Custom Search

องค์กรแบบปฐมและมัธยม

Posted on วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555 by modal

1. องค์กรแบบปฐม (Primary Organization) เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยสมาชิอกขององค์กรมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันดี และรูปแบบของความสัมพันธ์นั้นเป็นไปตามลักษณะส่วนตัว ไม่มีพิธีรีตรองและเป้าหมาย เช่น ครอบครัว เพื่อบ้าน

2. องค์กรแบบมัธยม (Secondary Organization) เป็นองค์กรที่สมาชิกมีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากบทบาทที่กำหนดขึ้นไว้ภายในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เป็นไปแบบไม่เป็นตัว และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งชัดเจน เช่น หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน เป็นต้น

องค์กรรูปนัยและองค์กรอรูปนัย

1. องค์กรรูปนัย หรือองค์กรที่เป็นทางการ เป็นองค์กรที่มีรูปแบบ มีระเบียบแผนที่ชัดเจน เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมาย มีสายบังคับบัญชามีการทำงานกันตามความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

2. องค์กรอรูปนัย คือ องค์กรที่ไม่เป็นทางการเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสมาชิกในองค์กรที่มีลักษณะเป็นส่วนตัว ไม่เป็นทมางการ ไม่มีโครงสร้าง กฏ ระเบียบ สายการบังคับบัญชา และวัตถุประสงค์ที่ชัดแจนแน่นอน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความพอใจ ความสมัครใจ และศัทธาธรรมชาติของมนุษย์ เช่น สมาคม ชมรม
1. องค์การแบบเป็นทางการและองค์การแบบไม่เป็นทางการ (Formal and Informal Organization)
องค์การแบบเป็นทางการ ก็คือองค์การที่มีการกำหนดโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การในเรื่องอำนาจหน้าที่ (Authority) ความรับผิดชอบ (Responsibility) หรือระดับการบังคับบัญชาไว้อย่างชัดเจนแน่นอน ขณะที่องค์การแบบไม่เป็นทางการจะมีลักษณะการจัดโครงสร้างที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสมาชิก
2. องค์การแบบปฐมภูมิและองค์การแบบทุติยภูมิ (Primary and Secondary Organization)
องค์การแบบปฐมภูมิ คือองค์การที่เกิดขึ้นเอง สมาชิกแต่ละคนจะมีความสัมพันธ์กันเป็นการส่วนตัว เช่น ครอบครัว ขณะที่องค์การแบบทุติยภูมิ จะเป็นองค์การที่เกิดจากกรรวมตัวกันของสมาชิกเพื่อทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยที่สมาชิกแต่ละคนมีความสัมพันธ์กันแบบไม่เป็นส่วนตัว เช่น บริษัท เป็นต้น
องค์ประกอบขององค์การ
องค์การต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนต่างมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. จุดมุ่งหมายองค์การ (Organization Goal) หมายถึง เป้าหมายที่องค์การต้องการทำให้สำเร็จ เช่น บริษัท มีจุดมุ่งหมายต้องการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า แสวงหากำไร และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับพนักงาน
จุดมุ่งหมายขององค์การจะเป็นเหมือนศูนย์รวมให้บุคคลมาทำงานร่วมกัน เพราะจะเป็นจุดที่ชี้นนำให้สมาชิกในองค์การปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ จุดมุ่งหมายยังช่วยให้บุคคลมองไปถึงอนาคต มีการวางกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่จะช่วยให้งานสำเร็จตามที่หวัง ดังนั้นจุดมุ่งหมายขององค์การจึงอาจมีส่วนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างและกระบวนการทำงานขององค์การให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
2. โครงสร้างขององค์การ (Organization Structure) หมายถึง ระบบงานตลอดจนความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ การออกแบบโครงสร้างขององค์การนั้น นอกจากจะเป็นการออกแบบอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับการจัดกลุ่มกิจกรรมในการทำงานเป็นแผนกหรือฝ่ายต่างๆ การประสานงาน การสื่อสาร และการควบคุมการทำงานภายในองค์การอีกด้วย ซึ่งการกำหนดโครงสร้างขององค์การ อาจพิจารณาจากรูปแบบและการดำเนินกิจกรรม หรืออาจพิจารณาจากความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในองค์การ ซึ่งเราจะเขียนในรูปแบบ “แผนผังองค์การ” (Organization Chart) โดยทั่วไปโครงสร้างขององค์การประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ

1. ต้องมีการระบุงานหรือกระบวนการทำงานที่ให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ
2. ต้องเชื่อมโยงงานส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดโครงข่ายการติดต่อประสานงาน การรายงาน
การจัดโครงสร้างองค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อการสั่งการและการประสานงานของบุคลากรภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานบรรลุจุดมุ่งหมาย ถ้าองค์การใดมีโครงสร้างองค์การที่ดี จะทำให้คนในองค์การสามารถทำงานร่วมกัน ติดต่อประสานงาน และเชื่อมโยงงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0 Responses to "องค์กรแบบปฐมและมัธยม":

บทความที่ได้รับความนิยม