมีชีวิต
- มีการทำงานเป็นทีมมากกว่าเป็นกลุ่มอยู่ภายใต้การควบคุม
- หลีกเลี่ยงการทำงานแบบเป็นทางการ
- ตอบสนองความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการแข่งขันและสภาพตลาดที่แท้จริง
- มีการกระจายอำนาจและมีความยืดหยุ่นมากชึ้น
- ต้องมีความรู้ ความชำนาญระดับสูง
- มีความเชื่อถือและให้การยอมรับในการตัดสินใจ
- การมีส่วนร่วมในเป้าหมายขององค์การ และมีจิตใต้สำนึกเดียวกัน
- มีความสัมพันธ์ระหว่างระดับบนกับระดับล่าง
Downsizing – การปรับลดขนาดขององค์การ เนื่องจากองค์การมีขนาดใหญ่เกินไป การลดเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การทำให้ตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วขึ้น
Rightsizing – การทำให้องค์การมีขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้องค์การประสบความสำร็จและมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ
มากที่สุด
Survivor’s syndrome – ลักษณะอาการของพนักงานที่อยู่รอดหลังการลดขนาด คือทำให้เกิกการสูญเสียศักยภาพและกำลังใจ
ในการทำงาน ก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัวและปฏิเสธความเสี่ยง
Organizing For Environmental Response – การจัดองค์การเพื่ออตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมแล้วองค์การยังต้องเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า โดยผู้บริหารต้อง1.สร้างความสมดุลให้เกิดตาม Strategic Triangle
Organizing For Environmental Response – การจัดองค์การเพื่ออตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมแล้วองค์การยังต้องเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า โดยผู้บริหารต้อง1.สร้างความสมดุลให้เกิดตาม Strategic Triangle
การจัดการองค์การเพื่อการผลิตที่คล่องตัว
Flexible Factories: มีความหยืดหยุ่นในการผลิต ช่วงการผลิตสั้นกว่าและผลิตสินค้าได้หลากหลาย
Lean Manufacturing: ตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในกระบวนการผลิตออกไปและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการลดของเสีย
ลดเวลาที่ไม่จำเป็นลงทำให้ขั้นตอนการผลิตเร็วขึ้น
Just-In-Time (JIT) เป็นระบบการส่งสินค้าให้ทันเวลาพอดี ช่วยในเรื่องการลดสินค้าคงคลัง ลดต้นทุนการผลิต
Dynamic Network (เครือข่ายแบบพลวัต) - การจัดองค์การตามความสามารถหลัก
เป็นเครือข่ายที่มีการดำเนินการชั่วคราวระหว่างหุ้นส่วนที่สามารถจะร่วมกันปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
- เพิ่มความยืดหยุ่น ,มีนวัตกรรมและ ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
- ลดต้นทุนและความเสี่ยงต่างๆ
- ผู้จัดการทำหน้าที่เป็นตัวแทน โดยแสดงหลายบทบาท
องค์การแบบเรียนรู้ (The learning organization) – องค์การต้องมีความรู้และความสามรถในการถ่ายทอดความรู้ โดยมี
ลักษณะดังนี้
- พนักงานมีวินัยในการคิดและใส่ใจในรายละเอียด
- มีการค้นหาความรู้ใหม่เสมอ
- มีความระมัดระวังในการทบทวนความสำเร็จ และความล้มเหลว
- มีมาตรฐานและการทำงานที่ดี
- มีการนำเสนอความคิดใหม่ๆให้กับองค์การ
High-involvement Organization - องค์การแห่งการผูกพันร่วมกัน
- ผู้บรหารระดับสูงจะต้องมีความเชื่อมั่นว่าพนักงานในองค์การเห็นพ้องกับทิศทางธุกิจขององค์การ
- มีโครงสร้างองค์การแบบแนวนอน ,มีกระจายอำนาจ และสร้างสภาวะแวดล้อมด้วยลูกน้อง สินค้า และบริการ
- พนักงานจะต้องมีความผูกพันร่วมกัน

