Custom Search

การทำงานเป็นทีม (Team Work)

Posted on วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555 by modal

ในภาวะที่การแข่งขันระหว่างธุรกิจเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น องค์การจำนวนมากต้องปรับโครงสร้างเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ การเน้นความสำคัญของการทำงานเป็นทีมของพนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างดังกล่าว ผู้บริหารในธุรกิจปัจจุบันตระหนักดีว่าการใช้ทีมงานเป็นวิธีที่มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าการกำหนดโครงสร้างแบบถาวร
การทำงานเป็นทีม คล้ายกับการทำงานเป็นกลุ่ม ที่เป็นการทำงานร่วมกันของสมาชิกตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป แต่ต่างกันที่การทำงานเป็นกลุ่มผลการปฏิบัติงานของกลุ่มจะเป็นผลงานของสมาชิกกลุ่มแต่ละคน ในขณะที่ผลการปฏิบัติงานของทีม จะเป็นผลงานของทั้งสมาชิกแต่ละคนและผลงานที่ร่วมกันรับผิดชอบของสมาชิกในทีม (Individual and Mutual Accountability) โดยใช้ทักษะที่มีต่างกันของสมาชิกแต่ละคนมาประสานและประกอบกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเกื้อหนุนกัน
รูปแบบของทีม (Types of Teams)
ปัจจุบัน องค์การสมัยใหม่นิยมจัดทีมปฏิบัติงานใน 4 รูปแบบ คือ
1. Problem Solving Team หรือ Functional Team คือทีมที่ผู้จัดการทีมจะมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่มาจากหรืออยู่ในสายงานเดียวกัน เช่น ทีมให้บริการลูกค้า ทีมซ่อมบำรุง
2. Self – Managed Team คือทีมที่ไม่มีผู้จัดการหรือหัวหน้าทีม สมาชิกจะต้องรับผิดชอบร่วมกันเองในการจัดการและปฏิบัติงาน เช่น การวางแผน การมอบหมายงาน การตัดสินใจ
3. Virtual Team คือทีมทำงานที่เกิดจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สมาชิกในทีมประสานทำงานกันด้วยเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ผ่านเครือข่าย การใช้ Videoconferencing, fax, e-mail, web site เป็นต้น สมาชิกจะปฏิบัติงานได้ทุกอย่างเช่นเดียวกับทีมทำงานอื่น ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การปรึกษาหารือ การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ร่วมกัน
4. Cross – function Team คือทีมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ หลาย ๆ ด้าน มาร่วมทีมงานกัน เช่น ทีมงานของปริษัทที่ปรึกษา ที่จะแก้ไขปัญหาการดำเนินงานด้านต่าง ๆ


การพัฒนาและบริหารทีมให้มีประสิทธิผล (Developing and Managing Effective Teams)
การทำงานเป็นทีมไม่ใช่จะสามารถเพิ่มประสิทธิผลได้เสมอไป ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารทีมงานเพื่อให้ได้ประสิทธิผลที่ดี ลักษณะของทีมที่จะได้ชื่อว่ามีประสิทธิผลต้องมีลักษณะ 8 ประการ ดังนี้
1. Clear Goals ต้องมีเป้าหมายชัดเจน
2. Relevant Skills สมาชิกภายในทีมทุกคนต้องมีความสามารถที่สัมพันธ์กัน
3. Mutual Trust ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความเชื่อถือ และไว้วางใจซึ่งกันและกันในสมาชิกทุกคนของทีม
4. Unified Commitment สมาชิกของทีมต้องมีความภักดีและอุทิศตัวเองให้กับทีม
5. Good Communication สมาชิกและผู้บริหารทีมจะต้องมีการติดต่อสื่อสารและมีความเข้าใจกันอย่างชัดแจ้ง
6. Negotiating Skills สมาชิกในทีมที่มีประสิทธิผลดี จะมีความสามารถในการเจรจาต่อรอง
7. Appropriate Leadership ผู้นำทีมที่มีประสิทธิภาพจะสามารถจูงใจผู้ปฏิบัติงานในทีมให้ทำตามตนได้ในทุกสถานการณ์
8. Internal and External Support ลักษณะทีมที่ดี ต้องมีบรรยากาศภายในของการปฏิบัติงานที่ดีมีอุปกรณ์ เครื่องมือในการปฏิบัติงานที่ครบถ้วน มีการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง

