Custom Search

องค์ประกอบของแผนกลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์

Posted on วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 by modal

1. เหมาะสมกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร
ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะต้องให้แผนกลยุทธ์นั้นมี ความเหมาะสม สอดคล้อง กับแผนกลยุทธ์ในภาพรวมขององค์กร ทั้งนี้โดยมีแนวคิดว่าแผนกลยุทธ์ทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานที่จะเอื้ออำนวยให้แผนกลยุทธ์ในระดับ องค์กรประสบความสำเร็จ

2. เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมขององค์กร
ในขั้นตอนของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรก่อนที่จะกำหนดกลยุทธ์นั้น องค์กรจะทราบว่าสภาวะแวดล้อมขององค์กรเป็นในลักษณะเช่นไร เช่น มีกระบวนการทำงานเชิงรุก ตั้งรับ หรือถดถอย มีจุดเด่น จุดด้อย และความเสี่ยงอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งในการกำหนดกลยุทธ์ทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมเหล่านี้ขององค์กรเอาไว้ด้วย
3. เหมาะสมกับลักษณะขององค์กร
องค์กรแต่ละองค์กรจะมีลักษณะเฉพาะขององค์กรที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมของแต่ละองค์กรก็ได้ เช่น องค์กรที่เน้นด้านการตลาด การขาย หรือองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่เน้นระบบคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นต้น การกำหนดกลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กรดังกล่าวเอาไว้ด้วย
4. เหมาะสมกับความสามารถขององค์กร
ความสามารถขององค์กรในภาพรวม แล้วจะประกอบด้วย ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ของผู้บริหารและพนักงาน ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ความสามารถในการจ่ายของธุรกิจ เป็นต้น แผนกลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่กำหนดขึ้นควรคำนึงถึงความสามารถขององค์กรด้วย จึงจะทำให้แผนกลยุทธ์นั้น ๆ ประสบความสำเร็จได้

การวางแผนกลยุทธ์

Posted on by modal

1. กลยุทธ์ในระดับองค์กร หรือระดับบริษัท
เป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมถึงขอบเขตการทำธุรกิจ ทิศทางของธุรกิจ และการพัฒนาธุรกิจไปใน ทิศทางใดโดยภาพรวม
2. กลยุทธ์ในระดับธุรกิจ
เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในระดับหน่วยที่ย่อยลงไปอาจจะหมายถึง การกำหนดกลยุทธ์ในด้านการตลาด เพื่อบรรลุสู่ลูกค้าเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ อาจจะกำหนดกลยุทธ์ของการผลิต สินค้าในการเน้นความเป็นผู้นำในด้านต้นทุน เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่ากลยุทธ์ในระดับธุรกิจนั้นเป็น แนวทางเพื่อบรรลุทิศทางของธุรกิจที่ถูกกำหนดในระดับองค์กร
3. กลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการ
เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในเชิงเทคนิคของหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร เช่น การกำหนด กลยุทธ์ในด้านเทคนิค การตลาด การเงิน การผลิต การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการที่ธุรกิจกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางให้การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ในการที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุน ให้องค์กรประสบความสำเร็จในการแข่งขัน หรือบรรลุวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้