วิเคราะห์ SWOT

Posted on by modal

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก : การพิจารณาโอกาสและอุปสรรค
เครื่องมือที่ใช้ - วิเคราะห์สภาพแวดล้อม 6 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ, สังคมวัฒนธรรม, เทคโนโลยี, ด้านกายภาพ, การเมืองและกฎหมาย, ด้านต่างประเทศ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน : การพิจาณาจุดอ่อนและจุดแข็ง
เครื่องมือที่ใช้ - การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน : การพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อน
โอกาส (Opportunity)
1. สภาวะทางเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัวจากปีที่ผ่านๆ โดยมีอัตราการเติบโตที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็จัดได้
ว่าประชากรมีการใช้จ่ายมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการในการขายสินค้าได้มากขึ้นด้วย
2. จากการที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาและก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการผลิตสินค้ามีประสิทธิ
ภาพมากขึ้นรวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ
3. กระแสการรณรงค์ให้บริโภคสินค้าไทย ภายใต้ คำขวัญ “ ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ ” เป็นการช่วย
ส่งเสริมการบริโภคของประชาชนให้หันมาใช้สินค้าภายในประเทศ ส่งผลดีต่อร้าน S & P ซึ่งเป็น
ร้านเบเกอรี่ของคนไทย

อุปสรรค(Threat)
1. การบริโภคสินค้าของประชาชนในปัจจุบัน จะมีการใส่ใจต่อสุขภาพกันค่อนข้างมาก จะมีการเลือก
ซื้อสินค้าที่ดีและมีประโยชน์ รวมทั้งการบริโภคของกลุ่มวัยรุ่นจะนิยมบริโภคสินค้าที่มีแครอรี่ต่ำ
เพราะไม่ต้องการมีน้ำหนักที่มากเกินไป หรือไม่ต้องการอ้วนนั้นเอง ซึ่งจากสภาวะการดังกล่าวส่ง
ผลต่อสินค้าเบเกอรี่ของร้านS & P เนื่องจากสินค้าจำพวกเบเกอรี่เหล่านี้มีปริมาณแครอรี่ค่อนข้างสูง
และผู้บริโภคจะซื้อในปริมาณไม่มาก เพราะกลัวอ้วน
2. คู่แข่งขันมีสินค้าที่หลากหลายและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย
ทำให้คู่แข่งสามารถแย่งส่วนแบ่งของกลุ่มลูกค้าจากร้านS & P เบเกอรี่ ช็อพ ได้พอส


เครื่องมือการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน คือ การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value -Chain) ในการจัดการกับกระบวนการภายในธุรกิจนั้น องค์การควรมองในภาพรวม ให้ความ สำคัญกับทุกขั้นตอนของกระบวนการภายในธุรกิจ คือ มองทุกส่วนในห่วงโซ่แห่ง คุณค่า (Value Chain)
จุดแข็ง (Strength)
1. พนักงานมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการทำงาน
2. มี Empowerment คือ มีการมอบอำนาจการตัดสินใจให้พนักงานในการปฏิบัติงานในระดับหนึ่ง ทำ
ให้พนักงานมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
3. รสชาติและคุณภาพของสินค้าเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
4. ความมีชื่อเสียงของตราสินค้า(ยี่ห้อ) S & P ทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับ
5. การมีบรรจุภัณฑ์สวยงาม สามารถดึงดูดใจลูกค้า
6. ตำแหน่งร้านอยู่ในทำเลที่ดี (อยู่ด้านหน้าร้านแรก) ลูกค้ามาใช้บริการได้สะดวก
จุดอ่อน (Weakness)
1. มีปัญหาในขั้นตอนการทำกาแฟที่ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร ทำให้ลูกค้ารอนาน
2. ระบบการชำระเงินเป็นการคีย์ระรหัสสินค้า ไม่มีการนำระบบ Barcode มาใช้ ซึ่งทำให้เสียเวลาใน
การคีย์ข้อมูล และอาจข้อผิดพลาดได้
3. พบปัญหาในด้านพนักงาน ที่ขาดมนุษยสัมพันธ์กับลูกค้า
4. ไม่ทราบความพึงพอใจของลูกค้า (customer feedback) หรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

บทความที่ได้รับความนิยม