การวัดบุคลิกภาพของบุคคล

Posted on by modal

1. แบบทดสอบมายเยอร์-บริกซ์ (Myers-Briggs Types Indicator: MBTI) เป็นแบบทดสอบที่ถือกำเนิดโดย Carl Jung นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง และได้รับการพัฒนาต่อโดย Isabel Myers และ Katharine Briggs ทฤษฏีนี้บอกว่า คนเราทุกคนเกิดมาจะมีความคุ้นเคยกับ 4 สิ่งต่อไปนี้แตกต่างกัน คือ
1. การหันเข้าหาคน
- พวกที่มักหันเข้าหาคนอื่นหรือโลกภายนอก (Extroversion)
- พวกที่มักหันเข้าหาตัวเอง (Introversion)
2. การรับข้อมูล
- พวกที่ถนัดการรับรู้ด้วยสัมผัส (Sensing)
- พวกที่รับรู้ด้วยการหยั่งรู้ (Intuition)
3. การตัดสินใจ
- พวกที่ตัดสินด้วยความคิด (Thinking)
- พวกที่ตัดสินด้วยความรู้สึก (Feeling)
4. รูปแบบการตัดสินใจ
- พวกที่ชอบการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ (Perceptive)
- พวกที่ชอบความเป็นระบบ (Judgmental)
ความแตกต่างเหล่านี้เกิดจากการพัฒนาบุคลิกภาพในวัยเด็ก คนเราต้องเลือกแบบใดแบบหนึ่ง เพื่อให้ได้บุคลิกภาพที่ชัดเจน ในช่วงครึ่งหลังของชีวิต ทุกคนจะพัฒนาด้านตรงข้ามของบุคลิกที่ขาดหายไป เพื่อให้เกิดความสมดุล และกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะที่มั่นคง เช่น พวก Extrovert จะเริ่มพัฒนา Introversion ส่วนพวก Introvert จะพัฒนา Extroversion
Extroverts (E): ร่าเริง เข้ากับคนง่าย ชอบสังคม มองหาประสบการณ์ในมุมกว้าง ค้นพบตัวเองด้วยการพูดและทำ ทำก่อนคิด และรู้สึกว่าการได้อยู่กับคนอื่นเป็นการเติมพลัง
Introverts (I): เงียบขรึม ครุ่นคิด สนิทกับคนแบบตัวต่อตัว มองหาประสบการณ์ในมุมลึก ค้นพบตัวเองด้วยการคิด ทำก่อนคิด และรู้สึกว่าเวลาอยู่คนเดียวคือเวลาของการเติมพลัง
Sensing (S): รับข้อมูลด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ติดดิน อยู่กับปัจจุบัน เป็นนักปฏิบัติ มองวันนี้เป็นหลัก ทำอะไรตามขั้นตอน เก็บรายละเอียดเก่ง
Intuitive (N): รับข้อมูลด้วยญาณหยั่งรู้ สัมผัสที่หก หรือ แรงบันดาลใจ สนใจในความเป็นไปได้ ใช้จินตนาการ และวิสัยทัศน์ ชอบลองของใหม่ ทำงานหนักเป็นระยะ ๆ มองภาพรวม ละเลยรายละเอียด
Thinking (T): ใช้ตรรกะวิเคราะห์หาคำตอบ มีหลักการ มีกฎ มีกระบวนการ ไม่ลำเอียง ช่างวิจารณ์
Feeling (F): กรองข้อมูลด้วยค่านิยมส่วนตัว ให้ความสำคัญกับการปรองดองกัน ขี้สงสาร ชอบช่วยเหลือ และอ่อนไหวกับคำวิจารณ์
Judgmental (J): มีระบบ มีประสิทธิภาพ ทำอะไรต้องมีแผน ทำตามแผน ตัดสินใจเร็ว
Perceptive (P): ปรับตัวไปตามสถานการณ์ ชอบเปิดทางเลือกไว้ มองหาทางออกใหม่ ๆ ไม่ตัดสินใจเพราะอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ
อักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของแนวโน้มทั้งแปดอย่างเมื่อนำมารวมกัน สามารถใช้แทนบุคลิกภาพแบบหนึ่งๆของคนได้ และทำให้เกิดบุคลิกภาพที่แตกต่างกันถึง 16 แบบ เช่น ESTJ หมายถึงคนที่มี แนวโน้มเป็น extrovert, sensor, thinker และ judger (สังเกตว่า Intuition ใช้ตัวย่อ N เพื่อมิให้ซ้ำกับ Introversion) อาจพบว่าคนไทป์เดียวกันสองคน อาจจะดูแตกต่างกันมาก นั้นเป็นเพราะทั้งสองมีแนวโน้มของ MBTI ที่ต่างกันมาก
2. แบบทดสอบ Big Five Model หรือที่เรียกว่าแบบทดสอบบุคลิกภาพด้วยปัจจัย 5 ประการ (The five – factor model of personality) เป็นแบบทดสอบที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดอีกแบบหนึ่ง ปัจจัย 5 ประการตามแบบทดสอบนี้ประกอบด้วย
1. บุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Extraversion) หมายถึง บุคลิกภาพของบุคคลที่ชอบสังคม ชอบแสดงออก
2. บุคลิกภาพแบบประนีประนอม (Agreeableness) หมายถึง บุคลิกภาพของบุคคลที่มีจิตใจดี พร้อมให้ความร่วมมือ เป็นที่น่าไว้วางใจ
3. บุคลิกภาพที่เป็นลักษณะยึดมั่นในหลักการ (Conscientiousness) หมายถึง บุคลิกภาพของบุคคลที่มีความรับผิดชอบ มีหลักการและเหตุผล มั่งมั่นเพื่อความสำเร็จ
4. บุคลิกภาพที่มีอารมณ์มั่นคงในด้านใดด้านหนึ่ง (Emotional stability) หมายถึงบุคลิกภาพของบุคคลที่สงบ มั่นคง กระตือรือร้น ตื่นตัว เก็บกด อ่อนไหว
5. บุคลิกภาพที่เป็นลักษณะใจกว้าง (Openness to experience) หมายถึงบุคลิกภาพของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงจินตนาการ ความมีสุนทรียภาพ และมีสติปัญญาที่เฉียบแหลม

