Custom Search

ลักษณะเชิงเศรษฐกิจที่มีผลต่อกลยุทธ์

Posted on วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 by modal

ลักษณะเชิงเศรษฐกิจที่มีผลต่อกลยุทธ์
1.ขนาดของตลาด (Market size) - ตลาดขนาดเล็กจะไม่จูงใจคู่แข่งขันรายใหญ่ หรือรายใหม่ ส่วนตลาดขนาดใหญ่จะดึงความสนใจของคู่แข่งขันให้เข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรม

2.อัตราความเจริญเติบโตของตลาด (Market growth rate) - ความเจริญเติมโตของตลาดที่รวดเร็ว จะจูงใจให้คู่แข่งขันเข้าสู่ตลาดใหม่ ความเจริญเติมโตที่ล่าช้าจะไม่จูงใจให้คูแข่งขันเข้าสู่ตลาด

3.สมรรถภาพส่วนเกินหรือความขาดแคลน (Capacity surpluses or shortage) - สมรรถภาพส่วนเกินจะดึงราคาและกำไรให้ลดลง ส่วนความขาดแคลนจะดึงราคาและกำไรให้สูงขึ้น

4.ความสามารถในการสร้างกำไรของอุตสาหกรรม (Industry profitability) - อุตสาหกรรมที่มีกำไรสูง จะจูงใจคู่แข่งขันใหม่ให้เข้าสู่ตลาด อุตสาหกรรมที่ตกต่ำจะทำให้คู่แข่งขันออกจากตลาด

5.อุปสรรคการเข้า/ออก (Entry/exit) barriers) - อุปสรรคระดับสูงจะป้องกันตำแหน่งและกำไรของธุรกิจที่ทำอยู่ อุปสรรคระดับต่ำจะทำให้คู่แข่งขันเข้าสู่ตลาดได้ง่าย

6.ผลิตภัณฑ์เป็นรายการที่ยิ่งใหญ่สำหรับผุ้ซื้้อ (Product is a big-ticket item for buyers) - ผู้ซื้อส่วนมากจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาต่ำที่สุด

7.ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน (Standardized products) - ผู้ซื้อจะมีอำนาจมากขื้น เนื่องจากจะเป็นการง่ายที่ผู้ซื้อจะเปลื่ยนการซื้อจากผู้ขายรายหนึ่งไปยังอีกรายหนึ่ง

8.การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว (Rapid technological change) - ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจาก การลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวก หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีแบบเก่าจะเปลี่ยนเป็นความล้าสมัย

9.ความต้องการเงินลงทุน (Capital requirements) - เงินทุนก้อนใหญ่ ต้องการการตัดสินใจในการลงทุนที่สำคัญ ต้องใช้ระยะเวลาซื่งเป็นอุปสรรคในการจะเข้าและออกจากธุรกิจ

10.การผสมผสานในแนวดิ่ง (Vertical integtaion) - จะเพิ่มความต้องการเงินทุน ซึ่่งสามารถสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน และความแตกต่างด้านต้นทุน

11.ความประหยัดจากขนาดการผลิต (Economies of scale) - จะเพิ่มยอดขายและส่วนครองตลาด เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านต้นทุน

12.นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็ว (Rapid product innovation) - ทำให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้น และเป็นการเพิ่มความเสี่ยง เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีโอกาสในการเปลี่ยนแปลง

สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจระดับโลกมีการแข่งขันและมีการพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยทัศนะการจักการเชิงกลยุทธ์ใหม่ การรวมตัวกันของยุโรป ในปี 1992 ทำให้เกิดการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ในปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอำนาจทางการเงินสูงสุด

การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจที่สำคัญเกิดขึ้นในเม็กซิโก บราซิล ตะวันออกกลาง รัสเซีย จีน และเยอรมณี ลักษณะการเปลี่ยนแปลงหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมภายใน โดยใช้ความพยายามที่จะสร้างความมั่งคั่ง การพิจารณาเหตุการณ์ภายในประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมปัจจุบันและวิวัฒนาการด้านเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออก ตัวอย่าง ธุรกิจสหรัฐอเมริกาจะต้องมีกลยุทธ์เพื่อครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ความสามารถของธุรกิจสหรัฐที่ทำการค้ากับประเทศเหล่านี้มีขอบเขตจำกัด เพราะว่าการค้ากับประเทศเหล่านี้เป็นสิ่งที่ลดอัตราแลกเปลี่ยนสภาพคล่อง ซึ่งไม่มีค่านิยมภายนอกขอบเขต ดังนั้นส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ขาดโครงสร้างที่จะให้การสนับสนุนความประหยัดในตลาด ปัจจัยเหล่านี้จะกำหนดลูกค้าที่ศักยภาพและแหล่งวัตถุดิบของสหรัฐอเมริการ จึงมีแนวโน้มที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในการค้าต่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจเกิดจากการบริหารประเทศของคณะรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง การใช้งบประมาณขาดดุลเหล่านี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากเกินไปนในระบบเศรฐกิจ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อ นโยบายการเงินของรัฐอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการว่างงาน ตัวอย่าง ในช่วงกลางปี 2539 รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาจะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยงแปลงของภาวะเศรษฐกิจ ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมการกระจายธุรกิจ นโยบายการผลิต การเงิน การตลาด เป็นต้น

การเป็นธุรกิจระดับโลกเป็นสิ่งที่ยากลำบาก ปัญหาที่ธุรกิจจะต้องเผชิญในการเพิ่มอิสระให้กับต่างประเทศ ประกอบด้วย ความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ความแตกต่างด้ายความต้องการของผู้บริโภค ระบบภาษี การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อุปสรรคด้านภาษี อุปสรรคทางการค้า ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายจะมีปัญหาเดือนร้อนจากการจัดการที่มีจำกัด และการขาดโครงสร้างสาธารณูปโภค ความลำบากเหล่านี้จะนำไปสู่ธุรกิจที่จะพัฒนาประเทศ

สัญญาณของจุดอ่อนทางการแข่งขัน

Posted on by modal


สัญญาณของจุดอ่อนทางการแข่งขัน (Sings of competitive weakness)
ประกอบด้วย
1.เผชิญกับข้อเสียเปรียบทางการแข่งขัน
2.สูญเสียตลาดให้กับคู่แข่งขัน
3.ความเจริญเติบโตของรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
4.ขาดแคลนทรัพยากรทางการเงิน
5.ชื่อเสียงบริษัท(ผลิตภัณฑ์) ไม่ดีในสายตาลูกค้า
6.ไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และความสามารถในนวัตกรรมด้ายผลิตภัฒฑ์
7.กลยุทธ์ต่าง ๆ ใชัไม่ได้ผล
8.มีปัญหาในพื้นที่ที่เป็นตลาดส่วนใหญ่ที่มีศักยภาพ
9.ผู้ผลิตใชัต้นทุนในการผลิตสูง
10.ธุรกิจขนาดเล็กเกินไปที่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในตลาด
11.ไม่อยู่ในตำแหน่งเหมาะสมที่จะขจัดอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น
12.ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ
13.ขาดทักษะด้านทรัพยากรและความสามารถทางการแข่งขันในเขตพื้นที่สำคัญ
14.ความสามารถในการจัดจำหน่ายอ่อนแอกว่าคู่แข่ง


เครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value chain analysis) เป็นโครงสร้างงานที่มีประโยชน์ในการกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างมีระบบ เพื่อฉวยโอกาสและกำจัดอุปสรรคในสภาพแวดล้อมภายนอก ผู้บริหารต้องวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนภายใจธุรกิจอย่างระมัดระวังในการวิเคราะห์ะเครื่อข่ายการสร้างคุณค่า สมมุติว่าธุรกิจมีจุดมุ่งหมายด้านเศรฐกิจพื้นฐานของธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่า (Value) ซึ่งวัดโดยรายได้รวมของธุรกิจ การวิเคราะห์เครือข่ายคุณค่า (Value chain analysis) ผู้บริหารจะต้องแบ่งกิจกรรมของธุรกิจออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณค่าเพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรมที่จำเป็นเพื่อการออกแบบ การผลิต การหาตลาด การส่งมอบ และการให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ แต่ละกิจกรรมจะสามารถสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ สนับสนุนผลิตภัณฑ์แต่ละกิจกรรม จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการแต่ละกิจกรรมเป็นแหล่งของการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ
ซึ่งเครือข่ายการสร้างคุณค่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.กิจกรรมพื้นฐาน
2.กิจกรรมสนับสนุน

บทความที่ได้รับความนิยม