ความสำคัญของการตลาด

Posted on วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 by modal

การตลาดมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในสังคม ทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเป็นระบบในสังคมมนุษย์แต่ละคน สามารถประกอบ อาชีพที่ ตนเองถนัดและได้ใช้ความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลได้ อย่างเต็มกำลังความสามารถ และการตลาดมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อความเจริญเติบโต และพัฒนาการทางเศรษฐกิจของ ประเทศ เนื่องจากการตลาดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาหาสิ่งแปลกใหม่ มาสนองความ ต้องการของตลาดและสังคม ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาส เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้หลายทางและ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการ  สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค จึงมีผลทำให้เกิด การจ้างงาน เกิดรายได้กับแรงงาน และธุรกิจ ทำให้ประชาชน  มีกำลังการซื้อ และสามารถสนอง ความต้องการในการบริโภค ซึ่งทำให้ มาตรฐาน การครองชีพของบุคคล ในสังคมมีระดับสูงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ความสำคัญ ของการตลาดอาจกล่าวได้ดังนี้
                   1.  การตลาดเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน  การดำเนินการตลาดของธุรกิจจะทำให้ผู้ผลิตกับผู้บริโภคเข้ามาใกล้กัน และสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค จนทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนในระดับผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความพึงพอใจ การตลาดยังไม่ได้เป็นเพียง เครื่องมือทำให้ เกิดการแลกเปลี่ยนเท่านั้นแต่ยังเป็นเครื่องมือที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความซื่อสัตย์ภักดีต่อผลิตภัณฑ์   ทำให้ผู้บริโภคกลับมาใช้ หรือซื่อซ้ำเมื่อมี ความต้องการ
                   2.  การตลาดเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค การดำเนินการทางการตลาดทำให้ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองและสร้างความ พึงพอใจให้กับผู้บริโภคได้ ด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับภาวการณ์ สถานภาพ ของผู้บริโภคด้วยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปริมาณ ในเวลา ในสถานที่ที่ผู้บริโภคต้องการ ในราคา ที่ผู้บริโภคมีกำลังการซื้อ และโอนความเป็นเจ้าของได้ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค    นอกจากจะดำเนินการในหน้าทางการตลาด ให้เกิดการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในเรื่องดังกล่าว สิ่งที่สำคัญจะต้องกระทำอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคในกิจกรรมดังกล่าว  
                   3.  การตลาดเป็นตัวผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์     ด้วยแนวคิด ของการตลาด  ในการมุ่งสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค และรับผิดชอบต่อสังคม ผลักดันให้ผลิตต้องพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ์ให้ตรงต่อความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค  ตลอดจนจูงใจผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ และการตลาดระบบการตลาดเสรี ซึ่งมีการแข่งขันกันมากในการสร้าง ความพึงพอใจ และจูงใจผู้บริโภค จึงยิ่งเป็นแรงผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุง ผลิตภัณฑ์เพื่อการแข่งขัน ในตลาดเสรี
                   4.  การตลาดเป็นกลไกในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจ   ด้วยการก่อให้เกิดการบริโภคและการพึ่งพากันอย่างเป็นระบบมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับ
ระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ การสร้างความต้องการและการสนองความต้องการในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ คือเกิดการจ้างงาน เกิดรายได้ เกิดการบริโภค และเกิดการใช้แรงงาน ซึ่งจะมีการพึ่งพากันและเชื่อมโยงไหลเวียนตามลำดับอย่างเป็นระบบ ผลจะทำให้การดำรงชีวิต ของมนุษยชาติในสังคมอยู่ในระดับที่มีการกินดีอยู่ดี มีความเป็นอยู่ อย่างเป็นสุขโดยทั่วกัน

การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ

Posted on วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 by modal

ผู้ถือ หุ้นสามัญ มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ

  1. บริษัทจะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเมื่อมีกำไร
  2. ถ้าผู้ถือหุ้นสามัญขายหุ้นได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อมา เรียกว่า กำไรส่วนทุน (capital gain) ถ้าขายได้ต่ำกว่าเรียก capital loss

สัญลักษณ์ที่สำคัญ

D0 = เงินปันผลปีปัจจุบัน
Dt = เงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับในปี t
P0 = ราคาตลาดของหุ้นสามัญในปัจจุบัน
P^t = ราคาตลาดของหุ้นสามัญที่คาดไว้ปลายปี t
P^0 = ราคาหุ้นสามัญที่ควรจะเป็น หรือราคาตามทฤษฎี
P0 = P^0 ถ้าตลาดอยู่ในดุลยภาพ
g = อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลที่คาดไว้
kS = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
K^S = อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ
S = อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริง
ข้อควรจำ
D0 = เงินปันผลปัจจุบัน (ได้รับไปแล้ว)

D1 = เงินปันผลสิ้นปีปัจจุบัน (ยังไม่ได้รับ)

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากหุ้นสามัญ

ผลตอบแทนจากหุ้นสามัญ = เงินปันผล + กำไรจากราคาหุ้น
K^S=D1/P0 + (P^1 - P^0)/P^0
D1/P0 = อัตราเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับในปีถัดไป
(P^1 - P^0)/P^0 = อัตรากำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการขายหุ้นสามัญในปีถัดไป

การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญโดยใช้เงินปันผลเป็นเกณฑ์

เป็นการประเมินราคาหุ้นสามัญโดยสมมติว่าผู้ลงทุนซื้อหุ้นแล้วถือไว้ตลอดไปเพื่อรับเงินปันผล
ดังนั้น มูลค่าหุ้น จึงเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของเงินปันผลทั้งหมดที่ได้รับในอนาคต
มูลค่าหุ้นปัจจุบัน มูลค่าปัจจุบันของ
เงินปันผลปีที่ 1
มูลค่าปัจจุบันของ
เงินปันผลปีที่ 2
มูลค่าปัจจุบันของ
เงินปันผลปีที่ 3
มูลค่าปัจจุบันของ
เงินปันผลปีที่ infinity
P0 D1/(1+kS)1 + D2/(1+kS)2 + D3/(1+kS)3 ... + D8/(1+kS)8