องค์กรแบบปฐมและมัธยม

Posted on by modal

1. องค์กรแบบปฐม (Primary Organization) เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยสมาชิอกขององค์กรมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันดี และรูปแบบของความสัมพันธ์นั้นเป็นไปตามลักษณะส่วนตัว ไม่มีพิธีรีตรองและเป้าหมาย เช่น ครอบครัว เพื่อบ้าน

2. องค์กรแบบมัธยม (Secondary Organization) เป็นองค์กรที่สมาชิกมีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากบทบาทที่กำหนดขึ้นไว้ภายในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เป็นไปแบบไม่เป็นตัว และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งชัดเจน เช่น หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน เป็นต้น

องค์กรรูปนัยและองค์กรอรูปนัย

1. องค์กรรูปนัย หรือองค์กรที่เป็นทางการ เป็นองค์กรที่มีรูปแบบ มีระเบียบแผนที่ชัดเจน เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมาย มีสายบังคับบัญชามีการทำงานกันตามความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

2. องค์กรอรูปนัย คือ องค์กรที่ไม่เป็นทางการเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสมาชิกในองค์กรที่มีลักษณะเป็นส่วนตัว ไม่เป็นทมางการ ไม่มีโครงสร้าง กฏ ระเบียบ สายการบังคับบัญชา และวัตถุประสงค์ที่ชัดแจนแน่นอน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความพอใจ ความสมัครใจ และศัทธาธรรมชาติของมนุษย์ เช่น สมาคม ชมรม
1. องค์การแบบเป็นทางการและองค์การแบบไม่เป็นทางการ (Formal and Informal Organization)
องค์การแบบเป็นทางการ ก็คือองค์การที่มีการกำหนดโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การในเรื่องอำนาจหน้าที่ (Authority) ความรับผิดชอบ (Responsibility) หรือระดับการบังคับบัญชาไว้อย่างชัดเจนแน่นอน ขณะที่องค์การแบบไม่เป็นทางการจะมีลักษณะการจัดโครงสร้างที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสมาชิก
2. องค์การแบบปฐมภูมิและองค์การแบบทุติยภูมิ (Primary and Secondary Organization)
องค์การแบบปฐมภูมิ คือองค์การที่เกิดขึ้นเอง สมาชิกแต่ละคนจะมีความสัมพันธ์กันเป็นการส่วนตัว เช่น ครอบครัว ขณะที่องค์การแบบทุติยภูมิ จะเป็นองค์การที่เกิดจากกรรวมตัวกันของสมาชิกเพื่อทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยที่สมาชิกแต่ละคนมีความสัมพันธ์กันแบบไม่เป็นส่วนตัว เช่น บริษัท เป็นต้น
องค์ประกอบขององค์การ
องค์การต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนต่างมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. จุดมุ่งหมายองค์การ (Organization Goal) หมายถึง เป้าหมายที่องค์การต้องการทำให้สำเร็จ เช่น บริษัท มีจุดมุ่งหมายต้องการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า แสวงหากำไร และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับพนักงาน
จุดมุ่งหมายขององค์การจะเป็นเหมือนศูนย์รวมให้บุคคลมาทำงานร่วมกัน เพราะจะเป็นจุดที่ชี้นนำให้สมาชิกในองค์การปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ จุดมุ่งหมายยังช่วยให้บุคคลมองไปถึงอนาคต มีการวางกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่จะช่วยให้งานสำเร็จตามที่หวัง ดังนั้นจุดมุ่งหมายขององค์การจึงอาจมีส่วนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างและกระบวนการทำงานขององค์การให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
2. โครงสร้างขององค์การ (Organization Structure) หมายถึง ระบบงานตลอดจนความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ การออกแบบโครงสร้างขององค์การนั้น นอกจากจะเป็นการออกแบบอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับการจัดกลุ่มกิจกรรมในการทำงานเป็นแผนกหรือฝ่ายต่างๆ การประสานงาน การสื่อสาร และการควบคุมการทำงานภายในองค์การอีกด้วย ซึ่งการกำหนดโครงสร้างขององค์การ อาจพิจารณาจากรูปแบบและการดำเนินกิจกรรม หรืออาจพิจารณาจากความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในองค์การ ซึ่งเราจะเขียนในรูปแบบ “แผนผังองค์การ” (Organization Chart) โดยทั่วไปโครงสร้างขององค์การประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ

