Hrebiniak (2005) ได้นำเสนอแนวทางในการกลยุทธ์ไปปฏิบัติซึ่งเสมือนแผนที่นำทางสำหรับผู้จัดการ
Pearce and Robinson (2009) อธิบายโดยสรุปว่า การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเกี่ยวข้องกับ 2 ประการ คือ การแปลความหมายจาก กลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์การ และการทำให้เกิดความเป็นระบบของกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์การ การแปลความหมายจากกลยุทธ์ไปสู่การนำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์การเกี่ยวข้องกับเครื่องมือที่สำคัญ 5 อย่าง ที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ดังนี้ คือ
1. วัตถุประสงค์ระยะสั้นจะได้มาจากวัตถุประสงค์ระยะยาว ซึ่งจะถูกนำไปแปลความหมายให้ออกมาในรูปของการดำเนินงานและเป้าหมายในปัจจุบัน ซึ่งต่างจาก เป้าหมายระยะยาวตรงที่ระยะเวลา ความเฉพาะเจาะจงและการวัดผล ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้มีประสิทธิผลนั้น จะต้องรวมกันและประสานงานกัน นอกจากนี้จะต้องมีความสอดคล้องกัน สามารถวัดผลได้และจัดลำดับความสำคัญได้
2. กลวิธีระดับหน้าที่จะได้จากกลยุทธ์ระดับธุรกิจ โดยจะระบุถึงรูปแบบการดำเนินงานในทันที ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
3. การมอบอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดให้แก่พนักงานโดยผ่านนโยบาย ได้ให้อีกวิธีการหนึ่งในการชี้นำพฤติกรรม การตัดสินใจ และการปฏิบัติในระดับปฏิบัติการขององค์การ ในรูปแบบที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับหน้าที่ นโยบายการมอบอำนาจให้บุคลากรในระดับปฏิบัติการทำให้สามารถตัดสินใจและดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว
4. การจ่ายค่าตอบแทนเป็นการให้รางวัลจากการปฏิบัติงาน และผลงานเมื่อองค์การได้ระบุถึงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ว่าจะเกิดผลประโยชน์ที่ดีที่สุดแก้ผู้ถือหุ้นโดยมี รูปแบบแผนการจ่ายโบนัส 5 ประเภท ที่สามารถวางโครงสร้างเพื่อให้สิ่งกระตุ้นกับผู้บริหารในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
5. การมอบหมายหน้าที่ ซึ่งไม่จำเป็นให้หน่วยงานภายนอกองค์การไปดำเนินการแทน
ลักษณะที่สำคัญของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือ การทำให้เกิดความเป็นระบบของกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์การ มี “เคล็ดลับ” ที่เชื่อมเอากลยุทธ์และองค์การเข้าด้วยกันเกี่ยวข้องกับ 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) โครงสร้างองค์การพื้นฐาน 5 แบบ ได้แก่ โครงสร้างตามหน้าที่ ตามภูมิศาสตร์ ตามหน่วยธุรกิจ แบบเมตริก และแบบทีมผลิตภัณฑ์มีข้อดีและข้อเสียของแต่ละแบบ การทำกลยุทธ์ให้เป็นระบบนั้นต้องการความเหมาะสม ของกลยุทธ์กับโครงสร้างที่ดี (2) ภาวะผู้นำขององค์การ คือ สิ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิผลสิ่งที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับภาวะผู้นำมี 2 อย่าง สิ่งแรก คือ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (strategic leadership) ซึ่งโดยปกติมาจาก ซีอีโอ ซึ่งความทำตามภาวะผู้นำ คือ การกระตุ้นความรับผิดชอบของคนในองค์การซึ่งมีกิจกรรม ได้แก่ สร้างความชัดเจนให้กับกลยุทธ์ที่มุ่งมั่นการสร้างองค์การและการสร้างรูปแบบวัฒนธรรมและสิ่งที่สอง คือ ทักษะในการบริหารจัดการกับความยุ่งยากซักซ้อน ซึ่งงานที่มอบหมายให้กับผู้จัดการหลัก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานภายในทีมของผู้บริหารระดับสูงเป็นลักษณะ ที่สำคัญของภาวะผู้นำในองค์การ การตัดสินใจว่าจะสนับสนุนบุคคลภายในหรือการจ้างบุคคลภายนอกมักจะออกมาในรูปของผู้นำที่เป็นหัวใจสำคัญในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ (3) วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่จะต้องตระหนักว่าอิทธิพลครอบคลุมไปทั่วทั้งองค์การ วัฒนธรรมองค์การซึ่งเป็นความเชื่อร่วมกันและค่านิยมของสมาชิกในองค์การ ซึ่งอาจจะช่วยหรือขัดขวางการปฏิบัติกลยุทธ์ได้แนวคิดในการบริหารให้เกิดความเหมาะสมระหว่างกลยุทธ์วัฒนธรรม 4 สถานการณ์ซึ่งได้การเชื่อมประสานเข้ากับภารกิจสร้างให้เกิดการรวมพลังมากที่สุด การบริหารรอบวัฒนธรรม (managing ascent the culture) และการสร้างกลยุทธ์หรือวัฒนธรรมใหม่ควรพิจารณานำมาใช้
บรรณานุกรม
ธีระ กรใหม่. พลตรี. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของทหารในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Hrebiniak, L. G. (2005). Making strategy work: Leading effective execution and change. Upper River Saddle, NJ: Wharton School.
Pearce, J. A., & Robinson, R. B. (2009). Strategic management: Formulation, implementation and control (11th ed.). New York: McGraw-Hall.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น