มูลค่าหุ้นสามัญตามทฤษฎี กรณีที่อัตราเงินปันผลเพิ่มขึ้นคงที่

  • สูตรสำคัญ
P^0 = D0(1+g)/(kS -g)
P^0 = D1/(kS -g)
ถ้าเงินปันผลเท่ากันทุกๆปี (g=0)

P^0 = D0(1+0)/(kS -0) = D/kS

การจัดหาเงินทุนสำหรับสินทรัพย์หมุนเวียน

Posted on by modal

นโยบายการจัดหาเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน

  • Permanent Current Asset สินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำที่ธุรกิจมีไว้เพื่อการดำเนินงานตามปกติ
  • Temporary Current Asset สินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นการชั่วคราวเพื่อยอดขายที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจเลือกใช้นโยบายสินทรัพย์หมุนเวียนได้ 3 แบบ

1. Maturity Matching (Self Liquidating Approach) มีหนี้สินหมุนเวียนตามสถานการณ์ 2. Relatively Aggressive Approach' มีส่วนของเจ้าของและหนี้สินระยะยาวน้อย ทำให้มีหนี้สินหมุนเวียนมาก 3. Conservative Approach มีส่วนของเจ้าของและหนี้สินระยะยาวมาก ทำให้มีหนี้สินหมุนเวียนที่ต้องการเพิ่มขึ้นน้อย

เงินลงทุนระยะสั้น

ข้อดี
  • ใช้เวลาในการกู้น้อยกว่า
  • มีความยืดหยุ่นมากกว่า เหมาะกับความต้องการลงทุนตามฤดูกาล
  • ต้นทุนของหนีสินระยะสั้นต่ในภาวะปกติต่ำกว่าระยะยาว
ข้อเสีย
  • มีความเสี่ยงมากกว่า
  • อัตราดอกเบี้ยผันผวน
  • ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำจะไม่สามารถชำระหนี้ได้

แหล่งเงินทุนระยะสั้น

  • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
  • เจ้าหนี้การค้า
  • เงินกู้จากธนาคาร
  • ตราสารพานิชย์
  • เงินกู้ที่มีหลักประกัน

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

  • ไม่มีต้นทุน
  • ไม่มีดอกเบี้ย

เจ้าหนี้การค้า หรือเครดิตทางการค้า

  • เครดิต (สินเชื่อ) ที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นเงินเชื่อ
  • เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่ใหญ่แหล่งหนึ่ง โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็ก
  • เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ไม่ยุ่งยากแต่มีต้นทุนสูง
ตัวอย่างการคำนวณ
นาย ก ซื้อสินค้าถัวเฉลี่ยวันละ 2000 บาท
ผู้ขายให้เครดิต 10 วัน
แหล่งเงินทุนของนาย ก ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติจากเครดิตทางการค้า = 2000x10 = 20,000 บาท

ต้นทุนของเครดิตทางการค้า

ตัวอย่าง A&B ซื้อสินค้า 30,000 บาท เงื่อนไขการขาย 2/10,net 30

ราคาที่กำหนด = ราคาจริง + Finance Charge
30,000 = 29,400 + 600
100% = 98% + 2%
ระยะเวลา 20 วัน = ผลประโยชน์ที่สูญเวียไป/ราคาจริง = 2/98
ระยะเวลา 1 ปี = 2/98 x 365/20
อัตรา Finance Charge = 37.2%
จำนวนรอบ = 365/20 = 18.25 EFF = (1.0204)^18.25-1 = 44.6%

เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร

  • เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ แต่ไม่สามารถเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
  • ต้นทุนของการกูขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการกู้

การกู้เงินแบบ FLAT RATE

  • ดอกเบี้ย 12% ผ่อนชำระเงินต้นรวมดอกเบี้ยเป็นงวดทุกเดือน
  • ดอกเบี้ยจ่าย = 0.12(10,000) = 1,200 บาท
  • รวมเงินต้นและดอกเบี้ย = 10,000+1,200 = 11,200 บาท
  • ผ่อนชำระเดือนละ 11,200/12 = 933.33 บาท