1. ต้องมีการระบุงานหรือกระบวนการทำงานที่ให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ
2. ต้องเชื่อมโยงงานส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดโครงข่ายการติดต่อประสานงาน การรายงาน
การจัดโครงสร้างองค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อการสั่งการและการประสานงานของบุคลากรภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานบรรลุจุดมุ่งหมาย ถ้าองค์การใดมีโครงสร้างองค์การที่ดี จะทำให้คนในองค์การสามารถทำงานร่วมกัน ติดต่อประสานงาน และเชื่อมโยงงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการนวัตกรรมคืออะไร ?

Posted on by modal

โครงการนวัตกรรม คือ โครงการใหม่ ที่พัฒนาจากแนวความคิดใหม่ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตร ที่สามารถพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ หรือเป็นธุรกิจที่ต้องมีการซื้อขาย โดยโครงการนวัตกรรมจะต้องเป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้ด้านเทคโนโลยี ด้านการตลาด และด้านการลงทุน

โครงการนวัตกรรมที่จะขอรับการสนับสนุน จะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

เป็นโครงการที่มีการพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขัน และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศ
เป็นโครงการที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ต่อยอดจากผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ สิทธิบัตร หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม
เป็นโครงการที่มีการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ การตลาดและเศรษฐ-ศาสตร์ รวมทั้งผลกระทบต่อการพัฒนานวัตกรรมของประเทศซึ่งนำไปสู่การยกระดับ
โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
เป็นโครงการที่พัฒนานวัตกรรมจากการระดมความคิดร่วมกันกับกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ หรือการพัฒนาร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือหน่วยงานวิชาการอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
เป็นโครงการเดี่ยวหรือกลุ่มโครงการ ที่มีศักยภาพและเกิดผลกระทบที่ดีทางด้านการผลิต การค้า การลงทุน การจัดการ และการตลาดอย่างชัดเจน

นวัตกรรม” มีความหมายว่าอย่างไร

Posted on by modal

นวัตกรรม (innovation) คือ การผลิต การเรียนรู้ การจัดการความรู้ และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการผลิตใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม

ดังนั้น “นวัตกรรม” ภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จึงควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

นวัตกรรม จะเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือขั้นตอน ที่ “จับต้องใช้ได้” ภายในองค์กร สำหรับ “ความคิดใหม่” อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม แต่ไม่อาจเรียกว่าเป็นนวัตกรรมได้
นวัตกรรม จะต้องมีความใหม่ในระดับกลุ่ม ฝ่าย หรือองค์กร ในขณะที่บางครั้งอาจจะ
ไม่จำเป็นต้องใหม่ในระดับบุคคลที่สร้างนวัตกรรมนั้นๆ
นวัตกรรม ต้องมาจาก “ความตั้งใจ” ที่ต้องการให้เกิดขึ้น มากกว่าจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
นวัตกรรม จะต้องไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น การรับสมัครพนักงานใหม่
นวัตกรรม จะต้องมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลกำไรให้แก่องค์กร หรือก่อเกิดประโยชน์ให้แก่สังคมในวงกว้าง ทั้งนี้นวัตกรรมจะไม่รวมถึงการทำลายล้าง วินาศกรรรม หรือการก่อการร้าย นวัตกรรม จะต้องส่งผลกระทบที่ดีต่อสาธารณะ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่เกิดผลต่อบุคคลอื่น หรือไม่เกิดการประยุกต์ใช้ภายในองค์กร จะไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

บทความที่ได้รับความนิยม