วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

การกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว และกลยุทธ์

Hrebiniak (2005) สรุปว่า การตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ระดับองค์การมีผลต่อการเลือกจำนวนของหน่วยธุรกิจหรือหน่วยปฏิบัติการ และการจัดสรรทรัพยากรให้หน่วยดังกล่าว สำหรับกลยุทธ์ระดับธุรกิจหรือระดับการแข่งขัน ก่อให้เกิดความต้องการด้านเทคโนโลยี บุคลากร ขีดความสามารถ ในการปฏิบัติและการพัฒนาทักษะ
Pearce and Robinson (2007) สรุปว่า วัตถุประสงค์ระยะยาว ถือเป็นผลลัพธ์ ที่แสวงหาเพื่อให้ประสบความสำเร็จ โดยปกติมีระยะเวลา 5 ปี และคุณภาพของวัตถุประสงค์ระยะยาวที่ดีควรประกอบด้วย การเป็นที่ยอมรับ (acceptable) ยืดหยุ่นได้(flexible) สามารถวัดได้ (measurable) จูงใจ (motivating) เหมาะสม (suitable) เป็นที่เข้าใจ (understandable) และบรรลุผลสำเร็จได้ (achievable) สำหรับการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์จะเป็นเลือกวัตถุประสงค์ระยาว และกลยุทธ์ใหญ่ (grand strategies set) อย่างไรก็ตามขั้นการเลือกวัตถุประสงค์ระยะยาวและกลยุทธ์ใหญ่ จะเกี่ยวพันไปพร้อม ๆ กัน มากกว่าที่เป็นไปตามลำดับขั้นของการตัดสินใจ
David (2007) สรุปว่า วัตถุประสงค์ระยะยาวจะอธิบายผลลัพธ์ที่คาดหวังจาก การนำกลยุทธ์ที่แน่นอนไปปฏิบัติ โดยปกติมีระยะเวลาประมาณ 2-5 ปี ทั้งวัตถุประสงค์ระยะยาวระดับองค์การ ระดับแข่งขันหรือระดับธุรกิจ และระดับหน้าที่ สำหรับขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการให้สารสนเทศ มีเทคนิคที่ใช้ ได้แก่ EFE matrix, competitive profile matrix และ IFE matrix ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการจับคู่ เทคนิคที่ใช้ ได้แก่ TOW matrix, SPACE matrix, BCG matrix, IE matrix และ grand strategy matrix ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการตัดสินใจ มีเทคนิคที่ใช้ ได้แก่ Quantitative Strategic Planning Matrix--QSPM
Wheelen and Hunger (2008) อธิบายว่า กลยุทธ์ระดับองค์การจะเกี่ยวพันกับทิศทางองค์การว่าจะดำเนินไปทางทิศทางใด เครื่องมือในการวิเคราะห์ที่นิยมกันมี 2 ตัวแบบ คือ (1) ตัวแบบของกลุ่มที่ปรึกษาแห่งเมืองบอสตัน ที่เรียกว่า BCG’s model (2) ตัวแบบของบริษัทเจ็นเนอร์รัล อิเลคทริค ที่เรียกว่า business screen model สำหรับกลยุทธ์ระดับการแข่งขันใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ที่หน่วยระดับแข่งขันหรือระดับธุรกิจ ดำเนินการอยู่ ซึ่งคือ สิ่งที่ทำให้องค์การแตกต่างจากผู้อื่น ส่วนกลยุทธ์ระดับหน้าที่ หรือกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ เป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้เพื่อให้กลยุทธ์ระดับแข่งขัน และกลยุทธ์ระดับองค์การประสบผลสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายตามพันธกิจ หรือวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
สรุป การกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว และเลือกกลยุทธ์ จะรวมถึงการจัดสรร-ทรัพยากรโดยจะเกี่ยวพันไปพร้อม ๆ กันมากกว่าเป็นไปตามลำดับขั้น กลยุทธ์ระดับองค์การจะกำหนดทิศทางองค์การ และมีผลต่อการจัดสรรทรัพยากรให้หน่วยระดับรองกลยุทธ์ระดับแข่งขันมุ่งสร้างความได้เปรียบ และก่อให้เกิดความต้องการทรัพยากรสำหรับองค์การ และกลยุทธ์ระดับหน้าที่มุ่งเพื่อให้กลยุทธ์ระดับแข่งขันและกลยุทธ์ระดับองค์การประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


บรรณานุกรม

ธีระ กรใหม่. พลตรี. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของทหารในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Pearce, J. A., & Robinson, R. B. (2007). Strategic management: Formulation, implementation and control (10th ed.). New York: McGraw-Hall.

Hrebiniak, L. G. (2005). Making strategy work: Leading effective execution and change. Upper River Saddle, NJ: Wharton School.

David, F. R. (2007). Strategic management: Concepts and cases. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2008). Strategic management and business policy (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น