PV = 10,000;
PMT = 933.33;
FV = 0;
N=12;
CPT; I=1.788%

EFF = 1.01788^12-1 = ประมาณ 24%

การเช่า

Posted on by modal

การเช่าหมายถึงผู้ให้เช่าสินทรัพย์ยินยอมให้ผู้เช่าสินทรัพย์มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ตามที่ทำสัญญาไว้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยได้รับค่าเช่าเป็นการตอบแทน

ประเภทของการเช่า

  • ขายและเช่ากลับคืนมา (Sales and Leaseback)
  • การเช่าเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (Operating Lease)
  • การเช่าเพื่อได้รับกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ (Capital Lease)

ข้อแตกต่างของ Operating Lease และ Capital Lease

Capital Lease Operating Lease
ค่าบำรุงรักษา ผู้เช่าต้องจ่ายเอง ผู้ให้เช่ารับผิดชอบ
บอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ไม่ได้ ได้
กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ เปิดโอกาสให้มีกรรมสิทธิ์ ไม่ได้

การประเมินการเช่นโดยผู้เช่า


  • วิเคราะห์จากกระแสเงินสดของกรณีที่เช่า กับซื้อด้วยเงินสด
  • วิธีการจัดหาเงินทุน
  • ประมาณมูลค่าซากของสินทรัพย์
  • นำต้นทุนของการเช่า (NPV) มาเปรียบเทียบกัน 

ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ในการซ้ำหุ้นสามัญ(Warrant)

Posted on by modal

Warrant คือใบสำคัญแสดงสทธิ์ซื้อหุ้นสามัญ ผู้ถือ Warrant มีสิทธิ์ซื้อหุ้นสามัญในเวลาและราคาที่กำหนด

  • บริษัทจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ประเภทหนี้สิน เพื่อเป็นการจูงใจผู้ลงทุน ให้ยินดีลงทุนโดยได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่มีโอกาสได้รับเงินปันผลจากการเจริญเติบโตของบริษัทในอนาคต

ตัวอย่างการคำนวณมูลค่า Warant

หุ้นกู้ธรรมดาในตลาดที่ออกจำหน่ายอัตราดอกเบี้ย 6.10 % ต่อปี แต่บริษัท ต้องการจะออกหุ้นกู้ พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ ( Warrant ) 10 ฉบับ ในราคา 1,000.- บาท อายุหุ้นกู้ 4 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.25  % ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละหนึ่งครั้ง ให้คำนวณต้นทุนของหุ้นกู้ และ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) ว่ามีมูลค่าฉบับละเท่าไหร่

วิธีคิด
หามูลค่าพันธบัตร
FV=1,000;
N=4;
I/Y=6.10;
PMT=1000*0.0425;
CPT; PV= -789.26;
หุ้นกู้ราคา 789.26;
Warrant 10 ฉบับ ราคา 1000-798.26=201.74 บาท
Warrant ฉบับละ 201.74/10 = 20.174 บาท

ทฤษฎีเงินปันผล

Posted on by modal

ผู้ลงทุนชอบเงินปันผลสูงหรือต่ำ มี 3 ทฤษฎี
1. Dividend Irrelevance - ผู้ลงทุนไม่สนใจว่าจะมีเงินปันผลหรือไม่ เพราะหากต้องการเงินก็ขายหุ้นได้ หากไม่ต้องการเงินปันผล ก็นำเงินปันผลมาลงทุนใหม่ได้ มูลค่าของกิจการจะถูกกำหนดโดยความสามารถในการทำกำไรและความเสี่ยงทางธุรกิจ
2. Bird-in-the-hand - ผู้ลงทุนคิดว่า เงินปันผล มีความเสี่ยงน้อยกว่ากำไรที่จะได้รับในอนาคต จึงชอบเงินปันผลในอัตราสูง ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นสามัญสูงด้วย
3. Tax Preference - ผู้ลงทุนคิดว่ากำไรส่วนทุนมีภาษีต่ำกว่าเงินปันผล และเป็นเงินที่จ่ายในอนาคต จึงต้องการให้ปันผลน้อยๆ
ทฤษฎีอื่นๆ 2 ทฤษฎี
4. ข้อมูลข่าวสารหรือสัญญาณ - ทฤษฎีนี้อธิบายว่า ควรจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ไม่เพิ่มไม่ลด เพื่อไม่ให้มีสัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มของบริษัทเผยแพร่ออกไป
5. Clientele Effect - หมายถึง แนวโน้มที่บริษัทต้องดึงดูดผู้ลงทุนโดยกำหนดนโยบายเงินปันผลที่ผู้ลงทุนพอใจ ผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำจะต้องการเงินปันผลสูง

บทความที่ได้รับความนิยม